มีคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังมองหาโอกาสพิเศษในการทำความดีหรือช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งการทำความดีหรือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทำได้หลายรูปแบบ “บริจาคโลหิต” คืออีกหนึ่งวิธี ซึ่งเป็นการทำความดีโดยไม่ต้องลงทุนด้วยเม็ดเงิน เพียงแค่เตรียมร่างกายให้แข็งแรง โลหิตทุกซีซีที่บริจาคไปล้วนมีคุณค่า เพราะมีอีกหลายชีวิตที่กำลังรอคอยความหวังและโอกาสที่จะได้มีลมหายใจอยู่กับครอบครัวต่อไป
โดยที่ผ่านมาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต และต่อเดือนต้องได้ไม่ต่ำกว่า 58,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอต่อการแจกจ่ายไปให้กับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังได้กำหนดให้แต่ละประเทศจัดหาโลหิตจากผู้บริจาคที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนให้ได้ 100 % ในปี 2563 โดยมีผู้บริจาคโลหิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติรับการบริจาคโลหิตจากทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 14 ของประชากร แต่โลหิตที่ได้รับบริจาคต้องจัดส่งไปช่วยเหลือโรงพยาบาลในต่างจังหวัดเกือบ 40% ของโลหิตที่จัดหาได้ เนื่องจากมีความต้องการโลหิตเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2560 มีการใช้โลหิต 2.6 ล้านยูนิต ทางสภากาชาดไทยจึงจำเป็นต้องเร่งจัดหาโลหิต เพื่อสำรองไว้แจกจ่ายให้เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากประกาศเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมบริจาคโลหิตอยู่เป็นระยะๆ
นายศรัณย์ ลิมป์หิรัญรักษ์ กรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน วันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 19/2561กล่าวว่า “การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมสาธารณะกุศล โดยความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ผนึกกำลังคนประกันชีวิตปันโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ด้วยการบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 9 (เริ่มรับบริจาคโลหิตครั้งแรก ในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 11/2553) ซึ่งที่ผ่านมามีผู้บริจาคโลหิตเป็นจำนวนกว่า 34,738 คน คิดเป็นปริมาณโลหิตที่เคยได้รับกว่า 14 ล้านซีซี สำหรับการบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 19/2561 นี้ ในส่วนกลางจะจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.30 น. และในส่วนภูมิภาคได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์และบริจาคโลหิตตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งปีนี้ได้วางเป้าหมายจำนวนผู้เข้าบริจาคโลหิตไว้ไม่ต่ำกว่า 7,000 คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับประมาณ 3.5 ล้านซีซี ดังนั้นจึงขอเชิญชวนประชาชนและบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต มาร่วมกันแสดงพลังของการให้เลือด เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กันนะครับ”
ภาคธุรกิจประกันชีวิตผนึกพลังบริจาคโลหิต
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 19/2561
กำหนดการสัมมนา
เรื่อง IFRS 9 และ Solvency II ที่เกี่ยวข้องกับงานลงทุนของบริษัทประกันชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2557 เวลา 08.30 - 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 09.15 น. | พิธีเปิด |
นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ ประธานอนก.ลงทุน กล่าวรายงาน | |
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคม กล่าวเปิดการสัมมนา | |
09.15 –09.30 น. | บรรยาย “Timeline ของ IFRS 9 ในประเทศไทย” |
09.30 – 10.30 น. | บรรยายเนื้อหา IFRS 9 |
· สรุปเนื้อหาที่สำคัญของ IFRS 9 ที่มีผลกระทบต่อฝ่ายงานลงทุน | |
· เปรียบเทียบเนื้อหาที่สำคัญระหว่าง TAS 105, IAS 39 และ IFRS 9 | |
10.30 –10.45 น. | Coffee Break |
10.45 –12.00น. | บรรยายเนื้อหา IFRS 9 |
· สรุปประเด็นที่น่าสนใจและผลกระทบในทางปฏิบัติ | |
· การเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลง | |
12.00 –12.15 น. | ** ตอบข้อซักถาม ** |
12.15 – 13.15น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15– 14.15น. | บรรยาย “สรุปภาพรวมของ IFRS 9 และ Solvency II requirement |
14.15 – 15.30 น. | ** ตอบข้อซักถาม** |
สมาคมประกันชีวิตไทยจัดบรรยายพิเศษเรื่อง “Robotic process automation”
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหารและกรรมการประจำคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย เป็นประธานจัดงาน การบรรยายพิเศษด้านวิชาการ เรื่อง Robotic process automation ซึ่ง นายกล้าหาญ ชาคริตานนท์ Technical Lead, Business Intelligence Department บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นวิทยากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันและการบันทึกข้อมูลบนระบบของบริษัท แก่บุคลากรด้านพิจารณารับประกันภัยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการพิจารณารับประกันภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ณ ห้องประชุม New York 1 ชั้น 19 อาคาร G Tower ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561
13.30-14.00 | : ลงทะเบียน |
14.00-14.15 | : กล่าวเปิดการสัมมนา |
โดย ผช.ผอ.จรุง เชื้อจินดา | |
14.15-14.45 | : การคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ |
บรรยายโดย Enterprise and Cyber Security / Gemalto | |
14.45-15.15 | : การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
15.15-15.30 | : COFFEE BREAK |
15.30-16.00 | : การปกป้องข้อมูลความลับสำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
16.00-16.30 | : ความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนสำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
16.30-17.00 | : Q&A / ปิดการสัมมนา |
ประกันชีวิตปี 62 ตั้งเป้าโต 3-5%
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเปิดเผยว่า ในปี 2561ธุรกิจประกันชีวิตยังเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
และสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวม (มกราคม – ธันวาคม 2561) 627,387ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตถึงร้อยละ 4.3เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
จำแนกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ (New Business Premium) จำนวน 180,415ล้านบาท อัตราเติบโตร้อยละ 7.5โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก 95,684.3 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 7.22 เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 84,730.7 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 30.96 เบี้ยประกันชีวิตปีต่อไป (Renewal
Year Premium) 446,972ล้านบาท
อัตราเติบโตร้อยละ 3.01
ซึ่งมีอัตราการคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 83คิดเป็นสัดส่วนเบี้ยประกันชีวิตต่อ GDP
(Insurance Penetration Rate) ร้อยละ 3.9
(2560 : 3.9%) และคิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงต่อประชากร
(Insurance Density) จำนวน 9,447 บาท/คน เติบโตขึ้นร้อยละ 3.9 (2560
: 9,091 บาท/คน)
สมาคมประกันชีวิตไทยเตือนประชาชนอย่าเชื่อผู้ชวนยกเลิกกรมธรรม์
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้เอาประกันภัยร้องเรียนว่าได้รับการติดต่อจากบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัย ที่อ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของ 24 บริษัทประกันชีวิตได้รับมอบหมายให้มาสำรวจหรือสุ่มตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้า และเมื่อลูกค้าหลงเชื่อแจ้งข้อมูลกลับไป ตัวแทนประกันชีวิตก็จะแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ฉบับที่มีอยู่เพื่อมาทำสัญญาประกันชีวิตฉบับใหม่กับตนเอง โดยมีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบพร้อมแนะนำกรมธรรม์ใหม่ ซึ่งถ้าผู้เอาประกันภัยหลงเชื่ออาจตัดสินใจยกเลิกกรมธรรม์ไปในที่สุด
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอชี้แจ้งต่อกรณีดังกล่าวให้ทราบว่า บริษัทประกันชีวิตไม่มีนโยบายให้ตัวแทนประกันชีวิตออกสำรวจหรือสุ่มตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้าแต่อย่างใด และพฤติกรรมดังกล่าวของบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัยเป็นการกระทำผิดตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป โดยมีบทลงโทษถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต (ตัวแทนประกันชีวิต/นายหน้าประกันชีวิต) ทั้งนี้ ขอเตือนผู้เอาประกันภัยว่าไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบกำหนดสัญญา เพราะจะทำให้
ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์ อาทิ กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน โดยเฉพาะในปีแรกๆ จะมีจำนวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด เนื่องจากบริษัทจะต้องนำจำนวนเงินสะสมของเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายทุกปี ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทและค่าความคุ้มครองชีวิต และการทำกรมธรรม์ฯ ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพต่อบริษัทประกันชีวิตใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเริ่มนับระยะเวลาในการใช้สิทธิโต้แย้งใหม่ ทั้งนี้ หากผู้ขอเอาประกันภัยมีปัญหาสุขภาพ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย หรืออาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้หากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะต้องมีการเริ่มนับระยะเวลารอคอยใหม่อีกด้วย
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าหากได้รับการชักชวนจากบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัยในการขอข้อมูลกรมธรรม์และแนะนำให้ทำการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิมเพื่อซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับใหม่ ผู้เอาประกันภัยควรไตร่ตรองและตระหนักให้ดีก่อนว่าตนเองจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง หากเกิดความไม่แน่ใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์บริษัทประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับปัจจุบันอยู่หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02-679-8080
e – mail : tlaa@tlaa.org หรือ http://www.tlaa.org
สมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินสนับสนุนให้แก่มูลนิธิพระดาบส
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคม พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 100,000 บาท เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 ให้กับมูลนิธิพระดาบส เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนที่เข้ารับการฝึกทักษะวิชาชีพ โดยมีพลเรือตรีหญิง ปณิธิ จั่นทอง หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิฯ และรักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิพระดาบส ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานมูลนิธิพระดาบส เลขที่ 384/386 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยจัดสัมมนา “การกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิต
(Corporate Governance Code for the Life Insurance Industry)”
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “การกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิต (Corporate Governance Code for the Life Insurance Industry)”ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางโสมสุดา ตันจันทร์พงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิตและแนวทางในการบริหารจัดการสู่การเป็นบริษัทธรรมาภิบาลตามมาตรฐานสากล ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการกำกับดูแลธุรกิจเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมงานสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมสัมมนาคณะกรรมการทั่วประเทศ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562 ของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางธุรกิจประกันภัย รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความสามารถ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินให้เป็นที่ยอมรับ มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมราชศุภมิตร จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตสู่อาเซียน ล่าสุดจับมือสมาคมประกันชีวิตอินโดนีเซีย ( Indonesia Life Insurance Association : AAJI ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิตระหว่างสมาคม, สถิติการประกันชีวิต, กฎหมายการกำกับดูแลและข้อบังคับการประกันชีวิต รวมถึงให้การสนับสนุนกิจกรรมของทั้งสองสมาคมฯ อาทิ การทัศนศึกษาดูงานระหว่างสมาคม, การจัดสัมมนา, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประกันชีวิต
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงการร่วมลงนามในครั้งนี้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นอันดีต่อธุรกิจประกันชีวิตไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตในประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและพัฒนาการให้บริการที่ดีต่อผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยยึดหลักการผสานประโยชน์และความชํานาญซึ่งกันและกันในการสนับสนุนส่งเสริมข้อมูลในด้านต่างๆ
ทั้งนี้สมาคมประกันชีวิตไทยเคยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมประกันชีวิตเกาหลีใต้ เมื่อปี 2557 และต่างแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เชิงวิชาการซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ สำหรับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันชีวิตอินโดนีเซีย ต่างเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ASEAN Insurance Council (AIC) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างสมาคมประกันภัยของประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สปป ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดย AIC จะมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนทิศทางของธุรกิจประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยได้ส่งผู้บริหารจากสมาคมเข้าร่วมกิจกรรมในทุกปี นำมาซึ่งความร่วมมือในหลายๆ ด้าน ก่อให้เกิดการพัฒนาของธุรกิจประกันชีวิตในอาเซียน ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพต่อไป
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า เชื่อว่ามีหลายๆท่านกำลังนับวันถอยหลัง หรือตั้งตารอช่วงวันหยุดยาวอย่างเทศกาลสงกรานต์กันอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็กำลังวางแผนขับรถไปท่องเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนาเพื่อไปเยี่ยมเยียนครอบครัว ซึ่งการเดินทางไกล ๆ ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน จากการสำรวจผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุพบว่าจุดที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักจะอยู่ห่างจากบ้านหรือที่พักไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยมีสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อกสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของแต่ละปีที่ผ่านมานั้น มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวจะมีผู้ทำประกันชีวิตค่อนข้างน้อย โดยช่วง 7วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมานั้น มีอุบัติเหตุรวม 3,724 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 418 ราย และในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด มีผู้ทำประกันชีวิตไว้เพียง 86 ราย เป็นเงินสินไหมมรณกรรมสุทธิกว่า 25 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ายังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีความคุ้มครองจากประกันชีวิต และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียก็จะส่งผลกระทบไปยังผู้ที่อยู่ข้างหลังแบบระลอกคลื่น
ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกท่านตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุก่อนการเดินทางทุกครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น อย่างน้อยคนละ 1 กรมธรรม์ อาจเป็นการทำประกันชีวิตแบบสามัญทั่วไป หรือประกันภัยอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจุบันเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุมีราคาถูกมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะถึงนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ส่งมอบความสุขและสร้างความอบอุ่นใจในการเดินทางให้กับประชาชน ในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยที่มีราคาถูก กรมธรรม์ประกันภัย “สงกรานต์...ถูกใจ” (ไมโครอินชัวรันส์) จ่ายเบี้ยประกันภัยเพียง 7 บาท แต่ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาท อายุการรับประกันภัยตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำการประกันภัย ระยะเวลาการทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2562 โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่ร่วมจำหน่ายกรรมธรรม์ดังกล่าว 4 บริษัท ได้แก่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต , บจ. เอไอเอ , บมจ. ไทยสมุทรประกันชีวิต ,บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต และในโอกาสนี้สมาคมประกันชีวิตไทยขอฝากถึงผู้ที่ได้ซื้อประกันชีวิตเอาไว้แล้ว โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่ เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ท่านและครอบครัวเกิดความอุ่นใจตลอดการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยแจ้งคนทำประกันชีวิตน้อย ส่งผลกระทบในวงกว้างก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก โดยล่าสุดช่วง 7 วันอันตราย ( ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2562) ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 386 รายและในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดมีผู้ทำประกันชีวิตไว้เพียง97 รายเป็นเงินสินไหมมรณกรรมสุทธิ 36,645,453.43 ล้านบาท
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่าเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างพากันเก็บเกี่ยวความสุขและเติมพลังให้ชีวิต เพื่อกลับมาทำหน้าที่ของตนเองต่อไป แต่สำหรับบางครอบครัวกลับต้องเริ่มต้นปีด้วยความโศกเศร้าเนื่องจากต้องสูญเสียผู้ซึ่งเป็นที่รักไปอย่างกะทันหัน ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 (ศปถ.) ได้รายงานว่าช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2562 ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 3,338 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 3,442 ราย และมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 386 ราย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 36.61 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 28.31 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.25ซึ่งพบว่าในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุมีผู้ที่ทำประกันชีวิตไว้เพียง 97 รายเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 36,645,453.43 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่ายอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนใน 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 20,000 กว่าราย ส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนใน 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 100,000 กว่าราย และเมื่อเอาตัวเลขทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจะพบยอดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีมากกว่า 500,000 ล้านบาท/ปี ดังนั้น การประกันชีวิตและการประกันอุบัติเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการลดภาระและการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี
จากข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า การรวมพลังของทั้งภาครัฐและเอกชนที่ช่วยกันรณรงณ์ให้ขับขี่ปลอดภัยและรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินในช่วงต้นเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ปีนี้ความสูญเสียมีลดลงมากกว่าเมื่อปี 2561 ทั้งๆ ที่ปริมาณรถวิ่งเข้าออกกรุงเทพมหานครมีสูงมากกว่าทุกปีถึง 7 ล้านคัน และถึงแม้การสูญเสียมีจำนวนน้อยลง แต่การจ่ายเงินค่าสินไหมมรณกรรมกลับมีจำนวนมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนเริ่มทำประกันชีวิตมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรจำนวนผู้ที่มีประกันชีวิตก็ยังมีอยู่ไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรในประเทศโดยคนส่วนใหญ่มักมุ่งให้ความสำคัญกับทรัพย์สินมากกว่าชีวิต ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเชิญชวนและย้ำเตือนให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการมีประกันชีวิต ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจซื้อประกันโปรดศึกษาดูรายละเอียดแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและกำลังจ่ายของตนเอง โดยไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี เพื่อให้ประกันชีวิตที่ทำมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์จนครบสัญญา
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายสุทธิ รจิตรังสรรค์
เหรัญญิกและกรรมการประจำคณะแพทย์ที่ปรึกษา เป็นประธานจัดงาน
การบรรยายพิเศษด้านวิชาการ เรื่อง Kidney transplant Donor & Being of an organ donor Automatically
ซึ่ง ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ โตวนำชัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้เกียรติเป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทางการแพทย์ ให้กับแพทย์
และบุคคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องสาทร โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพ ลุมพินี ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต
และคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรงของภาคธุรกิจประกันชีวิต”
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายจักรพงษ์ ชาวงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
นายภัทรพงศ์ ลือชัย นิติกรปฏิบัติการ กองกฎหมาย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี สํานักงาน คปภ. ร่วมบรรยายและเสวนาในหัวข้อ
“ผลกระทบกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต” เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27
พฤษภาคม 2562 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายแพทย์คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล
แพทย์ที่ปรึกษา บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการ เรื่อง “สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงแบบมาตรฐาน”
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคำนิยามและสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงแบบมาตรฐาน
ให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีนายสหพล สังข์เมฆ กรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทยเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
เมื่อวันที่ 7 - 8 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ
จังหวัดชลบุรี
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Profit-Test
Model” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายพิเชฐ เจียรมณีทวีสิน ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคชัวเรียล
บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ ภาพรวมและรายละเอียดการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตในแต่ละผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตตามแนวทางการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่มีนโยบายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยสากล
Insurance Core Principles (ICP) ตลอดจนเพื่อให้กระบวนการการยื่นขอรับความเห็นชอบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งการจัดอบรมครั้งนี้ได้มีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิดรูปแบบกรมธรรม์และกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยเข้ารับฟังความรู้ดังกล่าว
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต
ระดมบุคคลากรในธุรกิจประกันชีวิตร่วมกันบริจาคโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) กล่าวว่า ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้มุ่งเน้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี
รวมไปถึงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2561 ที่ผ่านมา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้รับบริจาคโลหิตจากทั่วประเทศกว่า
2.6 ล้านยูนิต แต่จำนวนโลหิตที่ได้รับก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากยอดผู้บริจาคโลหิตมีมาบริจาคไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ทำให้บางช่วงเวลามีปริมาณโลหิตสำรองไม่เพียงพอ จากสถิติศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติพบว่ามีผู้บริจาคโลหิตปีละ
1 ครั้ง อยู่ร้อยละ 55 ขณะที่มีผู้บริจาคโลหิตปีละ 4 ครั้ง เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น
ดังนั้นภาคธุรกิจประกันชีวิตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมสาธารณะกุศลบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภาคธุรกิจประกันชีวิต
โดยมี 4 แกนนำในการจัดงานได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.), สมาคมประกันชีวิตไทย, สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต
โดยกิจกรรมบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาตินี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่
20 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับงานในส่วนกลางจะจัดขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม
2562 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.30 น.
และในส่วนภูมิภาคได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์และบริจาคโลหิตระหว่างมิถุนายนถึงสิงหาคม
2562 ซึ่งปีนี้ได้มีการวางเป้าหมายจำนวนผู้เข้าบริจาคโลหิตไว้ไม่ต่ำกว่า 6,000
คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับประมาณ 3 ล้านซีซี ในโอกาสนี้จึงขอเชิญชวนประชาชนและบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต
ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ - 70ปี มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
หรือให้นมบุตร และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกันแสดงพลังจิตอาสา บริจาคโลหิตช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กันเยอะๆนะครับ”
สมาคมประกันชีวิตไทยผนึกพลังภาคธุรกิจประกันชีวิตจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 3 จากซ้าย) นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 1 จากขวา) พร้อมด้วย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
(ที่ 3 จากขวา) นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงาน
วันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) (ที่ 2 จากซ้าย) นำคณะผู้บริหาร พนักงาน
และตัวแทนประกันชีวิต ร่วมทำความดีด้วยการบริจาคโลหิต เพื่อช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์
ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยตั้งเป้าหมายจำนวนผู้บริจาคโลหิตไม่น้อยกว่า 6,000 คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับ 3 ล้านซีซี โดยมีนาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์
จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (ที่ 2 จากขวา) กล่าวต้อนรับ
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562
ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมคณะผู้บริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ณ ห้องประชุม 3002
ชั้น 30 สำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของศูนย์ประสานงานกลาง
(Claim
Center) ในการจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลชาวต่างชาติสำหรับสถานพยาบาลภาครัฐในเขตสุขภาพที่
10 จัดโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในหัวข้อ “แนวทางและการเตรียมความพร้อมรองรับการทำ
Fax Claim ของสถานพยาบาลภาครัฐ
รวมทั้งความพร้อมของบริษัทประกันภาคเอกชนในเขตสุขภาพที่ 10” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลได้มีความรู้ด้านบริการเคลมประกันต่างๆ
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2562 ณ โรงพยาบาลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2562 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยจับมือมหาวิทยาลัยมหิดล ในการผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ธุรกิจประกันชีวิต
โดยนางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริมการส่งเสริม
สนับสนุน พัฒนาและผลิตบุคลากรประกันชีวิต กับ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพประกันชีวิตให้กับนิสิต นักศึกษา เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจให้ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ
ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562
ภาคธุรกิจประกันชีวิตร่วมกันจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) โดยได้รับเกียรติจาก นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 4 จากซ้าย)
พร้อมด้วย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย (ที่ 3 จากขวา)
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) (ที่ 3 จากซ้าย) นางบงกช บวรฤกษ์
นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (ที่ 2 จากขวา) นำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจากบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ
พร้อมยกทัพตัวแทนประกันชีวิตมืออาชีพร่วมแนะนำวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ภายใต้แนวคิด “INSURANCE OF LOVE ENSURE YOUR LOVE, ENJOY YOUR LIFE ประกันชีวิต ด้วยรัก ประกันความสุข ด้วยใจ” ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2562 ณ บริเวณชั้น G โซน
A-B-C ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา
เวสต์เกต จ.นนทบุรี
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน
และช่วยบรรเทาความเสี่ยงทางด้านการเงิน เสริมสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
และเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศได้ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนต่อโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ
ซึ่งการดำเนินงานของธุกิจประกันชีวิตนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่จัดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ธุรกิจ
จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและผลิตบุคลากรจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนการศึกษาดูงาน
และจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่เรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาประกันภัย
และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต รวมทั้งนิสิต นักศึกษาที่สอบผ่านหลักสูตร Associates of Society of Actuaries (ASA)
Course 1 และ Course 2
จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยในปีนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ให้การสนับสนุนมอบทุนการศึกษา
และรางวัลการศึกษาประจำปีการศึกษา 2561 ด้วยงบประมาณกว่า 570,000 บาท รวม 75 รางวัล ให้กับ 14 สถาบันที่เปิดสอนสาขาการประกันภัย
และสาขาการประกันชีวิต ทั้งนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ดำเนินโครงการมอบทุนและรางวัลการศึกษาให้กับเยาวชนที่ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า
44 ปี โดยพิธีมอบทุนและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 31
กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรม สวิสโฮแต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
ซึ่งสมาคมฯ
ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
พร้อมแนะช่องทางการเติบโตทางด้านนักวิเคราะห์สถิติข้อมูลซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ
และยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาผลิตเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนี้ต่อไป นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวในตอนท้าย
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2562 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนลำไยมัดปุ๊ก อ.สันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนลำไยมัดปุ๊ก อ.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา จัดบรรยายพิเศษเรื่อง The Truth About
CHOLESTEROL & Why We Need It ซึ่งได้รับเกียรติจาก พญ.วาสนา
ลือประสิทธิ์สกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการแพทย์
ให้กับแพทย์และบุคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ณ ห้องกรรณิการ์ ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน ถ.พระราม กรุงเทพฯ 4 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า 6 เดือนแรกปี 2562 (มกราคม – มิถุนายน) ธุรกิจประกันชีวิตผลิตเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
295,612.96 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 6
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
จำนวน 84,001.56 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 8 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน
211,611.40 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 5 ซึ่งมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ
78 สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
(1)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 48,699.04 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.43
(2)
เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 35,302.52
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 20
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 143,810.66 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 48.65
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 128,321.78 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 43.41
หรือเติบโตลดลงร้อยละ
15.88
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางอื่นๆ 16,131.74 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 5.46
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.13 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง 7,348.97 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.49
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.21 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้
ช่องทางการจำหน่ายที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง คือ ช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
และช่องทางการจำหน่ายอื่นๆ ที่หลากหลายขึ้น โดยช่องทางที่มีแนวโน้มสดใสคือ
ช่องทางดิจิทัลหรือช่องทางอินเตอร์เน็ต
เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้าที่ใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
ซึ่งสถานการณ์ของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
ค่อนข้างที่จะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลงอันสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งและจากปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจเอง เช่น การกำกับจากหน่วยงานภาครัฐผ่านประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2561 (Market Conduct) ที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง ภาวะความกดดันจากเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน
IFRS 9, IFRS 17 การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk
Based Capital : RBC2) และการเผชิญกับอัตราความเสียหายจากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย
(Fraud & Abuse) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
จึงเป็นสาเหตุให้อัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกไม่เติบโตเท่าที่ควร
สำหรับธุรกิจประกันชีวิตไทยในครึ่งปีหลัง
2562 คาดว่าอัตราการเติบโตจะมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก
โดยคาดว่าหลายบริษัทจะมีการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบชำระครั้งเดียวด้วยความระมัดระวังจึงทำให้อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียวชะลอตัวอย่างชัดเจน
รวมทั้งเบี้ยประกันภัยต่ออายุก็มีอัตราการเติบโตชะลอตัวเช่นเดียวกัน
และมีอัตราความคงอยู่ที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีกรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยประกันภัยครบกำหนดแล้วหากแต่ยังมีผลความคุ้มครองอยู่
(Paid
up) เป็นจำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ที่ประกอบด้วย
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก และเบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว
มีอัตราการเติบโตชะลอตัวตาม ส่วนแนวโน้มผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับความนิยมจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทความคุ้มครองเป็นหลัก
เช่น ประกันสุขภาพ หรือแบบประกันควบการลงทุน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาคธุรกิจจะเผชิญกับความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย
หากแต่คาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีเบี้ยประกันภัยรับรวมเติบโตเทียบเท่ากับปี
2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทย ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดประมาณการจีดีพีในปี 2562 ลงที่ 3.3- 3.8% จากเดิมเคยคาดการณ์ไว้ว่าเติบโต 3.5
– 4.5%
แต่ถึงอย่างไรสภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังก็มีแนวโน้มปรับตัวดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก
ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะผลักดันนโยบายให้สอดคล้องกับที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยหาเสียงไว้ช่วงก่อนการเลือกตั้ง
อาทิ นโยบายประชารัฐ ประกันรายได้พืชผลเกษตร
รวมถึงนโยบายเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย
ประกอบกับประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่เพียงร้อยละ
39 เท่านั้น
แสดงให้เห็นว่าตลาดประกันชีวิตในประเทศไทยยังสามารถเติบโตได้อีกมาก
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อวิชาจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมกรณีศึกษา ในการอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
ประจำปี 2562 จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึก เชิงวิชาการให้แก่วิทยากรของหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
คปภ. ให้เป็นหน่วยงานจัดอบรมหลักสูตรขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
และจัดทำสื่อการสอน ให้เป็นมาตรฐานกลางในการนำไปถ่ายทอดให้กับตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตเข้าใจได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน
ณ ห้องมรกต ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัล ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1
สิงหาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นเกียรติในงาน MDRT
DAY 2019 ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีของสมาชิก Million Dollar
Round Table (MDRT) ประเทศไทยรวมถึงตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินภายใต้แนวคิดการจัดงาน "SYNCHRONIZE THE FUTURE" ณ
ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต เข้าพบ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและเยี่ยมชมระบบการให้บริการประกันสุขภาพ
พร้อมทั้งมอบตู้กดน้ำร้อน น้ำเย็น ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม
2562 ที่ผ่านมา
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมฯ
ผู้บริหารของบริษัทสมาชิก และนักคณิตศาสตร์ประกันภัยร่วมประชุมเพื่อชี้แจง
และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) โดยมีนายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ
เป็นประธานการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการกำกับ ตลอดจนกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัยรวมถึงแนวทางการปรับปรุงสัญญาประกันสุขภาพ
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมด้วยผู้แทนจากคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม ร่วมประชุมหารือการจัดสวัสดิการประกันภัยกลุ่มสำหรับลูกจ้างในงานประมงกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัย และสำนักงานประกันสังคม
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันภัยสำหรับการจัดสวัสดิการประกันภัยกลุ่มสำหรับลูกจ้างในงานประมง
เพื่อกำหนดแนวทางและเงื่อนไขการรับประกันภัยต่อไป ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3
สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562
นายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานเปิดงานโครงการอบรมหลักสูตรการจัดการและการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital
Forensics & Digital Evidence) จัดโดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมิทธ์ ณ นคร และ มร.แอนดรูส์ สมิทธ์
จากบริษัท Orion Investigations ร่วมบรรยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานการทำ
Computer forensic เทคนิคเบื้องต้น และคำศัพท์ต่างๆ ที่ควรทราบให้สามารถเข้าใจความหมายของรายงานทาง Digital
Forensics พร้อมทั้งสามารถประเมินความถูกต้องและความสมบูรณ์ของหลักฐานทางดิจิทัล
ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
และเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องของบริษัทสมาชิก เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุม 701 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทยเสริมฝัน ปั้นอนาคตให้เยาวชนรู้หลักวางแผนการเงิน
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิร่มฉัตร และพันธมิตร จัดโครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2562 เวทีส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้และทักษะด้านเศรษฐศาสตร์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเงินส่วนบุคคล และการประกันชีวิต พร้อมชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี
สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี พร้อมชิงทุนการศึกษาและศึกษาดูงานต่างประเทศ
รวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาท
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคม
และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สมาคมประกันชีวิตไทยจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการศึกษามาโดยตลอด
พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในทุกระดับชั้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่เรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาประกันภัย และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตเป็นประจำทุกปี
สำหรับเยาวชนในระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา สมาคมประกันชีวิตไทยได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,
มูลนิธิร่มฉัตร,
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพันธมิตร
จัดโครงการแข่งขัน “เศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ” ซึ่งเป็นโครงการที่เปรียบเสมือนเวทีให้เยาวชนที่มีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
การเงินส่วนบุคคล และการประกันชีวิต ได้มาพัฒนาความรู้เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร
การเข้าใจเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับเยาวชนที่เลือกเป็นนักลงทุน หรือ
นักคณิตศาสตร์ประกันภัย การเข้าใจเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตทั้งกับชีวิตหรือทรัพย์สินก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำกันตั้งแต่วัยเยาว์
เพราะประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ Aging Society
อย่างเต็มรูปแบบแล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาเก็บออมเงินไม่พอใช้ คนที่ต้องเกษียณอายุการทำงานแต่ไม่มีเงินเก็บจนกลายเป็นภาระให้ลูกหลานก็มีอยู่มาก
ดังข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า ครัวเรือนทั่วประเทศประมาณ 21.6
ล้านครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่มีการออมเงิน 15.7 ล้านครัวเรือนหรือร้อยละ 72.9
และอีก 5.8 ล้านครัวเรือนหรือร้อยละ 27.1 ยังไม่มีเงินออม
เพราะฉะนั้นการให้ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
สำหรับในปี
2562 นี้โครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 และได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันไปเมื่อวันที่
16 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนทั้งในกรุงเทพฯ
ปริมณฑลและต่างจังหวัดสนใจเข้าสมัครเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยในปีนี้มีนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ความสนใจเข้าสมัครทั้งสิ้น
5,641 คน จาก 1,257 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยจะมีการจัดการแข่งขันคัดเลือกผู้ชนะของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6 ในวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562 และจัดการแข่งขันคัดเลือกผู้ชนะของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 - 6 ในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม
ประจำปี 2562 ให้แก่ นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย รางวัลดังกล่าวจัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาสมาคมการค้าให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน
ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลัก Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ คือ 1) ผลสำเร็จตามพันธกิจ
2) ความสามารถในการบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) การพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ สมาคมฯ
ได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นสมัยที่ 3 หลังจากได้รับมาแล้วเมื่อปี 2558 , 2560
ณ ห้องเวิลด์ บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่
20 สิงหาคม 2562
นายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนท่าเทียบเรือประมงสงขลา อ.เมือง
จังหวัดสงขลา ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนท่าเทียบเรือประมงสงขลา อ.เมือง
จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมพิธีเปิดโครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2562 เวทีแสดงความรู้ความสามารถในเชิงเศรษฐศาสตร์ การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนประกันชีวิต เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตนเองและครอบครัว สอดคล้องกับพันธกิจหลักของสมาคมฯ ในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าการประกันชีวิต (Insurance Literacy) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐา
ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทุนการศึกษา และศึกษาดูงานต่างประเทศรวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาทเมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2562 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
โดยผู้ที่ได้รับรางวัลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้แก่
1. เด็กชายณณัฐรัชต์ แวววีรคุปต์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร
2. เด็กชายพสิษฐ์ แสงประชาธนารักษ์ โรงเรียนต้นกล้าแห่งปัญญา
3. เด็กชายชวณัฏฐ์ อยู่สวัสดิ์ โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสอาดหัวหิน
ผู้ชนะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้แก่
1. เด็กหญิงวรินทร พิมลศรี โรงเรียนสาธิตมศว.ประสานมิตรฝ่ายประถม
2. เด็กหญิงกชพร อุรโสภณ โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
3. เด็กหญิงนันทภัค ธนวัฒโน โรงเรียนราชินีบน
ผู้ชนะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้แก่
1. เด็กหญิงสุตาภัทร ตั้งอมรสิทธิชัย โรงเรียนเบญจมาราชูทิศจังหวัดจันทบุรี
2. เด็กหญิงวงศยา ศิริรัตน์ โรงเรียนราชินี
3. เด็กชายวรรุจน์ ตลึงจิตร โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)
ผู้ชนะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้แก่
1. นางสาวพิชญา ปรมาเวศ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
2. นายรณกฤต พงศ์พุทธชาด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมวิพากษ์กลุ่มวิทยากรของบริษัทประกันชีวิตที่เข้ารับการทดสอบทักษะการเป็นวิทยากรหลังได้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ประจำปี 2562
ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อให้รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สู่ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตเป็นมาตรฐานกลางอย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน ณ ห้องมรกต ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่
27 สิงหาคม 2562
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ให้การต้อนรับนายสุชาติ
เลาบริพัตร ผู้อำนวยการสำนักผู้เชี่ยวชาญ (รก.นายแพทย์เชี่ยวชาญ) หัวหน้าคณะสังกัด
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนำคณะนักยุทธศาสตร์ฯ จากโครงการพัฒนานักยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปประเทศเชิงบูรณาการ (Strategist Development
Program) ประจำปี 2562 เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการการเชื่องโยงของข้อมูลระบบประกันสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรูปแบบการ Claim ค่ารักษาพยาบาล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมบริการสุขภาพของประเทศแบบครบวงจรต่อไป
ณ ห้องประชุม 601 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 03 กันยายน
2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนตลาดน้ำบางคล้า
อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน“สัปดาห์ประกันภัยประจำปี 2562” ซึ่งจัดโดยสำนักงาน คปภ.
และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค
เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด“พลิกโฉมประกันสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย” HEALTH
INSURANCE WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE CONNECT โดยมี 13
บริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธเพื่อแนะนำความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งภายในงานยังมอบโปรโมชั่นสุดพิเศษทั้งส่วนลดจากค่าเบี้ยประกันภัย ของขวัญ
ของรางวัลและสิทธิชิงโชครถยนต์ BMW X1 และของรางวัลอื่นๆ เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต-ประกันภัยในงานด้วยเบี้ยประกันภัยตั้งแต่
500 บาทขึ้นไป พร้อมพบกับความบันเทิงจากศิลปินรับเชิญ อาทิ
ติ๊ก เจษฎาภรณ์ , หมาก ปริญ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ณ
ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ.
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา สบน. ครบรอบ 17 ปี พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์
โดยมีนายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ให้การต้อนรับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ในโอกาสเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ ในงานสัปดาห์ประกันภัยปี 2562 โดยความร่วมมือของสำนักงาน คปภ.และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมประกันสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย”
HEALTH INSURANCE
WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE CONNECT ระหว่างวันที่ 27-29
กันยายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี
สมาคมประกันชีวิตไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทสมาชิกที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2562 โดยได้รับเกียรติจาก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติยศ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 6 บริษัท จาก 7 รางวัลเกียรติยศ ประกอบด้วย
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2561 อันดับ 1
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2561 อันดับ 2
บริษัท เอไอเอ จำกัด
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2561 อันดับ 3
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2561
บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบการประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2562
บริษัท
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน)
บริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี 2561
พลอากาศเอก ชลิต
พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส ให้เกียรติต้อนรับ นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการและประธานจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่
20 ประจำปี 2562 ตลอดจนคณะกรรมการพร้อมรับมอบเงินจำนวน 100,000 บาท เนื่องจากการจัดงานดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอาชีพแก่เยาวชนและผู้ด้อยโอกาส ณ
ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เมื่อวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา เข้าพบนพ.สุรพล โล่ห์สิริวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พญาไท 3
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันชีวิต - ประกันสุขภาพ ร่วมกับคณะผู้บริหาร
แพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ การตรวจรักษาผู้เอาประกันภัย ณ
ห้อง We
Before Me ชั้น 5
โรงพยาบาลพญาไท 3 เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมออกบูธแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ ในงานสัปดาห์ประกันภัย ประจำปี 2562 (Thailand
Insurance Expo 2019) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมประกันสุขภาพ
ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย” HEALTH INSURANCE WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE
CONNECT ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค
เมืองทองธานี
ซึ่งภายในงานมีบริษัทประกันภัยและประกันชีวิตร่วมออกบูธการตลาดนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ
ลุ้นรับรางวัลเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเบี้ยประกันภัยครบ 500 บาท
รับคูปองชิงโชครถยนต์ BMW X1 มูลค่า 2 ล้านบาท
และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดจนพบกับกิจกรรมภาคบันเทิงจากศิลปินต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นสร้างสีสันให้กับผู้ร่วมงาน
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีประชาชนให้การตอบรับและเลือกวางแผนชีวิต
วางแผนการเงิน ปกป้องความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตกันอย่างคึกคัก
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนางสาวมะยุรี หงษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ มอบเงินจำนวน 100,000 บาทแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีนายสุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการ เป็นผู้รับมอบ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 ณ อำเภอพิบูลมังสาหาร และ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
สมาคมประกันชีวิตไทย ออกโรงเตือนประชาชนคิดยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญาเสียสิทธิมากมาย
รวมถึงสิทธิทางภาษี
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า หากผู้เอาประกันภัยต้องการจะยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต
หรือมีผู้ชักจูงให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อไปทำกรมธรรม์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
การยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นทางออกที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทประกันชีวิตที่ได้ทำสัญญาไว้ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผู้เอาประกันภัยกำลังประสบอยู่
เพราะนอกจากการยกเลิกกรมธรรม์แล้วยังสามารถเลือกใช้มูลค่าเงินสำเร็จ หรือ ใช้มูลค่าขยายเวลาได้อีก ซึ่งทั้ง 2
วิธีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไปโดยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ
อาทิ กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน และการทำกรมธรรม์ฯ
ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงจะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเริ่มนับระยะเวลาในการใช้สิทธิโต้แย้งใหม่
ทั้งนี้ หากผู้ขอเอาประกันภัยมีปัญหาสุขภาพ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย
หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะต้องมีการเริ่มนับระยะเวลารอคอยใหม่อีกด้วย
นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ถ้ามีการยกเลิกหรือเวนคืนประกันชีวิตก่อนครบสัญญา
อาจเสียสิทธิทางภาษีได้
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ นางณินทิรา โสภณพนิช ประธานกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ
ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562
เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่อยู่ในความอนุเคราะห์
ซึ่งสมาคมฯได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารมูลนิธิฯ ถนนติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ปีที่ 58 พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนายลวรณ
แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมป๋วยอึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา จัดบรรยายพิเศษ
เรื่อง Rational Classification of Simple Diseases
Cases in Bangkok Dusit Medical Services Hospital using Relative Weight and Case
Mixed Index ซึ่งได้รับเกียรติจาก นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ และ ทญ.จิณหธาน์
ปัญญาศร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทางการแพทย์ ร่วมกับแพทย์และบุคคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะได้นำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ โรงแรม Le Meridien
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) และ สมาคมประกันวินาศภัยไทย จัดเสวนา “อนาคตประกันสุขภาพในยุคดิจิทัล (The
Future of Health Insurance in Digital Aged)” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงาน คปภ. เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง
ทิศทางการพัฒนาการประกันสุขภาพในยุคดิจิทัล พร้อมกิจกรรมเสวนาเรื่องอนาคตประกันสุขภาพในยุคดิจิทัลในมุมมองของหน่วยงานภาคกำกับและภาคเอกชน
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงาน
คปภ. นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย นายแพทย์ประมุกข์
ทรงจักรแก้ว ประธานคณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์
รองเลขาธิการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง “การประกันสุขภาพอย่างยั่งยืนสู่อนาคต”
จากนายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายแพทย์สมสกุล ศรีพิสุทธิ์ คณะแพทย์ที่ปรึกษา
สมาคมประกันชีวิตไทย นายแพทย์ธรธเนศ อายานะ รองประธานอาวุโสฝ่ายการแพทย์ บริษัท
ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และนายไพบูลย์
เปี่ยมเมตตา ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนโยบายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงาน
คปภ. ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านประกันสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของประชาชนทั่วไป
ให้กับผู้บริหารจากสำนักงาน คปภ.ภาคและจังหวัด
ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยกว่า 170 คนเข้าร่วมสัมมนา
ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต จัดโครงการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ
แนวทางการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์
หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย
ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561 โดยได้รับเกียรติจาก
นายศิริวัฒน์ ศิริเกตุ ประธานอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และ นางวัชรา
สถาพรพิริยะเดช ผู้อำนวยการฝ่าย บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
เพื่อให้บุคลากรของบริษัทสมาชิกฝ่ายสินไหมรายบุคคลและประกันกลุ่ม
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุม 701ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ให้การต้อนรับและบรรยาพิเศษเรื่องภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตและบทบาทของสมาคมประกันชีวิตไทย
ให้กับคณะนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 9 ในโอกาสเยี่ยมชมสถานที่และศึกษาดูงาน
ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
นายสาระ
ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด และ มล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์
อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือสู่การพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัลของประเทศไทย We
are ready for Thailand Digital ID ระหว่างกลุ่มธนาคารนำร่องกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต
บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงาน
คปภ. และบริษัทเนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอัจฉรินทร์
พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ณ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์
พระรามเก้า (อาคารบี) ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดที่ทำการสำนักงาน
คปภ. จังหวัดหนองคาย ณ อาคารศาลากลางจังหวัดหนองคาย ชั้น 2 ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
เพื่อให้บริการต่อประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันชีวิตและประกันภัยอย่างครบวงจร
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน2562 ที่ผ่านมา
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าว เปิดตัว
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2563” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต-บริษัทประกันภัย ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
อุ่นใจปีใหม่พลัส
โดยจ่ายเบี้ยประกันภัยเพียงแค่ 7 บาทจะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ
กรณีแรก การเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สูญเสียสายตา
หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุไม่รวมการถูกฆาตกรรม
ลอบทำร้ายร่างกายและ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
จะได้รับความคุ้มครอง 100,000 บาท กรณีที่สอง การเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สูญเสียสายตา หรือ
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุ
ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับความคุ้มครอง 50,000
บาท กรณีที่สาม ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย
(ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 15 วันแรก นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย)
จะได้รับความคุ้มครอง 5,000 บาท และกรณีที่ 4
ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
กรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ วันละ 150 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากชีวิตและทรัพย์สิน
พร้อมสร้างความตระหนักในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่
โดยจัดจำหน่ายตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2562 ถึง 31 มกราคม 2563 สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 –
70 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาความคุ้มครอง 30 วัน นับจากวันที่ทำประกันภัย
โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) , บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) , บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ จำกัด ณ
บริเวณโถงชั้น G และลานอเนกประสงค์ สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมด้านการประกันภัยครั้งที่
1 / 2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) โดยมีดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นประธานการประชุม
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับระบบการประกันภัยให้มีความโปร่งใส
เป็นธรรม เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการประกันภัย ณ
ห้องประชุม 207 ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมคณะผู้บริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ
นางสาววสุมวดี วสีนนท์ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รองเลขาธิการ
ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ณ สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะกรรมการบริหาร
และผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อร่วมสวัสดีปีใหม่พร้อมหารือแนวทางการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลฉลองปีใหม่ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึง 2 มกราคม 2563
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ได้รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุมีทั้งสิ้น 373 ราย ทั้งนี้
พบว่ามีผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้เพียง 93 รายเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 24.93
ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้นกว่า 44
ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตรวม
463 ราย แต่ทำประกันชีวิตไว้จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.03
ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด คิดเป็นจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 52 ล้านบาท
นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีประกันชีวิต
แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีไม่มากพอเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตของชาวไทย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 39.53
เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆคือ คนไทย 100 คนมีการถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 39
ฉบับ หากเทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างมาเลเซียที่ประชากร 100 คน
ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 40 ฉบับ และประเทศสิงคโปร์ที่ประชากร 100 คน
ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 267 ฉบับ เป็นต้น
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ายังมีประชาชนชาวไทยอีกจำนวนมากที่ไม่มีความคุ้มครองจากประกันชีวิตไว้รองรับอนาคต
ทั้งๆ ที่การสูญเสียประชากร 1 คนส่งผลกระทบในหลายๆด้าน
ยิ่งถ้าผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัว ผลกระทบก็จะตามมาเป็นระลอกคลื่นไปยัง ภรรยา
ลูก หรือพ่อแม่
ดังนั้นประกันชีวิตจึงเปรียบเสมือนตัวแทนความรักความห่วงใยที่ผู้เสียชีวิตทำไว้เพื่อชดเชยให้กับช่วงเวลาที่เขาไม่สามารถอยู่เคียงข้างคอยดูแลคนที่รักและห่วงใยได้
ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียมา
ณ โอกาสนี้
และสำหรับญาติผู้เสียชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่
สามารถติดต่อมาที่สมาคมประกันชีวิตไทยเพื่อเป็นหน่วยงานกลางตรวจสอบ
โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตสุดท้ายนี้ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันโดยทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุอย่างน้อยครอบครัวละ
1 กรมธรรม์ เพื่อวางแผนลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันชีวิตหรือสมาคมประกันชีวิตไทย
โทรศัพท์ 02 679 8080 ต่อ 561-563
สมาคมประกันชีวิตไทยแนะปันทรัพย์จากอั่งเปาเป็นเงินออมเพื่ออนาคต
สำหรับเยาวชนที่ได้รับอั่งเปาคงจะดีไม่น้อยหากแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาเก็บออมหรือลงทุนเพิ่มมูลค่า
อาจจะในรูปแบบของเงินฝากประจำ การซื้อทอง ซื้อสลากออมสิน
หรือออมทรัพย์ในรูปแบบประกันสะสมทรัพย์ก็จะเป็นวิธีฝึกการออมอย่างมีวินัย
เพราะต้องออมเป็นจำนวนที่เท่ากันในทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ค่อยๆ ทยอยสะสมไว้เป็นเงินก้อนใหญ่ ทำให้สามารถตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์การใช้เงินได้อย่างแน่นอน
เช่น จะมีทุนการศึกษาหรือทุนประกอบอาชีพในอนาคต โดยข้อดีของการออมในรูปแบบของการทำประกันชีวิตนี้จะช่วยให้เยาวชนรู้จักบริหารความเสี่ยง
เพราะประกันชีวิตนอกจากจะเป็นเงินออมระยะยาวแล้วยังมีความคุ้มครองชีวิตรวมอยู่ด้วย
รวมทั้งยังบังคับตัวเองไม่ให้ถอนเงินก้อนนี้ออกมาใช้ เพราะถ้าถอนหรือยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดจะทำให้ขาดทุนได้
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวเพิ่มเติมว่า
การรู้จักเก็บออมตั้งแต่ยังเด็กจะทำให้เป็นเศรษฐีตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตามการประกันชีวิตเป็นแผนการออมเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงด้วยสถาบันการเงินอีกประเภทหนึ่งที่มีความมั่นคงไม่แพ้ธนาคาร
และประกันชีวิตก็เป็นสิ่งที่คนทุกเพศทุกวัยควรจะมี
สำหรับผู้ที่สนใจการเก็บออมผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถติดต่อสอบถามไปที่บริษัทประกันชีวิต
ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายแบบ
แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของตนเอง
และเนื่องในโอกาสวันตรุษจีน สมาคมประกันชีวิตไทยขออวยพรให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง
คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนา มีแต่ความสุข มั่งคั่ง โชคดี ร่ำรวยตลอดปีครับ
สมาคมประกันชีวิตไทยย้ำประกันชีวิตคุ้มครองลูกค้ากรณีติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะเจ้าหน้าที่สมาคมฯ
ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีนายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมฯ บรรยายให้ความรู้ พร้อมด้วยนายกิตติ ผาสุขดี
ที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมฯ
ร่วมแนะแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดรับกับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การปรับตัวของธุรกิจและนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและอย่างเหมาะสม
ณ โรงแรม รอยัล ฮิลส์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก
นอกจากนี้ยังร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม “ปันน้ำใจให้น้อง”
ด้วยการมอบทุนอาหารกลางวันจำนวน 30,000 บาท
พร้อมเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้แก่น้องๆ นักเรียน โรงเรียนวัดเนินสะอาด
ตำบลเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยมีนายอภินันท์ ทวีบุญ
อาจารย์โรงเรียนวัดเนินสะอาด เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวแสดงความห่วงใยต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
และขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวผู้สูญเสีย จากกรณีคนร้ายที่ก่อเหตุใช้อาวุธปืนกราดยิง
ทหาร ตำรวจ และประชาชน กลางเมืองโคราชและหลบหนีเข้าไปภายในห้างเทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมคนร้าย 30
ราย และผู้บาดเจ็บ 58 ราย ในเบื้องต้นพบว่ามีผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้ 13
รายของจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้น 16,726,839 บาท แบ่งเป็นสินไหมมรณกรรม 14,305,669 บาท และสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาล
2,421,170 บาท จากบริษัทที่รับประกันชีวิตจำนวน 15 บริษัท ได้แก่
บริษัท เอไอเอ จำกัด, บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็ม
บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท
โตเกียวมารีนประกันชีวิต(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท พรูเด็นเชียล
ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน),
บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน),
บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันชีวิตได้เร่งดำเนินการจ่ายสินไหมทดแทนให้กับครอบครัวผู้สูญเสียและบาดเจ็บ
เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที
และสำหรับญาติผู้เสียชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่
สามารถติดต่อสอบถามที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02 679 8080 โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล
เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต และสมาคมประกันชีวิตไทยจะประสานกับบริษัทประกันชีวิตเพื่ออำนวยความสะดวกต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทยแจงธุรกิจประกันชีวิตปี 2562 เติบโตลดลงที่ร้อยละ 2.63 ด้วยผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวม 610,914.11 ล้านบาท และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ที่ร้อยละ 80 คาดการณ์ปี 2563 ธุรกิจประกันชีวิตจะไม่มีการเติบโต โดยจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 610,000 ล้านบาท เหตุปัจจัยท้าทายรอบด้าน
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา
ตัวเลขการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตไม่สูงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สืบเนื่องมาจากปัจจัยท้าทายต่าง ๆ ที่ธุรกิจประกันชีวิตต้องเผชิญ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเป็นผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
มาตรการจากภาครัฐ อาทิ จากหลักเกณฑ์ในเรื่องมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS17
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy Law) การยกระดับพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันชีวิต (Market
Conduct) ที่กระทบต่อตัวแทนและนายหน้า ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนจากตัวเลขของช่องทางการเติบโตของแบงก์แอสชัวรันส์ที่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมาถึง
ร้อยละ 10.66 นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอัตราความเสียหาย จากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย
(Fraud & Abuse) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรับประกันสุขภาพ การเผชิญกับภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำที่กระทบต่อการลงทุนและผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
จากปัจจัยท้าทายเหล่านี้ส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวม
(มกราคม – ธันวาคม 2562) 610,914.11 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตลดลงร้อยละ
2.63 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ (New Business
Premium) จำนวน 178,487.45 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก 108,737.99 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65 เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 69,749.45 ล้านบาท
อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 17.68 เบี้ยประกันชีวิตปีต่อไป (Renewal Year
Premium) 432,426.66 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 3.25 ซึ่งมีอัตราการคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ
80
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย ปี 2562 เป็นดังนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
จำนวน 315,616.85 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 51.66
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.32 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 250,564.71.ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 41.01
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 10.66 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง
14,908.58 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.44
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.01 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ 29,823.95 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ
4.88
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.99 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
สำหรับปี 2563 คาดว่าธุรกิจประกันชีวิต จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม ประมาณ 610,000 ล้านบาท ไม่มีการเติบโต เหตุเพราะการดำเนินงานยังคงต้องเผชิญกับความกดดันจากปัจจัยท้าทายของปีที่ผ่านมาซึ่งยังคงมีผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ของประเทศไทยในปีนี้ที่ร้อยละ 1.5 เหตุเศรษฐกิจของประเทศได้เผชิญกับปัจจัยลบจากการท่องเที่ยวที่หดตัวลงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปกับปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำเงินบางส่วนไปใช้ชำระหนี้ภาคครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระทบด้านภูมิศาสตร์ ภาวะภัยแล้ง ภาวะการว่างงาน ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ผู้บริโภคมีความต้องการเฉพาะเจาะจง ธุรกิจประกันชีวิตจึงต้องมีการปรับตัว และมีการลงทุนเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกัน digital disruption และสังคมสูงวัย ซึ่งเป็นได้ทั้งปัจจัยที่ท้าทายและปัจจัยส่งเสริมธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจทำให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถเติบโตได้มาจากปัจจัยส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น การอนุมัติโครงการสาธารณูปโภค การเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังคงค้าง การส่งเสริมการท่องเที่ยว และมาตรการส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตโดยหน่วยงานกำกับ ซึ่งล่าสุดได้มีประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต / บริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2563 ออกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยไทยให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลง โดยการเปิดกว้างให้บริษัทประกันสามารถลงทุนได้มากขึ้นในหลากหลายรูปแบบ
อีกทั้งยังมีปัจจัยส่งเสริมจากภาคธุรกิจ อาทิ บริษัทประกันชีวิตมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตรงกับตามความต้องการของประชาชน และมุ่งพัฒนาช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลาย นอกเหนือจากการจำหน่ายผ่านตัวแทนฯ เช่น การขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบออนไลน์ แอปพลิเคชันต่าง ๆ การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบการให้บริการให้ทันสมัย สะดวกสบาย และสร้างความประทับใจในการใช้บริการ เพื่อรองรับ Life Style ของลูกค้าแต่ละราย การตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ จึงทำให้ประชาชนให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยง การวางแผนคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ การหาผลตอบแทนด้วยช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนในแง่ของการลงทุน
สำหรับทิศทางธุรกิจประกันชีวิตปี 2563 ธุรกิจประกันชีวิตจะต้องปรับลดการขายผลิตภัณฑ์ที่เคยให้ผลตอบแทนสูงเช่น Single Premium หรือแบบประกันชีวิตที่การันตีผลตอบแทนออกจากตลาด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง โดยเน้นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน เช่น ยูนิตลิงก์ (Unit- Linked ) ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว เช่น แบบประกันชีวิตตลอดชีพ แบบประกันบำนาญ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ถึงแม้ปี
2563 จะยังเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจประกันชีวิต หากแต่ยังมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
เพราะธุรกิจประกันชีวิตมีความจำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจชะลอตัว
ค่ารักษาพยาบาลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นทุกปีตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ ตลอดจนการตระหนักรู้ของประชาชนจากภาวะโรคอุบัติใหม่
หรือการแพร่กระจายของโรค เช่น การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนเงินผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
นอกจากนี้แล้วภาคธุรกิจยังได้มีการตั้งรับและเตรียมตัวอย่างดีต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือทั้งจากทางภาคอุสาหกรรมและหน่วยงานกำกับ โดยมีสมาคมประกันชีวิตไทยเป็นแกนกลางในการประสาน พันธกิจต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยท้าทาย ทั้งในรูปแบบรับฟังความคิดเห็น
การจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เช่น ว่าจ้างที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายมาช่วยแนะนำผลกระทบของธุรกิจประกันชีวิตในแง่มุมต่าง
ๆ ต่อพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล คณะทำงานเรื่องผลกระทบมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS17 คณะทำงานเรื่องผลกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ซึ่งนำไปสู่การทดสอบ RBC 2 การดำรงเงินกองทุน และคณะทำงานเกี่ยวกับความจำเป็นทางการแพทย์
โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อกำกับและติดตามงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางอย่างไรก็ตาม
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติม
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม จัดโครงการสัมมนาวิชาการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยกลุ่ม
พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เรื่อง “การประกันภัยกลุ่มในยุคดิจิทัล”ซึ่งได้รับเกียรติจาก
นายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคม
บรรยายข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติของกฎหมายใหม่ อีกทั้งได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงนภัค ด้วงจุมพล แพทย์ชำนาญการ (ด้านวิจัย)
หัวหน้ากลุ่มงาน อาชีวเวชกรรม
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “สุขภาพดีอย่างยั่งยืน
ในยุคดิจิทัล”เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตกลุ่มสู่ยุคดิจิทัล ณ
ดิโอเชี่ยน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2563
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ลดลงมาอยู่ที่
1.06 % ประกอบกับเกิดสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมทั้งสิ้น
79,163 ราย เสียชีวิต 2,471 ราย หายแล้ว 23,624 ราย (ข้อมูลวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563) แต่สถานการณ์การระบาดก็ยังดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชียไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเศรษฐกิจซบเซา ดอกเบี้ยขาลง ตลาดมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วคงไม่ส่งผลดีกับบรรดานักลงทุนหรือผู้ที่ต้องการให้เงินออมงอกเงย
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำผู้เอาประกันภัยทุกคนที่ถือครองกรมธรรม์ออมทรัพย์ที่มีความคุ้มครองและมีผลตอบแทนสูงอย่ายกเลิกกรมธรรม์
เนื่องจากประกันชีวิตรูปแบบสะสมทรัพย์ในอดีตจะให้ผลประโยชน์และเงินคืนตามที่บริษัทประกันสัญญาไว้ในอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยปัจจุบัน
เรียกว่ากรมธรรม์ในอดีตจะกลายเป็นสมบัติล้ำค่าในอนาคต รวมถึงการมีประกันสุขภาพไว้รับมือกับโรคต่าง
ๆ หรือโรคอุบัติใหม่ เช่น ไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ ขอให้ผู้เอาประกันทุกท่านหมั่นตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยในงวดต่อไปแล้วหรือยัง
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง เพราะการปล่อยให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับจะทำให้ผู้เอาประกันชีวิตเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วยังทำให้เสียโอกาสในเรื่องความคุ้มครองตามที่ได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตและยังมีผลบังคับอยู่
ณ ปัจจุบันขอให้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทุกกรณี
ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ในโอกาสนี้จึงขอย้ำเตือนผู้เอาประกันภัยทุกท่านว่า เมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน ก่อนตัดสินใจยกเลิกกรมธรรม์ควรไตร่ตรองและตระหนักให้ดีก่อนว่าตนเองจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง
และเพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์และความคุ้มครองตามสัญญา ท่านสามารถเลือกใช้วิธีกู้เงินจากกรมธรรม์ได้
ตามที่บุคลากรทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามามีบทบาทในการตรวจเฝ้าระวังเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในประเทศไทยนั้น
สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันชีวิตมีความห่วงใยบุคลากรซึ่งมีความสำคัญในการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19
เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยโดยความร่วมมือของบริษัทสมาชิกได้จัดสรรเงินจำนวน
1.5 ล้านบาท ผ่านสำนักงาน คปภ. เพื่อจัดซื้อกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานรับมอบ เมื่อวันที่ 6
มีนาคม 2563 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ชั้น 3 ทั้งนี้ ความคุ้มครองที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับคือหากตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19
จะได้รับความคุ้มครองทันทีเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาทต่อคน โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ
ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ในโอกาสนี้ สามาคมประกันชีวิตไทยขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพพร้อมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวมดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิดและขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง นายกสมาคมฯกล่าวเพิ่มเติม
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง
“แผนรองรับการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน : COVID-19” จัดโดยฝ่ายบริหารสำนักงานและบุคคล สายงานส่งเสริมช่องทางจำหน่าย สมาคมประกันชีวิตไทย
ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายณรงค์ โพธิ์แมนกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท เอไอเอ
จำกัด และ Mr.Chong Jan Hou Senior
Vice President พร้อมคณะจากบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ทั้งแผนงานและวิธีการที่จะช่วยให้องค์กรหรือหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย การก่อการประท้วง การก่อการจลาจล
การก่อวินาศกรรม รวมถึงในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่
2019 (COVID-19) ให้กับบุคลากรจากบริษัทสมาชิก, ผู้แทนจากสำนักงาน
คปภ., สมาคมประกันวินาศภัยไทยและเจ้าหน้าที่สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะช่วยลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเกิดโรคระบาด
COVID-19 ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้พระราชกำหนด
(พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 นั้น สมาคมประกันชีวิตไทยขอยืนยันว่าบริษัทประกันชีวิตได้มีการเตรียมพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน
เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการต่าง
ๆ เช่น การเรียกร้องสินไหมทดแทน การเรียกร้องเคลมค่ารักษาพยาบาล การชำระเบี้ยประกันภัย
และบริการอื่น ๆ ที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความสะดวกมากที่สุดภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
ซึ่งการใช้บริการขั้นต้นสามารถดำเนินการผ่านช่องทางในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในส่วนของบริษัท
สาขา ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ Call Center ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เว็บไซต์ แชตบอท เฟสบุ๊ค ไลน์ออฟฟิศเชียล รวมถึงแอพลิเคชั่นต่าง ๆ
ที่พร้อมให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจประกันชีวิตมีความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนสำหรับผู้มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพอยู่แล้ว
ขอให้มั่นใจได้ว่าจะยังคงได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ซึ่งรวมถึงไวรัสโควิด-19 ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์จากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
และให้ได้ประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่านตรวจสอบสถานะกรมธรรม์ของท่านให้ยังมีผลบังคับใช้อยู่เสมอ
และระมัดระวังคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ โดยเฉพาะจากช่องทางโซเชียลมีเดีย
และระมัดระวังในการส่งต่อข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และสร้างความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้
การแอบอ้างเพื่อหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การชำระเบี้ยประกันภัยควรได้รับใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง
ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ควรดำเนินการเองโดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
โมบายแบงก์กิ้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่าง
ๆ ได้จากบริษัทที่ท่านได้ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือที่สมาคมประกันชีวิตไทย
โทร.0 2679 8080 e-mail : tlaa@tlaa.org
Facebook : สมาคมประกันชีวิตไทย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วันที่ 5 มีนาคม – 31
มีนาคม 2563 มีผู้เอาประกันชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเรียกร้องสินไหมจำนวน 27 ราย
โดยมีจำนวนสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้น 2,244,091 บาท ทั้งนี้
แยกเป็นสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาล 1,867,641 บาท และสินไหมอื่นๆ เช่น
สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB) จำนวน
376,450 บาท จากบริษัทประกันชีวิตจำนวน 8 บริษัท ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด
(มหาชน), บริษัท ไทยซัมซุงประกันชีวิต จำกัด (มหาชน),
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน),
บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท เอไอเอ จำกัด, บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันชีวิตได้ดำเนินการจ่ายสินไหมให้กับผู้เอาประกันชีวิตเรียบร้อยแล้ว
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว
ในขณะนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของพี่น้องคนไทย เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ
การดำรงชีวิตประจำวัน และระบบสาธารณสุข ในนามนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ตัวแทนภาคธุรกิจประกันชีวิต ขอเป็นกำลังใจและขอแสดงความห่วงใยไปยังพี่น้องประชาชนทุกท่าน ขอให้ดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชน
งดออกจากที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น กินอาหารปรุงสุก แยกชุดช้อนส้อมและภาชนะส่วนตัว
สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมถึงล้างมือบ่อยๆ
ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ
ได้อยู่เสมอ และที่สำคัญอย่าลืมวางแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับตัวเองและคนที่รัก พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าเราคนไทยจะช่วยกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ สำหรับผู้เอาประกันชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่ตนเองทำไว้นั้นมีเงื่อนไขความคุ้มครองอย่างไรและมีวงเงินความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่เท่าไร
สามารถติดต่อสอบถามได้ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทประกันชีวิตที่ทำประกันไว้
หรือติดต่อสอบถามที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02 679 8080 โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล
เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันชีวิต เพื่ออำนวยความสะดวกต่อไป
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเป็นการบรรเทาและแบ่งเบาภาระของประชาชน
คือการอนุมัติสิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิม 15,000 บาทเพิ่มเป็น 25,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ยุติง่ายๆ
ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ และระบบสาธารณสุข
ยังความตื่นตัวให้กับประชาชนต่อการดูแลตนเอง โดยหลีกเลี่ยงชุมชน งดออกจากที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น
กินร้อน แยกชุดช้อนส้อมและภาชนะส่วนตัว สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมถึงล้างมือบ่อยๆ
ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และที่สำคัญ ณ
ขณะนี้ คือการบริหารค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ ทางการเงิน
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อตนเองและครอบครัว
สำหรับการประกันชีวิตและการประกันสุขภาพในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน โดยหนึ่งในมาตรการนั้นคือการส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
เช่น ประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท
ด้วยการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษี
จากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท
และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิต
และเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งมาตรการดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีกับประชาชนเพราะเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนวางแผนดูแลสุขภาพกันมากขึ้น
รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐต่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
สำหรับผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่มี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปี 2564
ทั้งนี้
ประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์
เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองกรณีที่ป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด
แต่สำหรับกรณีของคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอยากจะทำประกันสุขภาพ
อาจทำได้แต่บริษัทประกันอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้กับผู้ขอทำประกัน เช่น
บริษัทอนุมัติแต่เบี้ยประกันสูงกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว
หรือบริษัทอนุมัติแต่ขอยกเว้นเฉพาะโรคที่ผู้ขอทำประกันเป็นอยู่
ดังนั้นผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามจริงให้กับบริษัทประกัน
หากตั้งใจปกปิดหรือบริษัทประกันสืบทราบเองในภายหลังอนุมัติความคุ้มครองไปแล้ว
บริษัทประกันมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้
ไปจนถึงการยกเลิกสัญญาประกันสุขภาพฉบับนั้นด้วย ดังนั้น
ทุกครั้งก่อนทำประกันสุขภาพโปรดอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครอง
รวมถึงข้อยกเว้นต่าง ๆ ของแต่ละสัญญาให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแถลงข้อมูลตามความจริง
เพื่อให้การใช้สิทธิ์ทุกสิทธิ์ของท่านเป็นไปตามความต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
สำหรับท่านที่ตัดสินใจทำประกันสุขภาพไปแล้ว
อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินจากเบี้ยประกันสุขภาพต่อบริษัทประกันชีวิตที่ได้ซื้อประกันสุขภาพไว้ตามแบบฟอร์มที่บริษัทกำหนด
นายกสมาคมฯ กล่าวเพิ่มเติม
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทุกคนต้องให้ความร่วมมือหยุดเชื้อเพื่อชาติ
ด้วยการอยู่บ้าน อยู่ห่าง เป็นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social
distancing) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แน่นอนว่าได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตได้มีการปรับตัวโดยใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยเติมเต็มการให้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว
สามารถติดต่อได้ทุกช่วงเวลา ผ่าน online ทั้งในรูปแบบของเว็บไซต์,
ไลน์, เฟสบุ๊ค, แอพพลิเคชั่นของบริษัท รวมถึงช่องทางการชำระเบี้ยประกันภัยที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัยผ่าน
QR code, barcode เพื่อส่งเข้าบัญชีบริษัทโดยตรง
นอกจากนี้แล้วสมาคมประกันชีวิตไทยยังได้มีการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.)อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหารือแนวทางปรับปรุงให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19
ระบาด ซึ่งจากการประชุมหารือ สำนักงาน คปภ. ได้เปิดช่องให้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบพบหน้า
(Face to Face) เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
ซึ่งจะใช้เป็นการเฉพาะกิจในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดนี้ โดยออกประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการออกการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย
และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย และธนาคาร
ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 (ประกาศการขายประกันเฉพาะกิจ Digital
Face to Face) ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดย เสียง และ/หรือภาพ กับลูกค้าได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Unit – Linked) และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
ดังนั้น
เมื่อตัวแทนหรือนายหน้าเสนอการขายก็จะขออนุญาตผู้เอาประกันภัยเพื่อทำการบันทึกภาพการสนทนาและข้อความเสียงเพื่อนำส่งบริษัท
กรณีลูกค้าสนใจทำประกันภัยให้ผู้เสนอขายสอบถามข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อกรอกข้อมูลของลูกค้าในคำขอเอาประกันภัย และเอกสารประกอบการเสนอขาย และส่งให้ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เช่น แอพพลิเคชั่นที่ตกลงกับลูกค้า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
และบริษัทจะทำการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยืนยันกับลูกค้าอีกครั้ง
และเมื่อลูกค้าตกลงทำประกันภัย ให้ลูกค้าส่งข้อความยืนยัน พร้อมส่งภาพบัตรประชาชน
คำขอเอาประกันภัย และหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัท
โดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน และเมื่อบริษัทได้รับชำระเบี้ยประกันภัยแล้วจะออกเอกสารการรับเงินโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกค้าทันที
จากนั้นจะเช้าสู่กระบวนการออกหรือส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และภายใน
7 วัน บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันการทำประกันภัย (Confirmation
call) หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะยกเลิกการทำประกันภัย
ให้บริษัทคืนเบี้ยเต็มจำนวนให้ผู้เอาประกันภัยภายใน 30 วัน
นับแต่ได้รับแจ้งการยกเลิก
ดังนั้น ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด หลายๆ คนมีความกังวลและมองหาหลักประกันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทประกันชีวิตทุกแห่ง และขอให้มั่นใจได้ว่าสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ท่านซื้อกับบริษัทประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยอื่น
ๆ รวมทั้งโรคที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ทั้งนี้ ประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์
เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองกรณีที่ป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด
แต่สำหรับกรณีของคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอยากจะทำประกันสุขภาพ
อาจทำได้แต่บริษัทประกันอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้กับผู้ขอทำประกันตามเงื่อนไขและนโยบายรับประกันภัยของแต่ละบริษัท
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าจัดอบรมหลักสูตรขอรับตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
และขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ครั้งที่ 1-4 (เป็นต้นไป) ผ่านระบบออนไลน์
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2563
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้รัฐบาลได้ออกมาตรการป้องกันโรคต่าง ๆ
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
ในส่วนของสมาคมประกันชีวิตไทยก็ตอบสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยหยุดทุกกิจกรรมที่เป็นการนำคนหมู่มากมารวมตัวกัน
ทำให้ไม่สามารถให้บริการการอบรมความรู้หลักสูตรขอรับใบอนุญาตและขอต่อใบอนุญาตแก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ได้
ล่าสุดสำนักงาน
คปภ. ได้มีประกาศผ่อนปรนวิธีการอบรมหลักสูตรความรู้ต่าง ๆ โดยยินยอมให้นำรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการอบรม
(E-Learning) ได้ ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นกรณีสอบความรู้ผ่านเกณฑ์แล้วแต่ยังไม่ได้อบรม
หรือกรณีที่จะต้องทำการอบรมประจำปีเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ถึงแม้ว่าสำนักงาน คปภ. จะมีประกาศผ่อนผันแล้วก็ตาม
ในการนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยมีความพร้อมที่จะสนองนโยบายของสำนักงาน คปภ. ในการอบรมผ่านระบบ E-Learning และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการอบรมแล้ว
โดยจะรับผู้เข้าอบรมไม่เกินครั้งละ 30 คน และเริ่มอบรมหลักสูตรแรกภายในเดือนพฤษภาคมนี้แก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตที่สอบผ่านเกณฑ์ความรู้แล้วก่อนวันที่
1 เมษายน 2563 และหลังจากนั้นก็จะทยอยอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ด้วยวิธี E-Learning
ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทั้งปี สำหรับผู้สนใจสามารถสมัครได้ผ่านเว็บไซต์ www.tlaa.org ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาตัวแทนประกันชีวิต e-mail
: training@tlaa.org โทรศัพท์ 02 679 8080 ต่อ 221-222 , 240 และ
225
สมาคมประกันชีวิตไทยเปิดสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต
หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดลงทะเบียนจองคิวสมัครสอบล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์
และจำกัดจำนวนผู้เข้าสอบ เริ่มเปิดสอบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า หลังจากสมาคมประกันชีวิต-ไทยตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาตรการให้เว้นระยะห่างทางสังคม โดยหยุดทุกกิจกรรมที่เป็นการนำคนหมู่มากมารวมตัวกัน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเปิดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายของภาครัฐที่ออกมา สมาคมประกันชีวิตไทยซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรุงเทพมหานครที่เข้ามาตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ จึงได้เริ่มดำเนินการเปิดสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต โดยผู้ที่มีความประสงค์จะสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตต้องทำการลงทะเบียนจองคิวสมัครสอบล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ www.tlaa.org ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนได้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจำกัดจำนวนผู้สมัครสอบ และขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าสอบให้กับผู้ที่ทำการลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ สมาคมจะไม่รับสมัครสอบแบบ Walk in ในทุกกรณี เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐ
โดยมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ที่มาเข้าสอบ ดังนี้
1. ให้ผู้มาเข้าสอบติดต่อตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
ณ จุดคัดกรองชั้น G พร้อมลงทะเบียนก่อนเข้าอาคารสมาคม
2. ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า
37.4 องศาเซลเซียส เข้าภายในอาคารทุกกรณี และแนะนำให้ไปพบแพทย์
4. ไม่อนุญาตให้ผู้ติดตามหรือผู้ที่ประสงค์สอบ
ที่ไม่ได้จองคิวล่วงหน้าเข้าอาคารสมาคมทุกกรณี
5. ให้ผู้มาเข้าสอบจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
หากไม่มีหน้ากากอนามัย หรือไม่สวมหน้ากากอนามัยจะไม่อนุญาตให้เข้าภายในอาคารสมาคม
6. ให้ผู้มาเข้าสอบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
หรือล้างมือด้วยสบู่ตามที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
7. ให้ผู้มาเข้าสอบสามารถอยู่ภายในอาคารสมาคม ได้ไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง ตามมาตรการป้องกันของทางราชการ
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายส่งเสริมตัวแทนประกันชีวิต e-mail : agent@tlaa.org
โทรศัพท์ 02-6798080 ต่อ 223 -226
ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตหลังโควิด-19 ระบาด
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงมุมมองและทิศทางของธุรกิจประกันชีวิตหลังโควิด-19
ระบาดว่า ธุรกิจประกันชีวิตประสบกับความท้าทายครั้งใหญ่มาโดยตลอด ซึ่งปัจจัยหลักคงหนีไม่พ้นเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ดอกเบี้ยลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลง ตามติดมาด้วยวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 63 (มกราคม-
เมษายน 2563) ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวมจำนวน
189,380.48 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -1.24
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่ (New Business Premium) จำนวน 50,942.06
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69
ประกอบด้วย เบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก (First Year Premium) จำนวน 33,217.30 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 เบี้ยประกันชีวิตรับจ่ายครั้งเดียว (Single
Premium) จำนวน 17,724.76 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -7.30 และเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่ออายุ (Renewal
Premium) จำนวน 138,438.42 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -2.27 และมีอัตราความคงอยู่ 80 ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในปี
2563 จะลดลง - 2% ถึง -5% ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม
598,695.82 – 580,368.40 ล้านบาท
ซึ่งสอดรับกับจีดีพีของประเทศที่ปรับลดลงเหลือ -5.3% เช่นกัน
ทั้งนี้ จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
ธุรกิจประกันชีวิตได้ทยอยปรับตัวเป็น Digital Insurer มากขึ้น มีการลงทุนในเทคโนโลยีด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก
เพื่อนำดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการทำงานในทุกช่องทาง โดยมีวิกฤตโควิด-19
เป็นตัวเร่งพฤติกรรมวิถีใหม่ หรือ New Normal หลายคนต้องยอมรับดิจิทัลและการออนไลน์โดยปริยาย
พนักงานประจำบางส่วนสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มรูปแบบเสมือนทำงานที่บริษัท
มีการติดตามงาน ประชุมผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ เครือข่ายดิจิทัลรวมถึงยังคงให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องผ่านลูกค้าสัมพันธ์
Call Center ผ่านช่องทางดิจิทัลในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง
ๆ ลูกค้าสามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านแอพพลิเคชั่น
ติดต่อบริษัทได้โดยตรงอย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งการปรับตัวครั้งนี้ไม่เว้นแม้กระทั่งช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ในการออกประกาศการขายประกันเฉพาะกิจ Digital Face to Face ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดย
เสียง และ/หรือภาพ กับลูกค้าได้ ดังนั้นตัวแทนในวันนี้
จึงสามารถขายผ่านการใช้โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นไลน์ หรือการประชุมผ่านจอภาพกับลูกค้าแล้วขออนุญาตลูกค้าในการบันทึกภาพและเสียงเพื่อส่งให้บริษัท
จากนั้นบริษัทจะทำการโทรศัพท์ขอคำยืนยันการทำประกันชีวิตกับลูกค้าร่วมด้วย
ส่วนการปรับตัวด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น
ธุรกิจได้ทยอยปรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง
มีการการันตีผลตอบแทนออกจากตลาด เหตุปัจจัยเสี่ยงจากภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจหาผลตอบแทนให้ลูกค้าได้ยากขึ้น
แนวโน้มผลิตภัณฑ์นับจากนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ควบการลงทุน Universal Life ,
Unit Linked , หรือ Participating Policy โดยเน้นการลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้
รวมถึงผลักดันผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองประเภทประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุซึ่งเบี้ยประกันภัยไม่แพง
และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสวิกฤติโควิด-19
ส่งผลให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญกับการประกันสุขภาพมากขึ้น นับเป็นข้อดีของการวางแผนสุขภาพก่อนการเจ็บป่วย
ธุรกิจจึงได้มีการปรับผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้หลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตจากการโรคไวรัสโควิด-19
นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับสถิติที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด เช่น โรคมะเร็งที่เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ
215 คน หรือ 78,540 คนต่อปี โรคหัวใจที่เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57 คน และเสียชีวิต 20,746 คนต่อปี หรือโรคร้ายอื่น ๆ สำหรับประชาชนที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้วขอให้ตรวจสอบว่ากรมธรรม์นั้นยังไม่ขาดผลบังคับเพื่อความมั่นใจว่ากรมธรรม์เดิมของท่านจะยังคงได้รับความคุ้มครองทั้งโควิด-19
และโรคอื่น ๆ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ นายกสมาคมฯ กล่าวในตอนท้าย
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าส่งเสริมบุคลากรรุ่นใหม่สู่ธุรกิจประกันชีวิต
ด้วยการมอบทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา ประจำปี 2562
ให้กับนักศึกษาสาขาการประกันภัย รวม 64 รางวัล จาก 13 สถาบัน ด้วยงบประมาณกว่า 500,000 บาท
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
หนึ่งในพันธกิจของสมาคมประกันชีวิตไทยคือการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในธุรกิจ
ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาประกันภัย
รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น
โครงการฝึกงาน โครงการศึกษาดูงาน เป็นต้น พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี สอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาดังกล่าว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องถึง
45 ปี
ซึ่งในปีนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยให้การสนับสนุนมอบทุนการศึกษา
และรางวัลการศึกษาประจำปีการศึกษา 2562 ด้วยงบประมาณกว่า 500,000 บาท รวม 64 รางวัล จาก 13
สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาการประกันภัย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะบริหารธุรกิจ), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งเป็น ทุนการศึกษา ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 24 ทุน
รางวัลการศึกษา รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 10 รางวัล รางวัล ASA
- Course I (Exam P–Probability) รางวัลละ 7,000
บาท จำนวน 16 รางวัล และรางวัล ASA - Course II (Exam FM–Financial
Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน 14
รางวัล ซึ่งพิธีมอบทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562
จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
ดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ให้เกียรติเป็นประธาน “มอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ประจำปี 2563”
(37th Thailand National Quality
Awards หรือTNQA 37th ) จัดโดย สมาคมประกันชีวิตไทย
เพื่อขอบคุณและเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่ผลิตผลงานได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และมีการบริการที่เป็นเลิศ
สามารถรักษาอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ไว้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
มีความภักดีต่อบริษัทต้นสังกัด ซึ่งในปีนี้มีตัวแทนที่ผ่านเกณฑ์การรับรางวัลทั้งสิ้น
2,190 ราย โดยมี นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด
สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานจัดงาน ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 ณ ห้อง เวิลด์ บอลรูม โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์
และ บางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย รับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อดีตนายกฯ เนื่องในโอกาสที่ นายสาระ ได้รับความไว้วางใจเป็นสมัยที่
5 จากคณะกรรมการสมาคมเป็นเอกฉันท์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ประจำปีบริหาร 1 กรกฎาคม 2563 – 30 มิถุนายน 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 เมื่อวันที่
31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา โดยคณะกรรมการชุดใหม่พร้อมผลักดันและสานต่อให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงต่อไป
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า 6 เดือนแรกปี 2563
(มกราคม – มิถุนายน) ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
285,942.47ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 3.27 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ จำนวน 76,196.28 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ
9.29 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน 209,746.19 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ
0.88 และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 81
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
(1) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 49,559.58 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.77
(2) เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 26,636.70
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 24.55
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ
1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 142,246.06 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 49.75
หรือเติบโตลดลงร้อยละ
1.10 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 116,580.46 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 40.77
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 7.35 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
3 การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 13,446.58
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 4.70
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
4 การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ จำนวน 6,942.73
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.43
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
5 การขายผ่านช่องทางดิจิทัล 328.57 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 0.11
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.01 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
6 การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ จำนวน 23.26
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 0.01
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 8.89
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
7 การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ 6,374.79 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 2.23
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตที่ลดลงในช่วงครึ่งแรก
ปี 2563 เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ที่ทำให้เกิดมาตรการป้องกันระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง
ๆ ทำให้ขาดสภาพคล่อง หลายธุรกิจปิดตัวลงมีคนจำนวนมากว่างงาน สูญเสียรายได้ ผู้บริโภคต้องปรับตัวโดยการประหยัดรายจ่ายส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นเดียวกับธุรกิจประกันชีวิต
โดยเฉพาะช่องทางตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ไม่สามารถออกไปเสนอขายด้วยวิธี
face
to face ได้ ซึ่งทางสมาคมได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการเสนอแนวทางการเสนอขายแบบ Digital face
to face ที่ให้ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เสียงและภาพให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า
ในระหว่างสถานการณ์จำเป็น และได้รับความยินยอมจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง
ภาวะความกดดันจากเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน IFRS
17 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการเผชิญกับอัตราความเสียหายจากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย (Fraud
& Abuse) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกทั้งสิ้น
ปัจจัยที่สองมาจากภาคธุรกิจ
ที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารช่องทางการขายและการบริการให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบัน
เช่น การพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบ Digital และการบริหารผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง
ๆ อีกทั้งยังมุ่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลาย ให้สามารถตอบสนองความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่เน้นการให้ความคุ้มครอง รวมถึงพัฒนาสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการประกันภัย จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา
ส่งเสริม และยกระดับมาตรฐานระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยสุขภาพแห่งชาติ
ณ ห้อง เลอ โลตัส ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2563 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อวันที่
18 สิงหาคม 2563
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่ามาจากสมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของ 23 บริษัทประกันชีวิต โทรศัพท์ติดต่อมายังผู้เอาประกันภัยเพื่อสอบถามข้อมูลการถือครองกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมทำการนัดหมายเพื่อขอตรวจสอบกรมธรรม์ดังกล่าว ซึ่งหากพบว่ากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีการชำระเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้กรมธรรม์นั้นมีมูลค่าเงินสดก็จะแนะนำให้หยุดส่งเบี้ยประกันภัย ปิดกรมธรรม์โดยการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับเงินสดตามมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ แล้วนำเงินสดส่วนนั้นมาเปิดกรมธรรม์ฉบับใหม่กับบริษัทประกันชีวิตแห่งใหม่ผ่านตนเองซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองสังกัดอยู่ โดยให้เหตุผลว่ากรมธรรม์ฉบับใหม่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากว่ากับผู้เอาประกันภัย
นอกจากนี้ บางรายยังมีพฤติกรรมอาสาช่วยจัดการ
ทั้งในรูปแบบการใช้สิทธิต่างๆ รวมถึงการเบิกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์
โดยให้ผู้เอาประกันภัย และ/หรือผู้รับประโยชน์เซ็นหนังสือมอบอำนาจให้ไปดำเนินการแทนได้
เมื่อได้รับเงินมาแล้วจะมีการคิดค่าธรรมเนียม หรือขอรับเงินส่วนแบ่งในการดำเนินการ
ซึ่งการใช้สิทธิต่างๆ หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นั้น ผู้เอาประกันภัย
และ/หรือผู้รับประโยชน์สามารถติดต่อยังบริษัทที่รับประกันภัยได้โดยตรง
ผ่านช่องทางอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น ออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทพร้อมอำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ต่อกรณีดังกล่าว สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอยืนยันว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมาคมประกันชีวิตไทย
และสมาคมฯ ไม่มีนโยบายให้บุคคลใดกระทำการดังกล่าว พร้อมทั้งขอแนะนำผู้เอาประกันภัย
ไม่ควรหลงเชื่อและกระทำตาม โดยในกรณีของการเวนคืนกรมธรรม์นั้น จำนวนเงินที่ได้รับจากการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญานั้นจะน้อยกว่าจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายไป
และการทำกรมธรรม์ ฉบับใหม่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยก็จะสูงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทประกันชีวิตแห่งใหม่ก็อาจปฏิเสธคำขอเอาประกันภัย
ไม่รับประกันภัย หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้นอีก ความคุ้มครองรวมถึงกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองทันที สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง
(Waiting Period)
รวมถึงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงไป โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ทำประกันชีวิตกรมธรรม์เดิมแต่เป็นระยะเวลาก่อนทำประกันชีวิตฉบับใหม่อาจจะไม่ได้รับความคุมครองตามสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ
รวมถึงสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ที่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง
100,000 บาท
แต่ถ้ามีการยกเลิกหรือเวนคืนประกันชีวิตก่อนครบสัญญาอาจเสียสิทธิทางภาษี กรมสรรพากรอาจเรียกคืนสิทธิลดหย่อนภาษีพร้อมเบี้ยปรับได้
นอกจากนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับเก่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบสะสมทรัพย์
อาจมีการันตีผลตอบแทนหรือ มีเงินผลประโยชน์จ่ายคืนระหว่างสัญญามากกว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จึงไม่ควรให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา
เพราะท่านอาจจะหาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าไม่ได้อีกแล้วในยุคอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นปัจจุบัน
หากมีข้อสงสัย สามารถตรวจสอบกับบริษัทประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทยเบอร์โทรศัพท์
02-679-8080 e-mail :
tlaa@tlaa.org หรือhttp://www.tlaa.org
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมให้ความรู้และข้อเสนอแนะเรื่อง “พ.ร.บ.
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ในการอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
ประจำปี 2563 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึก
เชิงวิชาการให้แก่วิทยากรของหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. ให้เป็นหน่วยงานจัดอบรมหลักสูตรขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
และจัดทำสื่อการสอน ให้เป็นมาตรฐานกลางในการนำไปถ่ายทอดกับตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน ณ ห้องชาลอน บี ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 24
- 25 สิงหาคม 2563
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย
จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อให้สำนักงาน
คปภ. และบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับสามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประกันภัยไทยได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
ณ ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทยชุดใหม่เข้าพบ นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ณ ห้องประชุมชั้น 3 กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่
08 กันยายน 2563
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2563 (ครั้งที่ 1) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม โดยลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนบ้านวังกะ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563
สมาคมประกันชีวิตไทยจับมือสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
จัดประชุมเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เพื่อสร้างความเข้าใจตลอดจนหาแนวทางปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่
1 มิถุนายน 2564 โดยมีนายบัณฑิต เจียมอนุกุลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร
เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายปานวัฒน์ กูรมาภิรักษ์
กรรมการสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ณ
ห้องประชุม 701 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลนายกสมาคมการค้าดีเด่น
ประจำปี 2563 ให้แก่ นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ปีบริหาร 2561-2563 ในงาน
“Together is Power 2020” จัดโดย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นการการันตรีความสามารถในการเป็นผู้นำ
บริหารงานสมาคมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์ โปร่งใส
พร้อมทั้งมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
ณ ห้องเวิลด์ บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม
ประจำปี 2563 ให้แก่ นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ในงาน “Together is Power 2020” จัดโดย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลัก
Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ คือ 1) ผลสำเร็จตามพันธกิจ
2) ความสามารถในการบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) การพัฒนาองค์กร ทั้งนี้
สมาคมฯ ได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นสมัยที่ 4 หลังจากได้รับมาแล้วเมื่อปี 2558 ,
2560 , 2562
นับเป็นความภาคภูมิใจของสมาคมประกันชีวิตไทยต่อการมุ่งมั่นพัฒนาองค์กร
จนได้รับการยอมรับให้เป็นองค์กรกลางของภาคธุรกิจที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศตามมาตรฐานสากล
สามารถประสานงานกับภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้บริษัทสมาชิก และธุรกิจประกันชีวิตเติบโตได้อย่างแข็งแรง
และยั่งยืนต่อไป ณ ห้องเวิลด์ บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา สบน. ครบรอบ 18 ปี พร้อมร่วมสมทบเงินเข้ากองทุนสวัสดิการ
สบน. เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563
นายกิตติ ปิณฑวิรุจน์
เลขาธิการ สมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน
สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลกระทบจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562 ของภาคธุรกิจประกันชีวิต ในการปฏิรูปสิทธิมนุษยชนเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ณ ชั้น 2 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563
สมาคมประกันชีวิตไทย
ขอแสดงความยินดีกับบริษัทสมาชิกที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime
Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2563 โดยได้รับเกียรติจาก นายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร
ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 6 บริษัท
จาก 6 รางวัลเกียรติยศ ประกอบด้วย
1. รางวัลเกียรติยศบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2562
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2562 อันดับ 1
บริษัท ไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
3.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2562 อันดับ 2
บริษัท เอไอเอ จำกัด
4.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2562 อันดับ 3
บริษัท
กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
5.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2562
บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท
พรูเด็นเชียลประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
6.
รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี
2562
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่
15 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมประกันชีวิตไทยเนื่องในงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards)
ประจำปี 2563 โดยมี นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยกรรมการบริหารสมาคมฯ ให้การต้อนรับ ซึ่งภายในบูธได้นำเสนอบอร์ดนิทรรศการและวีดิทัศน์ให้ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยง
“บำนาญสร้างได้ด้วยตัวเอง” และ ลดภาระค่าใช้จ่ายในยามที่เจ็บป่วยด้วย “ประกันสุขภาพ”
ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2563 (ครั้งที่ 3) ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมแนะนำการใช้ประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับตนเองและครอบครัว
โดยลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนนาอ้อ ณ เทศบาลนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย
จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563
สมาคมประกันชีวิตไทยเปิดศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อใช้ต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้แนะนำการลงทุน
นักวิเคราะห์การลงทุน และผู้วางแผนการลงทุน ประเภทอบรมทั่วไป (Public
Training) ประเดิมเปิดอบรมอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 – 3 ธันวาคม
2563 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ในปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับทุกช่วงชีวิตและความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตแล้ว
ธุรกิจประกันชีวิตยังได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน เช่น ยูนิตลิงค์
ซึ่งกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิตที่มีผลประโยชน์คืนแน่นอนเมื่อเสียชีวิตหรือมีการทรงชีพครบตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิต
พร้อมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในหน่วยของกองทุนรวม กรมธรรม์แบบนี้จึงเป็นเครื่องมือทางการเงินที่แตกต่างจากกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอื่น
ๆ
ซึ่งผู้ที่เสนอขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งเรื่องของการประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
โดยต้องได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) และใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้
ตราสารทุน (IC License) จากสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต) ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับ IC License จะต้องมีการพัฒนาและทบทวนความรู้
สำหรับผู้ปฏิบัติงานใน
สายงานที่ปรึกษาทางการเงิน (Refresher Course) ทุก ๆ 2 ปี
นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบ
สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตได้ให้บริการฝึกอบรม
ความรู้แก่ตัวแทนประกันชีวิต จึงได้ยืนเรื่องขออนุมัติไปยังสำนักงาน ก.ล.ต ในการขอเปิดศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อใช้ต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้แนะนำการลงทุน
นักวิเคราะห์การลงทุน และผู้วางแผนการลงทุน ประเภทอบรมทั่วไป (Public
Training) ซึ่งขณะนี้สมาคมประกันชีวิตไทยได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน
ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ตัวแทนประกันชีวิตที่มีทั้งใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตและใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน
(IC) ได้เข้ามาใช้บริการ
สำหรับรูปแบบการอบรมเพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน
(Refresher
Course) จะเป็นการบรรยายวิชาการจากวิทยากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการลงทุน
พร้อมยกกรณีศึกษา โดยจะใช้ระยะเวลาในการอบรม 15 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 วัน 4
หลักสูตร ได้แก่ ความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน , จรรยาบรรณและกฎระเบียบ , การจัดสรรสินทรัพย์
(Asset Allocation) , ความรู้ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะเริ่มอบรมครั้งแรกในวันที่
2 – 3 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
ค่าสมัคร 4,500 บาท/คน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยจำกัดผู้เข้าอบรม 50 คน
เพื่อเว้นระยะห่างตามมาตรการของภาครัฐในการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ที่ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาตัวแทนประกันชีวิต สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทร 02-679-8080
ต่อ 221, 222 , 240
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย จัดโครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง “กระบวนวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคของศาลยุติธรรมและกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน
คปภ.” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภชัย ประไพนพ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดจันทบุรี
, นางสาวธริษตรี จันทร์เพ็ง ผู้เชี่ยวชาญ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มอนุญาโตตุลาการ
และนางสาวศิริกานดา กำลังประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มอนุญาโตตุลาการ
กลุ่มงานระงับข้อพิพาท สำนักงาน คปภ. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคต ให้กับบุคลากรของบริษัทสมาชิกที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีนายสหพล สังข์เมฆ กรรมการบริหารและกรรมการประจำคณะอนุกรรมการกฎหมาย เป็นประธานกล่าวต้อนรับ
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย มอบกระเช้าดอกไม้แก่นายอานนท์ วังวสุ
นายกสมคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 53 ปี
ของการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ณ สมาคมประกันวินาศภัยไทย
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย มอบกระเช้าดอกไม้แก่นายอานนท์
วังวสุ นายกสมคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 53 ปี
ของการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ณ สมาคมประกันวินาศภัยไทย
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา จัดสัมมนาวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นทางการแพทย์ เรื่อง
“4 โรค 4 หัตถการ ภาคปฏิบัติเพื่อการพิจารณาสินไหม” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นายแพทย์ สมสกุล ศรีพิสุทธิ์ รองประธานคณะแพทย์ที่ปรึกษา บรรยายพิเศษเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาความจำเป็นทางการแพทย์สำหรับโรคและหัตถการที่พบบ่อย
พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการแพทย์ในหัวข้อดังกล่าว ให้แก่บุคลากรคณะแพทย์ที่ปรึกษา
ฝ่ายพิจารณาสินไหมประกันชีวิตและพิจารณารับประกันภัยกลุ่ม ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการพิจารณารับประกันภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2563 (ครั้งที่ 4) ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมแนะนำการใช้ประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับตนเองและครอบครัว
โดยลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนบ้านวังหอน ณ ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่
17 พฤศจิกายน 2563
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมทำความเข้าใจและ รับฟังความคิดเห็นในโครงการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายอนุบัญญัติ (Regulatory
Guillotine) ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการตรวจสอบเนื้อหา
(Regulation Impact
Assessment : RIA) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายระดับอนุบัญญัติ
(Regulatory Guillotine) ณ ห้องประชุมเลอ
คองคอร์ด บอลลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมเป็นเกียรติในการประชุมชี้แจงแบบสอบถามโครงการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่
17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อสำรวจความพร้อมและผลกระทบของบริษัทประกันภัยต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว
เพื่อให้ทางสำนักงาน คปภ. สามารถมีข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการออกนโยบายต่าง
ๆ รวมถึงการจัดทำแนวทางและมาตรการเตรียมความพร้อม ตลอดจนเป็นข้อมูลประกอบการหารือร่วมกับสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อไป ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท
เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่
24 พฤศจิกายน 2563
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทยและอุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย
เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและสนับสนุนการจัดงานสัมมนาประจำปี
“THAIFA Convention 2020” จัดโดยสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ซึ่งงานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตทั่วประเทศได้พัฒนาความรู้และประสิทธิภาพในการทำงาน
รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจและแนวทางในการทำงาน จากวิทยากรชั้นนำทั้งในอุตสาหกรรมและนอกอุตสาหกรรมประกันชีวิต
ณ เวสต์เกต ฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา
เวสต์เกต จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดอาคารศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย
(Center of InsurTech, Thailand (CIT)) เพื่อแนะนำพื้นที่ให้บริการของศูนย์
CIT พร้อมทั้งแนะนำบทบาท ภารกิจ และบริการต่าง ๆ ของศูนย์ CIT
ให้แก่นักพัฒนาเทคโนโลด้านการประกันภัย (InsurTech Startup) บุคลากรในวงการประกันภัย
บุคลากรในบริษัทด้านเทคโนโลยี (Tech Firm) นิสิต/นักศึกษา
และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (ศูนย์ CIT) ซอย วิภาวดีรังสิต 44 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่
10 บาท นิวนอร์มอลพลัส (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ ปี 2564” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต จำนวน 10 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท
กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย)
จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) , บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ
จำกัด และบริษัทประกันวินาศภัยอีก 15 บริษัท เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่
โดยจัดจำหน่ายผ่านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ Counter
service , Black
canyon , AIS , Shopee , Rabbit เป็นต้น ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2564 สำหรับผู้ที่มีอายุ
20 – 70 ปีบริบูรณ์ และ มีระยะเวลาความคุ้มครอง 30 วัน นับจากวันที่ทำประกันภัย ณ ห้องประชุม Auditorium C ASEAN อาคารไซเบอร์เวิลด์ ชั้น 10 ถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่
8 ธันวาคม 2563
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “Portfolio Hedging with Futures
Contracts” เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจให้กับภาคธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกประกาศ
เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนรวมทั้งหลังเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวนเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย
(ฉบับที่3) พ.ศ.2563 ซึ่งได้แก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคำนวนผลการกระจายความเสี่ยงระหว่างความเสี่ยงด้านสินทรัพย์และความเสี่ยงด้านประกันภัยและหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขคำนวนเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งได้รับเกียรติจาก
นายชาญศักดิ์ ปิติสิริกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานเงินกองทุนและความมั่นคงทางการเงิน
, นางสาวศุภสุตา ชุติมาวงศ์ ผู้ชำนาญงานอาวุโส
กลุ่มมาตรฐานเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง สำนักงาน คปภ. , ดร.สุธี โมกขะเวส ,
ดร.ภานนท์ ภู่วรวงศ์ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคต ให้กับบุคลากรของบริษัทสมาชิกที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
นายทำนุ อมาตยกุล ประธานอนุกรรมการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการตลาด
และ นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล OIC InsurTech Awards ประจำปี 2563 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเปิดมุมมองใหม่ๆ
ให้กับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาค Tech Startup ให้นำเทคโนโลยีมาต่อยอดเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
และให้บริการ ตลอดจนช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคด้านการประกันภัย ณ สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าว เปิดตัว
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2564” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต-ประกันภัย ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม ปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ ปี 2564 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากชีวิตและทรัพย์สิน
พร้อมสร้างความตระหนักในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ณ สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 100,000 บาท แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยมีนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการเป็นผู้รับมอบ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) ในจังหวัดสมุทรสาคร ณ สถาบันวิทยาการประกันภัย
ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 300,000 บาท แก่นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย 12 หน่วยงาน สนับสนุนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มอาสาดับไฟป่าเพื่อชาติ ให้แก่ประชาชนและอาสาสมัครดับไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35,000 คน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ
ตลอดจนเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติการดับไฟป่าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
เป็นผู้รับมอบกรมธรรม์ดังกล่าว ผ่านระบบ Video Conference ณ สถาบันวิทยาการประกันภัย ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 11 มกราคม
2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมออกบูธนิทรรศการให้ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยง “บำนาญสร้างได้ด้วยตัวเอง”
และ ลดภาระค่าใช้จ่ายในยามที่เจ็บป่วยด้วย “ประกันสุขภาพ”
แก่สมาชิกวุฒิสภา ในโอกาสที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยร่วมประชุมชี้แจงและนำเสนอรายงานการศึกษา
เรื่อง บทบาทและทิศทางการประกันภัยและนัยเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อที่ประชุมวุฒิสภา
โดยมีนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วยนายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นผู้ให้บริการตอบข้อซักถาม ณ โถงห้องประชุมวุฒิสภา
ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 มกราคม
2564
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สำหรับเทศกาลตรุษจีน ปี 2564 นี้ พี่น้องประชาชนเชื้อสายจีนคงต้องมีการปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมบางอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ที่ทุกคนต่างกำลังเผชิญอยู่ กิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การรวมตัวกันเพื่อกราบไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
รวมถึงการจับจ่ายซื้อของมาเซ่นไหว้ ล้วนต้องทำด้วยความระมัดระวัง เว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่บางครอบครัวก็เลือกที่จะใช้บริการจับจ่ายเครื่องเซ่นไหว้ผ่านช่องทางออนไลน์หรือโทรสั่งซื้อให้ผู้ประกอบการจัดส่งมาที่บ้านแทนการออกไปซื้อด้วยตัวเอง
พร้อมทั้งเลือกที่จะประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ในที่พักของตนเอง
ส่วนการมอบอั่งเปาถือเป็นกิจกรรมที่ลูกหลานตั้งตารอคอย
และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองบางท่านที่ได้รับอั่งเปานับเป็นโชค และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เก็บออม
สะสมเงินก้อนเล็กให้เป็นเงินก้อนโตในวันหน้า หรือนำมาต่อยอดให้งอกเงยด้วยการลงทุน
การซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์หรือยูนิตลิงก์ถือเป็นการลงทุนที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์
ที่มาพร้อมกับการวางแผนความเสี่ยงทางการเงินไปในตัว นับเป็นการต่อยอดอนาคตที่มั่นคง
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตใน ปี 2563
เติบโตอยู่ในช่วงชะลอตัว หลักๆ
มาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ
โดยผลงานภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตระหว่าง มกราคม - ธันวาคม 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่
600,206.48 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 1.75 เมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับรวมต่อจำนวนประชากร
(Insurance Density) อยู่ที่ 8,701.16 บาท ในขณะที่อัตราเบี้ยประกันภัยรับรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
GDP (Insurance Penetration Rate) อยู่ที่ร้อยละ 3.82 แบ่งผลงานเบี้ยประกันภัยเป็น
เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 158,238.69 ล้านบาท
อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 11.34 ซึ่งประกอบด้วย เบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก 101,771.12 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 6.41 และเบี้ยประกันชีวิตจ่ายครั้งเดียว 56,467.57 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 19.04 และแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 441,996.78 ล้านบาท ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21 ด้วยอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
82
ทั้งนี้เมื่อเทียบอัตราการเติบโตของจีดีพี (GDP) ของประเทศพบว่า
ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตสูงกว่า
อัตราการเติบโตของจีดีพีที่เติบโตลดลงร้อยละ 6 ส่วนหนึ่งมาจาก นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ได้ผ่อนคลายระเบียบ และ กฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
เช่น การเสนอขายแบบ Digital Face to Face ที่อำนวยความสะดวกและปรับกระบวนการขายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และ การอนุโลมการอบรมต่ออายุใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมาจากการที่คนไทยตระหนักและหันมาใส่ใจวางแผนเรื่องสุขภาพมากขึ้น
อันเนื่องมาจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ
และเบี้ยประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันโรคร้ายแรง เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
6.10 และ ร้อยละ 13.59 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2562
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายในธุรกิจประกันชีวิตพบว่า ช่องทางตัวแทนประกันชีวิต
(Agency) ยังคงเป็นช่องทางการขายที่มีสัดส่วนการขายเทียบรวมทุกช่องทางทั้งหมด
โดยช่องทางตัวแทนประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 320,348.61 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ
53.37 มีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.42 รองลงมาคือช่องทางการขายประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
231,569.28 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.58 แต่มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ
5.83 ในขณะที่ช่องทางอื่นๆ เช่น ช่องทางโทรศัพท์ ช่องทางดิจิทัล และ
ช่องทางไปรษณีย์ มีอัตราส่วนต่อเบี้ยประกันภัยรับรวมเพียงร้อยละ 8.05
สำหรับปี 2564
สมาคมประกันชีวิตไทยคาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงเผชิญกับปัจจัยท้าทายรอบด้าน
อาทิ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ภาวะการว่างงาน
หนี้สินภาคครัวเรือน สังคมสูงอายุ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ IFRS
17 พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล การฉ้อฉลในธุรกิจ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการประกันภัย
(Insurance Bureau System) และการจัดทำกรมธรรม์ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ สมาคมประกันชีวิตไทยจึงคาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตประจำปี
2564 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ระหว่าง 590,000 – 610,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตร้อยละ
– 1 ถึง +1 และมีอัตราความคงอยู่ประมาณร้อยละ 81 - 82 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทาง
ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
(GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 – 3.5
ประกอบกับเรื่องการเข้าถึงวัคซีนของประเทศไทยที่คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยและจะเริ่มฉีดให้กับประชาชนได้ในในปี
2564 นี้ รวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจาก มาตรการของทางภาครัฐและทาง คปภ. ออกมาช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง
อาทิ การเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้อประกันสุขภาพเป็น 25,000 บาทต่อปี
และมาตรการผ่อนคลายกฎเกณฑ์หรือประกาศต่างๆ ได้แก่ การผ่อนปรนการชำระเบี้ยประกันภัย
การขยายระยะเวลาการผ่อนผันเงื่อนไขกรมธรรม์ฯและอัตราเบี้ยประกันภัย การแก้ไขหลักเกณฑ์
วิธีการออกการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การดำเนินการรวมถึงหน้าที่การปฏิบัติของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย
ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) (Digital Face to Face)
ตลอดจนการผ่อนคลายประกาศการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต/บริษัทประกันวินาศภัย
(ฉบับที่ 5) นอกจากนี้ยังมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มตระหนักถึงการวางแผนประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น
และมีการพึ่งพิงเทคโนโลยีสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ส่วนแนวโน้มด้านผลิตภัณฑ์แบบประกันชีวิตและช่องทางการขายในปี 2564
แต่ละบริษัทประกันชีวิตได้ ทยอยปรับลดการขายผลิตภัณฑ์ประเภทออมทรัพย์ที่มีการันตีผลตอบแทน
เนื่องจากสถานการณ์ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และหันมาเน้นการขายผลิตภัณฑ์แบบประกันชีวิตควบการลงทุน
Universal Life, Unit
Linked, Participating policy ที่เน้นการลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้
รวมถึงหันมาเน้นการขายผลิตภัณฑ์แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว เช่น
แบบประกันตลอดชีพ (Whole Life)
แบบประกันบำนาญที่ช่วยวางแผนเรื่องเกษียณ (Annuity) เป็นต้น
และหันมาเน้นมาการขายแบบประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาช่องทางการขายให้มีความหลากหลายตรงกับพฤติกรรมและความต้องการของประชาชนมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางการขายทางดิจิทัล (Digital) หรือช่องทางออนไลน์ และพัฒนารูปแบบการให้บริการให้มีความทันสมัย สะดวกสบาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มมากขึ้น
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบบริการสินไหมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Claim) จัดการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาระบบการเรียกร้องสินไหมอิเล็กทรอนิกส์
(E-Claim) ระหว่างบริษัทประกันชีวิตและโรงพยาบาลคู่สัญญา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านสินไหมประกันสุขภาพ
ทั้ง OPD-Claim และ IPD-Claim จากระบบ Fax
Claim เป็นระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการบริการที่สะดวก
รวดเร็ว รวมถึงเป็นการป้องกันการทุจริต การฉ้อฉลด้านประกันภัย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือระหว่างบริษัทประกันชีวิตและโรงพยาบาลคู่สัญญาต่อไป
ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดการประชุมระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบริษัทสมาชิกต่อร่างกฎหมายลำดับรองกลุ่มที่
1 โครงการศึกษาและเตรียมการเพื่อจัดทำร่างกฎหมายลำดับรอง ภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ.2562 จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่
- ร่างประกาศ
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- ร่างประกาศ
เรื่องการแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- ร่างประกาศ
เรื่องมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26 (sensitive
data)
- ร่างประกาศ
เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศ
- ร่างประกาศ
เรื่องการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมประมวลผล การจัดมาตรการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิในการเข้าถึงของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- ร่างประกาศ
เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- ร่างประกาศ เรื่อง
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
- ร่างประกาศ เรื่อง
กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และการบังคับทางปกครอง
เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับ
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยจะนำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวของภาคธุรกิจประกันชีวิตให้กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(สคส.) ต่อไป ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 22
กุมภาพันธ์ 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
ผสานความร่วมมือผ่านทาง นางกาญจนา ศรีคราม ผู้อำนวยการภาคอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ภาค 1(เชียงใหม่) (ที่ 2 จากซ้าย) มอบเงินช่วยเหลือจำนวน 25,000 บาท ให้กับครอบครัวเด็กหญิงณัฐวลัญช์
อนุสรณ์พนา อายุ 13 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่แฮ
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในชาวบ้านจิตอาสาที่เสียชีวิตจากการวูบหมดสติขณะทำหน้าที่จิตอาสาช่วยทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่าที่จะลุกลามมายังหมู่บ้านและชุมชนเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งการมอบเงินช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการแบ่งเบาภาระ
ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจแก่ครอบครัวของเด็กหญิงณัฐวลัญช์ อนุสรณ์พนา เนื่องจากเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อส่วนรวมและเสียชีวิตขณะทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันภัย-ชีวิต
(Insurance
Bureau System - Life) ให้กับบริษัทประกันชีวิตได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ
IBS - Life โดยมีว่าที่ร้อยตรีเอกลักษณ์ จันทร์ชิดฟ้า
พร้อมทีมวิทยากร จากบริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด บรรยายให้ความรู้และสร้างความเข้าใจถึงการทำงานของระบบ IBS - Life ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ประธานกล่าวเปิดการสัมมนาให้ความรู้สื่อมวลชน
เรื่อง “ภาพรวมมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีผลกระทบกับธุรกิจประกันชีวิตในอนาคต (IFRS 17 : สัญญาประกันภัย) จัดโดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์
สมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณธานี ทรงธนเจริญกิจ ประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี
และ คุณจารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโม รองประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี เป็นวิทยากรบรรยายให้กับสื่อมวลชน
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิต
ทั้งในด้านการเงิน การลงทุน การบันทึกบัญชีรับ-จ่าย และงบการเงิน
ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวจะช่วยให้สื่อมวลชนมีความเข้าใจ จนกระทั่งสามารถสื่อสารไปยังประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันชีวิตต่อไป
ณ ห้อง Salon-A ชั้น 2 โรงแรม สวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต จัดสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
“กำหนดแนวทางลักษณะเหตุการณ์ที่เข้าข่ายแบบรายงานพฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย ที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียกร้องสินไหมทดแทน” ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณสายพิณ
โชคนํากิจ กรรมการประจําคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต เป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนา
และมีคุณรติ พิมพ์สมาน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
รักษาการตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มคดีปกครองและแพ่งสำนักงาน คปภ. เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายพิเศษพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ผ่านกิจกรรม
Workshop
ในหัวข้อดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับแนวปฏิบัติตามประกาศนายทะเบียนเรื่อง
กำหนดแบบรายงาน พฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัยและช่องทางการรายงานการฉ้อฉลประกันภัย
สำหรับบริษัทประกันชีวิตพ.ศ. 2564 ให้กับบุคคลากรบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่ต้องเสนอรายงานพฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลฯ
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย ร่วมงานแถลงข่าวและพิธีเปิด
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2564” พร้อมเปิดตัว“กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม
10 บาท สงกรานต์อุ่นใจ นิวนอร์มอล ซุปเปอร์พลัส (ไมโครอินชัวรันส์)” โดยความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สภาธุรกิจประกันภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยภัย
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนทำประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ
ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต รวมถึงการติดเชื้อจากโควิด-19 ณ สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2
และบริเวณหน้าศูนย์บริการด้านการประกันภัย สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนต่างวางแผนเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา
ส่งผลให้มีการเดินทางใช้รถใช้ถนนค่อนข้างหนาแน่น และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็กำลังเป็นที่กังวลใจกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด
– 19 ระลอกใหม่ต่อกรณีดังกล่าว
สมาคมประกันชีวิตไทยขอให้ทุกท่านเดินทางด้วยความไม่ประมาท ดูแลสุขภาพ การ์ดไม่ตก
สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง
ก่อนการเดินทางควรตรวจสอบสมรรถภาพรถยนต์ และที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง การมีประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ จะทำให้คุณเดินทางได้อย่างสบายใจ
เพราะมีประกันไว้บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด นอกจากนี้ยังมี
“กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม 10 บาท สงกรานต์อุ่นใจ นิวนอร์มอล ซุปเปอร์พลัส
(ไมโครอินชัวรันส์)” จ่ายเบี้ยประกันภัยเพียง 10 บาท
แต่ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาท อายุการรับประกันภัยตั้งแต่ 20
ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ระยะเวลาการทำสัญญาประกันภัย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน
-31 พฤษภาคม 2564 โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่ร่วมจำหน่ายกรรมธรรม์ดังกล่าว 7 บริษัท
ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ,บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ,บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) ,บริษัท เอไอเอ จำกัด ,บริษัท
อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ,บริษัท เอฟดับบลิวดี
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
สำหรับท่านที่ได้ทำสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและยังมีผลบังคับอยู่
ณ ปัจจุบัน ขอให้ท่านมั่นใจว่าตัวท่านจะได้รับความคุ้มครองในทุกกรณี
ซึ่งครอบคลุมถึงโรคติดเชื้อจากไวรัสโควิด – 19 ด้วย
เพราะในกรมธรรม์ได้ระบุเงื่อนไขว่าจะไม่คุ้มครองเพียงโรคที่เป็นมาก่อน
หรือโรคเรื้อรังที่ยังมิได้ทำการรักษาให้หายขาดก่อนทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพเท่านั้น
ดังนั้น หากเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวด้วยโรคดังกล่าว
ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองทั้งในกรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน
และผู้ป่วยนอกตามเงื่อนไขกรมธรรม์
สุดท้ายนี้
ในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนวยพรให้ทุกท่านมีความสุข
ห่างไกลโรคภัยเดินทางทั้งไปและกลับด้วยความปลอดภัยครับ
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทยกล่าวในตอนท้าย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
2019 (COVID-19) ระลอกใหม่
ที่มีการขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีการแพร่กระจายไปยังคลัสเตอร์ใหม่ๆ
มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้โรงพยาบาลต่างๆ
เริ่มมีปริมาณเตียงไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
และเพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวทางรัฐบาลจึงได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (field
hospitals) และขอความร่วมมือภาคเอกชนในการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
(hospitel) เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ขึ้นในหลายพื้นที่
อย่างไรก็ตาม
ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยนั้น
ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่อาจจะต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม
หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เช่นเดียวกับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั่วไป
เนื่องจากในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติมมีการกำหนดคำนิยามของ
“โรงพยาบาล” ไว้อย่างชัดเจน โดยหมายถึง “สถานพยาบาลใดๆ
ซึ่งจัดบริการทางการแพทย์โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
และมีองค์ประกอบทางด้านสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์เพียงพอ
ตลอดจนการจัดการให้บริการที่ครบถ้วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีห้องสำหรับผ่าตัดใหญ่และได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนดำเนินการเป็น”โรงพยาบาล”
ตามกฎหมายสถานพยาบาลของอาณาเขตนั้นๆ” ประกอบกับกฎหมายประกันชีวิตนั้น “ห้ามบริษัทให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย”
ซึ่งหากเกิดกรณีผู้เอาประกันภัยไปพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
อาจเกิดปัญหาไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม
และนำไปสู่ข้อโต้แย้งระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัย
การหารือร่วมกันระหว่างสำนักงาน
คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัย ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
หากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม (field
hospitals) หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
(hospitel) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย
เช่นเดียวกับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั่วไป โดยทางสำนักงาน คปภ.
ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 16/2564 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม
เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริษัทประกันชีวิต
เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการยกเลิกโรงพยาบาลสนามหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
“ภาคธุรกิจประกันชีวิต
พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการฝ่าฟันวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้อย่างเต็มที่
และมีความตั้งใจที่จะดูแลคุ้มครองผู้เอาประกันภัยทุกคนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
หากผู้เอาประกันภัยรายใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามไปยังศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) หรือช่องทางออนไลน์ของบริษัทที่ท่านทำประกันภัยไว้
หรือสายด่วนประกันภัย 1186 สำนักงาน คปภ.ได้” นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวในตอนท้าย
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ที่กระจายไปในหลายคลัสเตอร์
ทำให้มีประชาชนติดเชื้อและเสียชีวิตในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักและตกอยู่ในภาวะเสี่ยงในการรับมือและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ต่อกรณีดังกล่าว นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตทั้ง 22 บริษัท
ได้ตระหนักถึงความเสียสละและความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังเผชิญอยู่
ดังนั้น ภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงได้ดำเนินโครงการ “ประกันภัย COVID-19 คุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์”
ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการจัดทำแผนความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่มให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข
ประมาณ 270,000 ราย ประกอบด้วย แพทย์ ทันต-แพทย์ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์
เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ โภชนากร นักกิจกรรมบำบัด เจ้าพนักงานอาชีวบำบัด
นักจิตวิทยา นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย นักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์
เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้
พนักงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและบุคลากรที่จำเป็นในโรงพยาบาล โดยจะมอบความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ด้วยทุนประกันภัย 1,000,000 บาทต่อคน มีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่
10 พฤษภาคม – 8 กรกฎาคม 2564 พร้อมมีบริษัทภาคีสมาชิกที่เข้าร่วมรับประกันภัยจากโครงการนี้
จำนวน 10 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เอ็ม บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เอไอเอ จำกัด และ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี รับมอบกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่ม “ประกันภัย COVID-19 คุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์” จากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยมี นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
อุปนายกฝ่ายการตลาด และนายกฤษณ์ จันทโนทก กรรมการบริหาร ส่งมอบเพื่อให้ความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่มให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข
270,000 ราย ซึ่งจะคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ด้วยทุนประกันภัย 1,000,000 บาทต่อคน มีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่ 10 พฤษภาคม – 8 กรกฎาคม
2564 โดยมี บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท
ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็ม บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท เอไอเอ จำกัด และ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ร่วมรับประกันชีวิต โดยมีสมาคมประกันชีวิตไทยซึ่งเป็นองค์กรกลางของบริษัทประกันชีวิต
22 แห่งเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย เพื่อเป็นการส่งแรงใจและเป็นกำลังหนุนให้กับบุคลากรทางแพทย์ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สมาคม ฯ
ได้รับการร้องเรียนจากผู้เอาประกันภัยกรณีมีบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัย
โดยอ้างตนมาจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางของทุกบริษัทประกันชีวิต
ได้รับมอบหมายให้มาตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย
เมื่อผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อแจ้งข้อมูลกลับไป
ก็จะนำข้อมูลนั้นมาเทียบกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องการนำเสนอขาย และมักให้เหตุผลว่ากรมธรรม์ฉบับเดิมผลประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบใหม่
จากนั้นก็จะเสนอให้เวนคืนหรือยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิมเพื่อทำฉบับใหม่กับตนเอง
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์ประกันภัยแต่ละแบบมีรายละเอียด
และจุดเด่น ตลอดจนความคุ้มค่า เหมาะสมกับผู้เอาประกันภัยในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกันออกไป
หากผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิมก็จะทำให้แผนความคุ้มครองและการบริหารความเสี่ยงที่เคยมีต้องจบลงก่อนครบกำหนดสัญญา
จำนวนเงินเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย โดยเฉพาะในปีแรกๆ จะน้อยกว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าความคุ้มครองชีวิตในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
พร้อมเสียสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีเงินได้ด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป สูงสุดถึง 100,000 บาท ด้วยเช่นกัน และเมื่อทำประกันชีวิตฉบับใหม่อาจต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น
รวมทั้งต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพต่อบริษัทใหม่
เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความเสี่ยงภัยมากกว่าเดิม ซึ่งหากมีปัญหาสุขภาพบริษัทอาจปฏิเสธการรับประกันภัย
หรือรับประกันภัยโดยการเพิ่มเบี้ยประกันภัย ในส่วนของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพยังมีระยะเวลารอคอย
(Waiting period ) หรือระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ตั้งแต่ 30-120 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย เพราะอาจมีอาการเจ็บป่วยมาก่อนทำประกันภัย
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเตือนผู้เอาประกันภัยอย่าหลงเชื่อ
บุคคลภายนอกที่แอบอ้างเพราะจะทำให้เสียผลประโยชน์
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตได้ออกแบบมาให้คุ้มค่ามากที่สุดก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญา
ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมชักชวนดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัย
จะมีความผิดตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก
การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยมีบทลงโทษถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต
(ตัวแทนประกันชีวิต/นายหน้าประกันชีวิต) ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทประกันชีวิตตามหมายเลขที่แจ้งไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02-679-8080 e – mail : tlaa@tlaa.org หรือ http://www.tlaa.org
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิต 4 เดือนแรก ปี 2564 (มกราคม-เมษายน) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 195,544.03 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
3.25 โดยแยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 56,227.53 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 10.38 ซึ่งประกอบด้วย เบี้ยประกันภัยรับปีแรก
31,107.34 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 6.35 เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว 25,120.19 ล้านบาท เติบโตร้อยละ
41.72 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 139,316.51 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 0.63 อัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
81
ซึ่งช่องทางตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางหลัก
ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม 91,040.64
ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94 มีสัดส่วนร้อยละ 46.56 รองลงมาเป็นการขายผ่านธนาคาร เบี้ยประกันภัยรับรวม
83,587.68 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 6.71 มีสัดส่วนร้อยละ 42.75 ตามด้วยช่องทางนายหน้าประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยรับรวม 10,355.61 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 1.56 มีสัดส่วนร้อยละ 5.30 ช่องทางอื่นๆ เบี้ยประกันภัยรับรวม 5,565.67 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 0.92 มีสัดส่วนร้อยละ 2.85 ช่องทางโทรศัพท์ เบี้ยประกันภัยรับรวม 4,778.66 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
6.41 มีสัดส่วนร้อยละ 2.44 ช่องทางดิจิทัล เบี้ยประกันภัยรับรวม 202.57 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 3.59 มีสัดส่วนร้อยละ 0.10 และ ช่องทางไปรษณีย์ เบี้ยประกันภัยรับรวม
13.2 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 15.22 มีสัดส่วนร้อยละ 0.01
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงคือผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 14,509.89 ล้านบาท
คิดเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึงร้อยละ 103.47 ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
(Health & CI) มี เบี้ยประกันภัยรับรวม 32,025.87
ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.77 และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่อาจจะยังมีเบี้ยประกันภัยรับรวมไม่สูงมากนักแต่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
8.57
จากการที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน(Universal Life และ Unit Linked) เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เนื่องจากแบบประกันดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันได้ครบทุกช่วงวัย และยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนร่วมด้วยตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้ กอปรกับสภานการณ์ปัจจุบันมูลค่าหุ้นและรายได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่ดีขึ้นด้วย ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่ปรับตัวสูงขึ้น 8-10% ทุกปี รวมถึงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และโรคร้ายแรงยังอยู่รอบตัวเรา ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ภาคธุรกิจจึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้สอดรับกับสถานการณ์มากขึ้น ทั้งในรูปแบบเหมาจ่ายหรือเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมรอบด้าน ตลอดจนบริการเสริมในด้านต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองอย่างดีที่สุดตามเงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หรือโรคร้ายอื่นๆ ก็ตาม สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็ถือว่าเป็นแบบประกันที่ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศไทยเข้าสูงสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 *(มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20%) และเข้าสูงสูงอายุระดับสุดยอดในปี 2574(มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 28%)
* ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ, United Nations
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิต 5 เดือนแรก ปี 2564 (มกราคม-พฤษภาคม) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 240,825.51 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.17 โดยแยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
68,431.61 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 10.82 ซึ่งประกอบด้วย
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก 37,784.93 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 5.54 เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว 30,646.68 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40.94 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 172,393.90 ล้านบาท เติบโต
ร้อยละ 0.42 อัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 81
ซึ่งช่องทางตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางหลัก ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม 115,529.05
ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 มีสัดส่วนร้อยละ 47.97 รองลงมาเป็นการขายผ่านธนาคาร
เบี้ยประกันภัยรับรวม 100,906.68 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ
6.21 มีสัดส่วนร้อยละ 41.90 ตามด้วยช่องทางนายหน้าประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยรับรวม 12,008.45 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.03 มีสัดส่วนร้อยละ 4.99 ช่องทางอื่นๆ เบี้ยประกันภัยรับรวม 6,165.08 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.06 มีสัดส่วนร้อยละ 2.56 ช่องทางโทรศัพท์ เบี้ยประกันภัยรับรวม 5,937.42 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.19 มีสัดส่วนร้อยละ
2.47 ช่องทางดิจิทัล เบี้ยประกันภัยรับรวม 262.41 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64
มีสัดส่วนร้อยละ 0.11 และ ช่องทางไปรษณีย์ เบี้ยประกันภัยรับรวม 16.41 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 15.33 มีสัดส่วนร้อยละ
0.01
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 17,250.63 ล้านบาท
คิดเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึงร้อยละ 97.52 ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
(Health & CI) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 39,043 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.21 และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีสัดส่วนการขายอยู่ในระดับน้อยแต่มีเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.32
จากการที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal Life และ Unit Linked)
เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เนื่องจากแบบประกันดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันได้ครบทุกช่วงวัยพร้อมยังให้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าการฝากเงินธนาคาร
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health
& CI) มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8-12% ทุกปี รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) และสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอื่นๆ
ทำให้ประชาชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันธุรกิจประกันภัยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง
ให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบทุกความต้องการและทุกกลุ่มเป้าหมายพร้อมมีการบริการหลังการขายแบบครบวงจรและมีการเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาลด้วย
ในส่วนของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ที่สามารถเข้ามาช่วยในการบริหารรายรับรายจ่ายในระดับที่เพียงพอต่อความเป็นอยู่หลังเกษียณอายุได้เป็นอย่างดี
เพื่อสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบันด้วย อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจจะต้องร่วมมือกัน
ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญให้สามารถตอบโจทย์เพื่อวัยเกษียณได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
” นายกสมาคมประกันชีวิตไทยกล่าวในตอนท้าย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ปัจจุบันได้มีบุคคลบางกลุ่มแอบอ้างตนเป็นที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของบริษัทประกันชีวิต
โทรศัพท์ไปหาประชาชน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการถือครองกรมธรรม์ประกันภัย
มีการสอบถามและขอข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย โดยอ้างว่าจะทำการเปรียบเทียบและดูผลประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าให้
และเมื่อผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อให้ข้อมูล ผู้แอบอ้างจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลและแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกหรือหยุดชำระเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ฉบับเดิม
เพื่อทำสัญญาประกันชีวิตฉบับใหม่
ที่ตนเองจะนำเสนอขาย โดยอ้างว่าจะได้รับผลประโยชน์สูงขึ้น
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอชี้แจงว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันชีวิตไม่เคยมีนโยบายหรือมอบหมายให้บุคคลกลุ่มใดชักชวนให้ประชาชนยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยแต่อย่างใด
เพราะการกระทำดังกล่าว อาจทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิ์ของกรมธรรม์และผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ
เสียสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้ด้วยเบี้ยประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่
10 ปีขึ้นไป (ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) เบี้ยประกันสุขภาพ (ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับส่วนเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน
100,000 บาท) หรือเบี้ยประกันชีวิตของแบบประกันบำนาญ (ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
200,000 บาทหลังจากลดหย่อนส่วนเบี้ยประกันชีวิตครบ 100,000
บาทแรกแล้ว หรือต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี)
รวมถึงการที่ผู้เอาประกันภัยต้องดำเนินการแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพต่อบริษัทใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่ถูกบริษัทประกันภัยปฏิเสธการรับประกันภัยหรือต้องจำยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยในระดับที่สูงขึ้น
เพราะ ปัญหาสุขภาพที่มากขึ้น และ ระดับอายุที่สูงขึ้น
รวมถึงบริษัทประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายเคลมหรือผลประโยชน์ในกรณีที่เกิดอยู่ในช่วงระยะเวลารอคอย
(Waiting period) หรือ ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ตั้งแต่
30-120 วันนับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ ซึ่งแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย
นอกจากนี้ในกรณีถ้าหลงเชื่อทำการยกเลิกกรมธรรม์โดยเฉพาะประเภทสะสมทรัพย์ก่อนครบกำหนดสัญญา
ผู้เอาประกันภัยอาจเสียสิทธิ์ได้ระดับผลตอบแทนที่มีการันตีผลตอบแทนหรือมีเงินคืนรายปี
เพราะอัตราผลตอบแทนของกรมธรรม์ประเภทสะสมทรัพย์ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่น้อยกว่าอัตราผลตอบแทนของกรมธรรม์ประเภทสะสมทรัพย์ในอดีต
ที่สำคัญการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบกำหนดสัญญาที่กล่าวข้างต้นนั้นทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับมูลค่าเวนคืนเงินสดซึ่งน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายผ่านมาทั้งหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีแรกๆ ของกรมธรรม์ เพราะบริษัทประกันภัยจะต้องหักค่าใช้จ่ายในการพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ
ดังนั้น บุคคลบางกลุ่มที่แอบอ้างตนเป็นที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของบริษัทประกันชีวิต
รวมถึงตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทประกันภัยใดที่เชิญชวนให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ครบกำหนดสัญญา
ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต
ผู้กระทำการดังกล่าวจะต้องได้รับบทลงโทษถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิต
ทั้งนี้บุคคลที่จะสามารถทำการเสนอขายประกันภัยจะต้องมีใบอนุญาตที่ออกโดยสำนักงาน
คปภ. และทุกครั้งที่ทำการเสนอขายไม่ว่าแบบพบหน้าหรือสนทนาผ่านทางโทรศัพท์
บุคคลคนนั้นจะต้องแสดงใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิต แจ้งชื่อบริษัทประกันที่ตนสังกัด
พร้อมทั้งแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ว่าได้มาอย่างไร
ซึ่งหากพบว่าการได้มาซึ่งข้อมูลนั้นไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลจะถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออก
และเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและการดำเนินการของตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2563 ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
หากผู้เอาประกันภัยพบว่าได้รับการติดต่อจากบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
เบื้องต้นขอให้ผู้เอาประกันภัยสอบถามชื่อ นามสุกล บริษัทที่สังกัด เลขที่ใบอนุญาต
และสอบถามถึงแหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
ถ้าหากบุคคลนั้นไม่แจ้งรายละเอียดทั้งหมดข้างต้น
ผู้เอาประกันภัยสามารถนำเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา ไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีได้
หรือแจ้งไปที่สายด่วนประกันภัย 1186 หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยติดต่อที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย
หรือ ติดต่อที่สมาคมประกันชีวิตไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-679-8080 หรือช่องทาง e–mail
: tlaa@tlaa.org
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้ามอบทุนและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ด้วยงบประมาณกว่า 600,000 บาท
ให้กับนิสิต นักศึกษาสาขาการประกันภัย รวม 79 รางวัล จาก 13 สถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่สู่ธุรกิจประกันชีวิต
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ตลอดระยะเวลากว่า 46 ปี ที่สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมเสมอมา
รูปแบบกิจกรรมส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะด้านการศึกษา
ที่ผ่านมาสมาคมประกันชีวิตไทยให้การสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนไทยที่มีความสนใจในสาขาวิชาประกันภัย
พร้อมทั้งมีผลการเรียนดีให้ได้รับโอกาสและทุนทรัพย์ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองจนกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนวงการธุรกิจประกันภัยไทย
ให้มีความแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพทัดเทียมระดับสากล ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ
ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาประกันภัย รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพผ่านโครงการต่างๆ
เช่น การกระตุ้นส่งเสริมให้นักศึกษาเปิดมุมมองความต้องการใหม่ๆ
ผ่านการเสนอโครงการการวางแผนเชิงธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณเป็นทุนและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี สอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาดังกล่าว
ซึ่งในปีนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยให้การสนับสนุนมอบทุนและรางวัลการศึกษาประจำปีการศึกษา 2563 ด้วยงบประมาณ
602,000 บาท รวม 79 รางวัล จาก 13
สถาบันการศึกษา ที่เปิดสอนสาขาการประกันภัย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษา
ทุนละ 10,000 บาท
จำนวน 23 ทุน รางวัลการศึกษา รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 10
รางวัล รางวัล ASA - Course I (Exam P–Probability) รางวัลละ
7,000 บาท จำนวน 28 รางวัล และรางวัล ASA - Course II
(Exam FM–Financial Mathematics) รางวัลละ 7,000
บาท จำนวน 18 รางวัล
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า 6 เดือนแรกปี
2564 (มกราคม – มิถุนายน) ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
294,896.57 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
จำนวน 83,745.52 ล้านบาทด้วยอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
9.88 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน 211,151.05 ล้านบาทด้วยอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.68
และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 81
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
(1)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 45,851.44 บาท อัตราการเติบโตลดลง ร้อยละ 7.52
(2)
เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 37,894.08 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 42.26
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ 1
การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 142,804.21 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39
มีสัดส่วนร้อยละ 48.43
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 124,101.47 ล้านบาท
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.45 มีสัดส่วนร้อยละ 42.08
อันดับ 3
การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 13,824.71 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.81 มีสัดส่วนร้อยละ
4.69
อันดับ 4
การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ จำนวน 7,133.99 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 มีสัดส่วนร้อยละ
2.42
อันดับ 5 การขายผ่านช่องทางดิจิทัล จำนวน 370.07 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.63 มีสัดส่วนร้อยละ 0.13
อันดับ 6 การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ จำนวน 19.64 ล้านบาท
เติบโตลดลงร้อยละ 15.55 มีสัดส่วนร้อยละเพียง 0.01
อันดับ 7
การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ จำนวน 6,642.47 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.20 สัดส่วนร้อยละ 2.25
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยรับรวม
21,598.72 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึงร้อยละ 96.05 ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
(Health & CI) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 46,549 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54
และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 4,243.93 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.74 แต่มีสัดส่วนการขายอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย
เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทอื่น
ทั้งนี้จากการที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) เติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ
96.05 นั้น เนื่องจากแบบประกันดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันภัยได้ครบทุกช่วงวัยทั้งเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนที่มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นและเรื่องความคุ้มครองของประกันชีวิต
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health
& CI) มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
รวมถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
และสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอื่นๆ
ทำให้ประชาชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตไทยในครึ่งหลังของปี
2564 ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังคงมองว่าธุรกิจจะเติบโตได้ตามที่คาดการณ์การเติบโตไว้ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อต้นปี
2564 ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ระหว่าง 590,000 – 610,000 ล้านบาท
หรือเติบโตร้อยละ – 1 ถึง +1 ซึ่งเป็นการคาดการณ์แบบระมัดระวัง (Conservative)
เนื่องจากทิศทางของสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID
- 19) ที่ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งการคาดการณ์ครั้งนี้ก็ยังสอดคล้องกับการคาดการณ์ GDP ของประเทศที่มีการขยายตัว
ร้อยละ 1.5 - 2.5 ซึ่งอยู่ในระดับฟื้นตัวช้า (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม
2564 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
ส่วนทิศทางผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น
ภาคธุรกิจมองว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่จะได้รับความนิยมและมีศักยภาพในการเติบโตสูง
คือ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal Life และ Unit Linked) เนื่องจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำในปัจจุบัน
ทำให้ได้รับการตอบรับจากผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้มากขึ้น พร้อมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ระดับความเสี่ยงที่พอรับได้
รวมถึงได้รับความคุ้มครองจากการประกันชีวิตรวมอยู่ด้วย
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนจึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ดี
ก็ต้องมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
เนื่องจากแบบประกันดังกล่าวมีความซับซ้อนระดับหนึ่ง
ขณะเดียวกันธุรกิจประกันชีวิตมีการพัฒนาความคุ้มครองด้านสุขภาพและโรคร้ายแรง
(Health
& CI)อย่างต่อเนื่อง และมีการบริการหลังการขายที่ครบวงจร(ทั้งระบบ
online และ off line) เช่น telemedicine,
บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน(SOS) ฯลฯ โดยได้เชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาลทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบทุกความต้องการและทุกกลุ่มเป้าหมาย
ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของประชาชนมากขึ้น
เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยตอบเทรนด์สังคมผู้สูงอายุของไทยในปัจจุบัน รวมถึงเพราะเป็นเครื่องมือทางการเงินหนึ่งที่สำคัญที่เสริมสร้างวินัยทางการออมของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความเป็นอยู่หลังเกษียณอายุ
ซึ่งปัจจุบันทางสมาคมประกันชีวิตไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าวและอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับบริษัทประกันชีวิตในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่สามารถตอบโจทย์เพื่อวัยเกษียณได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
ทั้งนี้ภาคธุรกิจประกันชีวิตไทยมีความมุ่งมั่นเพื่อตอบสนองความต้องการ
ตอบโจทย์ได้ทุกกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
โดยได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลาย
มีการพัฒนาคุณภาพการบริการหลังการขาย ตลอดจนมีการพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบดิจิทัลและการบริการผ่านระบบออนไลน์
มีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านระบบดิจิทัล (Digital Face to
Face) และ
มีการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิตให้มีความรู้ความสามารถรวมถึงการบริการที่เป็นมืออาชีพ
มีจรรยาบรรณและจริยธรรมในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งปัจจุบันทางภาคธุรกิจประกันชีวิตไทย
ได้รับการอนุโลมแนวทางการให้ความคุ้มครองการบริการรักษาพยาบาล ณ
หอผู้ป่วยเฉพาะกิจนอกสถานพยาบาล (Hospital) โรงพยาบาลสนาม และล่าสุดรวมถึงการอนุโลมให้ความคุ้มครองไปยัง Home
Isolation และ Community Isolation ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนที่
43/2564 ของ คปภ. ลงวันที่ 29 กรกฏาคม 2564
ซึ่งเงื่อนไขจะเป็นไปตามที่แต่ละบริษัทประกันชีวิตกำหนด
เพื่อให้แบบประกันชีวิตสามารถให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือถึงแนวทางและรูปแบบการสอบออนไลน์ (E-Exam) ที่เหมาะสม มีความโปร่งใสและรัดกุม
ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรม
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ธุรกิจประกันชีวิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือ
ไว้วางใจ และมีความยั่งยืนต่อไป
“สมาคมประกันชีวิตไทยและภาคธุรกิจประกันชีวิต
มีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยไปจนครบกำหนดสัญญา
โดยบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้านทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
มีฐานะทางการเงินและเงินกองทุนที่มั่นคงเพียงพอต่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
และมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการส่งมอบบริการที่เป็นเลิศทุกช่องทางและมุ่งพัฒนาต่อยอดคุณภาพการให้บริการโดยนำระบบเทคโนโลยี
แพลตฟอร์ม และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยในทุกสถานการณ์ได้มากขึ้น”
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย
วันแม่ปีนี้สมาคมประกันชีวิตไทยขอเชิญชวนลูกๆ
ทุกคน
บอกรักแม่ด้วยการส่งมอบแผนความคุ้มครองชีวิตและความคุ้มครองสุขภาพรวมถึงความคุ้มครองอุบัติเหตุ
เพื่อเป็นของขวัญแทนใจ แทนความห่วงใย ตอบแทนพระคุณแม่
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ในเดือนสิงหาคมมีเทศกาลที่สำคัญคือวันแม่ ลูกๆ
หลายคนต่างเตรียมของขวัญมามอบให้คุณแม่ได้ชื่นใจ
นอกเหนือจากการดูแลเอาใจใส่ด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว ในโอกาสนี้
สมาคมประกันชีวิตขอแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ
เพราะนอกจากการที่ได้เห็นคุณแม่มีสุขภาพที่ดีแล้ว
การรักษาพยาบาลที่เหมาะสมเมื่อยาม
เจ็บไข้ย่อมเป็นสิ่งที่ลูก ๆ ทุกคนปรารถนาเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
(COVID-19) ที่ยังคงมีความรุนแรง ดังนั้น การประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
และประกันอุบัติเหตุจึงมีความจำเป็น
และถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคร้าย ตลอดจนความไม่แน่นอนของชีวิตในอนาคต
ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระทางการเงินในยามที่ท่านเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุได้
สำหรับการเลือกทำประกันให้คุณแม่นั่น
ควรเลือกทำให้เหมาะสมและตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตของท่าน
โดยไม่ลืมคำนึงถึงศักยภาพหรือกำลังทรัพย์ในการจ่ายเบี้ยประกันภัยของผู้จ่ายด้วย
เพื่อให้ความคุ้มครองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด
นอกจากนี้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถนำเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ทำให้กับพ่อแม่ของตนเองมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง
ไม่เกินคนละ 15,000 บาท
โดยท่านทั้งสองต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
และหากพี่น้องร่วมกันซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
15,000 บาท
มาเฉลี่ยกันเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ได้เช่นกัน
สมาคมประกันชีวิตไทย
ได้รับเกียรติจาก นายปิยชาต สงวนหงษ์
ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย
และ คุณสุพรรณ ศรุติกุล ทนายความ หัวหน้าสำนักงานกฎหมายทองคำ
อดีตผู้บริหารส่วนคดีความและที่ปรึกษากฎหมาย และวิทยากรบรรยายความรู้กฎหมาย
สำนักกฎหมาย บริษัทประกันชีวิต เป็นวิทยากรให้ความรู้ ในการสัมมนาวิชาการออนไลน์
เรื่อง “แนวปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายของภาคธุรกิจประกันชีวิต” ซึ่งจัดโดย
คณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย ตั้งแต่กระบวนการฟ้องคดีล้มละลาย
จนถึงกระบวนการหลังเป็นบุคคลล้มละลาย
ให้กับบุคลากรฝ่ายบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย และเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมี หม่อมหลวงจิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
และกรรมการประจำคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ นายเอกลักษณ์ วงศ์อภัย นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ
โรงพยาบาลศรีธัญญา เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง
“การบริหารสุขภาพจิตเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน” ซึ่งจัดโดย คณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสุขภาพจิต เพื่อสร้างความสุขในการทำงาน ให้กับบุคลากรภาคธุรกิจประกันชีวิต
สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
โดยมี นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร และกรรมการประจำคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
ได้รับเกียรติจาก นายสุพรรณ ศรุติกุล ทนายความ หัวหน้าสำนักงานกฎหมายทองคำ
เป็นวิทยากรให้ความรู้ ในการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “ทำอย่างไร ให้ถูกต้อง
เมื่อผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลล้มละลาย” ซึ่งจัดโดย
คณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัยที่ตกเป็นบุคคลล้มละลายรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัยหลังการปลดล้มละลาย
ให้กับบุคลากรฝ่ายบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
และเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมี หม่อมหลวงจิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
และกรรมการประจำคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา เมื่อวันที่
7 กันยายน 2564
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย รับรางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม
ประจำปี 2564 จาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภายในงาน
Together is Power 2021 ซึ่งจัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่
8 กันยายน 2564 วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริหารจัดการและการดำเนินงานของสมาคมการค้าไทย
ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจที่เข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยรู้สึกภาคภูมิใจและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติและทรงคุณค่าอย่าง
“สมาคมการค้ายอดเยี่ยม ประจำปี
2564” ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของสมาคมการค้าที่มีความเป็นเลิศในทุกๆด้านของกลุ่มสมาคมที่จดทะเบียนเกินกว่า
16 ปี ขึ้นไป โดยสมาคมประกันชีวิตไทยสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการ
Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านผลสำเร็จตามพันธกิจ
ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพการให้บริการ และด้านการพัฒนาองค์กร ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยได้รับรางวัลสูงสุดนี้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่
ปี 2558 , 2560 , 2562 , 2563 และปี 2564 นี้เป็นสมัยที่ 5
จากรางวัลดังกล่าว พิสูจน์ให้เห็นว่าตลอดระยะเวลากว่า
68 ปีที่ผ่านมา
สมาคมประกันชีวิตไทยมีศักยภาพและมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินงานในฐานะองค์กรกลางให้กับผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตและกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนอื่นๆ
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองของภาคการเงินที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อีกทั้งยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรทุกภาคส่วนของธุรกิจประกันภัยให้มีศักยภาพ
มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวในการขับเคลื่อนงานด้านประกันชีวิต ไปพร้อม ๆ
กับส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันชีวิตให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น
อันนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
และเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สมาคมประกันชีวิตไทย
ได้รับเกียรติจาก นายศิริวัฒน์ ศิริเกตุ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประกันสุขภาพ
บริษัท เอไอเอ จำกัด และ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการ
เรื่อง “คำนิยาม คำจำกัดความ ตามสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพมาตรฐาน” ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายของการสัมมนาวิชาการออนไลน์
เรื่อง “รู้ก่อนรู้ทัน ประกันสุขภาพ” จัดโดย คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต ให้กับบุคลากรฝ่ายสินไหมรายบุคคลและประกันกลุ่ม
ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Product) ฝ่ายพิจารณารับประกันภัย
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการพิจารณาสินไหมประกันสุขภาพให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 เรื่อง
หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพมาตรฐาน
ประเภทสามัญ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 8
พฤศจิกายน 2564 นี้ โดยมี นางสายพิณ โชคนำกิจ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ
และนางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สมาคมฯ มอบเงินจำนวน
1,000,000 บาท แก่ ดร.สุเมธ
ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
เพื่อสมทบกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด-19
(และโรคระบาดต่าง ๆ) ในการจัดสร้างห้องระบบแลกเปลี่ยนอากาศแรงดันลบแบบสมบูรณ์
(True Negative Pressure) และการพัฒนาห้องผู้ป่วยปกติเป็นห้อง
Semi ICU” ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
(COVID 19) โดยจะเป็นการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์
และการเสียชีวิตของประชาชนที่เจ็บป่วย ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา พระราม 8
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย คณะอนุกรรมการกฎหมาย จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “รู้ทันการฉ้อฉลประกันภัย” โดยได้รับเกียรติจาก นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ
สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง
“กฎหมายฉ้อฉลประกันภัยกับภาคธุรกิจประกันชีวิต” พร้อมด้วยนายดำเนิน บุญมาก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน สำนักงานอัยการคดี ศาลแขวงพิษณุโลก นายรติ พิมพ์สมาน
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มคดีปกครองและแพ่ง สำนักงาน คปภ. และนายพัชรพงษ์
ธะนะปัด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกฎหมาย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นวิทยากรร่วมเสวนาวิชาการ พร้อมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ในหัวข้อ
“กรณีศึกษาการดำเนินการเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต”
ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมี นายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการและกรรมการประจำคณะอนุกรรมการกฎหมาย สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาออนไลน์
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564
มล.จิรเศษฐ ศุขสวัสดิ์
อุปนายกฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท สนับสนุนโครงการความร่วมมือ
“ประกันภัยรวมใจมอบวัคซีนต้านโควิดสู่ประชาชน” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต-ประกันภัย
สมาคมศิษย์เก่าสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงและหน่วยงานเครือข่าย เพื่อนำไปจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา
2019 (COVID-19) “ซิโนฟาร์ม” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน
10,000 ราย (จำนวน 20,000 โดส)
ให้กับกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 30
กันยายน 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์อภิชาติ
จริยาวิลาศ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นวิทยากรบรรยาย
เรื่อง "ปรับแง่คิดให้ชีวิตอยู่รอดในสถานการณ์โควิด" ให้กับบุคคลากรของสมาคมฯ
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสุขภาพจิต ให้เกิดความคิดบวกเชิงสร้างสรรค์
พร้อมทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพต่อไป
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกล่าวแสดงความยินดีและมอบโล่รางวัลให้กับตัวแทนประกันชีวิต
ภายในงานมอบรางวัล APFinSA
Awards 2021 ซึ่งจัดโดย สมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ร่วมกับ สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพและยกระดับความเป็นมืออาชีพในการทำงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลต่อไป เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม
2564
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “แนวทางการปฏิบัติการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
(Identification & Verification) ของภาคธุรกิจประกันชีวิต” โดยได้รับเกียรติจากนางสาววิลาวัลย์
ลิมปนะวรรณกูล ผู้อำนวยการส่วนวิชาการการกำกับ สำนักงาน ปปง.เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง
“แนวทางในการระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า และการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
ตามประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2564” พร้อมด้วยนายปรัชญ์
ภัทรากรกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวางแผนและพัฒนากฎหมายด้านความมั่นคงทางการเงิน
สำนักงาน คปภ. และ นายสุภิรัช โพธิ์ถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลธุรกิจ บริษัท เอไอเอ จำกัด ประธานคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นวิทยากรร่วมเสวนาวิชาการ พร้อมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิบัติการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
(Identification & Verification) ของภาคธุรกิจประกันชีวิต”
ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมีหม่อมหลวงจิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
และกรรมการประจำคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาออนไลน์
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564
สมาคมประกันชีวิตไทยขอเชิญชวนประชาชนใช้บริการตรวจสอบ
“กรมธรรม์ของฉัน” ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Portable
Device) เพียงเพิ่มเพื่อนผ่าน Line Official Account (@OICConnect) ก็สามารถตรวจสอบสถานะกรมธรรม์ที่ท่านมีอยู่ได้โดยง่าย
สะดวกและรวดเร็ว
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยจัดทำแพลตฟอร์มกลางเชื่อมผ่านข้อมูลของบริษัทประกันภัยกับสำนักงาน
คปภ. เพื่อเปิดให้ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ผ่านช่องทางบริการ ”กรมธรรม์ของฉัน” หรือ My Policy ด้วยขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งานง่ายๆ
โดย
1. ค้นหาและ
Add
Line Official Account (@OICConnect)
2. ลงทะเบียนทำการยืนยันตัวตนด้วยภาพถ่ายบัตรประชาชน
และภาพถ่ายตนเองคู่กับบัตรประชาชน
3. ใส่หมายเลขโทรศัพท์
เพื่อขอรับรหัส OTP
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็สามารถกดเลือกใช้บริการ
“กรมธรรม์ของฉัน” หรือ My Policy ได้ทันที โดยระบบจะทำการเชื่อมต่อฐานข้อมูลกรมธรรม์ที่ท่านถือครอง
ทั้งกรมธรรม์ประกันชีวิตและกรมธรรม์ประกันวินาศภัยที่ยังมีความคุ้มครอง รวมถึงกรมธรรม์ที่หมดอายุไม่เกิน
1 ปี ซึ่งในหน้าแรก “กรมธรรม์ของฉัน” นั้น จะระบุข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อแบบประกันภัย,
ประเภทประกันภัย, เลขกรมธรรม์, วันที่เริ่มสัญญา, และวันครบกำหนดสัญญา ทั้งนี้ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม
ยังสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดกรมธรรม์เพื่อตรวจสอบสิทธิ และสถานะกรมธรรม์, จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระต่อปี,
ความคุ้มครองอื่นๆ ตลอดจนผลประโยชน์ของกรมธรรม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ท่านสามารถวางแผนบริหารความเสี่ยง
การต่ออายุกรมธรรม์ รวมถึงวางแผนซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตเพิ่มเติมได้อีกด้วย ทั้งนี้
หากผู้เอาประกันภัยตรวจพบว่าข้อมูลกรมธรรม์ของตนเองยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน สามารถติดต่อสอบถามไปทางบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ได้โดยตรง ซึ่งข้อมูลกรมธรรม์ของฉันจะเป็นความลับเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีบริการเสริมอื่นๆ อีก เช่น
- ตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทนประกันภัย
และนายหน้าประกันภัย
- ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งสำนักงาน
คปภ. (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)
- ตรวจสอบที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัทประกันภัย
ทั้งนี้ บริการ “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ได้เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านเข้ามาใช้บริการ “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ซึ่งแพลตฟอร์มกลางนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อยกระดับการเชื่อมโยงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทย
ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมงาน Thailand InsurTech Fair 2021
มหกรรมด้านประกันภัย เปิดประสบการณ์การเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีประกันภัยในรูปแบบ
Virtual events ตอบโจทย์อยู่ที่ไหนก็ซื้อประกันภัยได้ ในระหว่างวันที่
26 - 30 ตุลาคม 2564
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย
ร่วมกันจัดงาน “Thailand
InsurTech Fair 2021 มหกรรมด้านประกันภัย” รูปแบบ Virtual
events ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด "InsurTech
for all and for the next normal” ซึ่งภายในงานมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากทุกบริษัท
และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ อินชัวร์เทค (InsurTech) จากทั่วทุกมุมโลก ให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้ เข้าถึงสินค้าและบริการด้านการประกันภัยที่มีเฉพาะภายในงานนี้เท่านั้น
นอกจากนี้ภายในงานมีการจัดการสัมมนาให้ความรู้สู่ประชาชนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
ๆ ของภาคธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งภายในงานดังกล่าวสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมด้วย 12 บริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธแบบออนไลน์ ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เจนเนอราลี่
ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอไอเอ
จำกัด และบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมให้คำแนะนำการวางแผนทางการเงิน
บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ อาทิ
สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุดถึง
35% สำหรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายภายในงานจนถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 นอกจากนั้นถ้าซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยภายในงาน
ยังได้รับสิทธิชิงโชคลุ้นรับทองคำแท่ง และของรางวัลอื่นๆ มากมาย รวมมูลค่ากว่า
1,000,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่เปิดให้ประชาชนเลือกสรรผลิตภัณฑ์ประกันภัยในราคาประหยัด
พร้อมรับโปรโมชั่นเด่นๆ จากบริษัทประกันภัย และสิทธิชิงโชคของรางวัลอีกมากมาย
สุดท้ายนี้
ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมเปิดประสบการณ์อยู่ที่ไหนก็ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัยได้ผ่านโลกเสมือนจริง
“Thailand
InsurTech Fair 2021 มหกรรมด้านประกันภัย
โดยสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทาง https://www.tif2021.com เพื่อสัมผัสนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัยที่ทันสมัยพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยในทุกไลฟ์สไตล์และทุกช่วงชีวิต
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียน
(ASEAN
Insurance Council: AIC) เปิดการประชุม ASEAN Insurance
Council (AIC) ครั้งที่ 47 และเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมออนไลน์
(Zoom Meeting) โดยมีสมาคมประกันชีวิตและสมาคมประกันวินาศภัยจากชาติอาเซียนจำนวน
10 ประเทศ เข้าร่วมหารือถึงแนวทางในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยในเขตเศรษฐกิจอาเซียนผ่านคณะทำงานชุดต่าง
ๆ ของ AIC เมื่อวันที่
27 ตุลาคม 2564
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปี
2564 (มกราคม – กันยายน ) ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
439,181.91 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ จำนวน 123,132.24 ล้านบาทด้วยอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.42 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน 316,049.67 ล้านบาทด้วยอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.41 และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 81
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
(1)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 67,401.62 บาท มีอัตราการเติบโตลดลง
ร้อยละ 9.61
(2)
เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 55,730.62 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ39.12
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ 1
การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 217,489 ล้านบาท
เติบโตลดลงร้อยละ 0.47 มีสัดส่วนร้อยละ 49.52 ยังคงถือเป็นช่องทางการขายหลักของธุรกิจประกันชีวิต
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 183,117 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.68 มีสัดส่วนร้อยละ 41.70
อันดับ 3
การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 19,383 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 มีสัดส่วนร้อยละ 4.41
อันดับ 4
การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ จำนวน 10,599 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 มีสัดส่วนร้อยละ 2.41
อันดับ 5
การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ จำนวน 8,015 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38
มีสัดส่วนร้อยละ 1.83
อันดับ 6 การขายผ่านช่องทางดิจิทัล จำนวน 550 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 6.73 มีสัดส่วนร้อยละ 0.13
อันดับ 7 การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ จำนวน 29 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 16.43 มีสัดส่วนร้อยละ 0.01
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้แก่
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Link) ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 34,525 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึงร้อยละ 88.86 และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ
(Health) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 58,960
บาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 9.28 และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง (CI) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 11,428 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.53 และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 6,424 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37
ทั้งนี้จากการที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) เติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ
88.86 นั้น เนื่องจากแบบประกันดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันภัยได้ครบทุกช่วงวัยทั้งเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนและให้ความคุ้มครองประกันชีวิตอีกด้วย
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health
& CI) มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
รวมถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
ที่ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทุกวัน พร้อมกันนี้ยังมีสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอื่นๆ
ที่น่ากังวลอีกหลายโรค จึงทำให้ประชาชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
สำหรับผลิตภัณฑ์บำนาญที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น
เป็นการสอดรับกับทิศทางการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของประเทศไทย
เนื่องจากแบบประกันดังกล่าว สามารถนำมาช่วยในการบริหารความมั่นคงของชีวิตในยามเกษียณได้เป็นอย่างดี
ซึ่งธุรกิจประกันชีวิตได้พัฒนาและส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ประกันบำนาญนี้สามารถตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างครอบคลุม
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี
2564 ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังต้องเผชิญกับโอกาสและความท้าทายรอบด้าน
แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ทุกกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ไปควบคู่กับพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบดิจิทัลและการบริการผ่านระบบออนไลน์
พัฒนาคุณภาพการบริการหลังการขาย รวมทั้งพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต
โดยมุ่งพัฒนาทักษะเดิม (Up-skill) เพิ่มเติมทักษะใหม่
(Re-skill) ยกระดับความรู้ความสามารถ สร้างมาตรฐานการทำงานแบบชีวิตวิถีใหม่
พร้อมให้การบริการที่เป็นมืออาชีพ โดยยึดมั่นจรรยาบรรณและจริยธรรมในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ธุรกิจประกันชีวิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือ
ไว้วางใจ
“ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาในหลายๆ
ด้านแล้ว สิ่งที่ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังคงให้ความสำคัญอยู่เสมอคือ
การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ตลอดจนผู้เอาประกันภัยทุกท่านว่า
บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัท
พร้อมยึดมั่นในข้อตกลงตามสัญญาที่ได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกราย
และพร้อมที่จะปฏิบัติติตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยไปจนครบกำหนดสัญญา
โดยบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย สะท้อนให้เห็นจากการที่ธุรกิจประกันชีวิตมีความเพียงพอของเงินกองทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
ด้วยอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ร้อยละ 323 ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2564(ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงาน คปภ.) นับว่าสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่ร้อยละ
120 และเพียงพอต่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
”นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย
สมาคมประกันชีวิตไทย
ขอแสดงความยินดีกับบริษัทสมาชิกที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี
2564 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน
คปภ.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้กับบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารจัดการดีเด่นมีประสิทธิภาพ มีฐานะการเงินมั่นคง และมีการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นแบบอย่างที่ดี
พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัย โดยยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จนกระทั่งสามารถขยายบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ทั้งนี้ งานมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบไฮบริด ออนไลน์ (ผ่านระบบ ZOOM) โดยในปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตได้รับรางวัลเกียรติยศรวม 6 รางวัล จาก 5 บริษัท ประกอบด้วย
1.
รางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด
(Hall
of Fame) ประจำปี 2563
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน)
2.
รางวัลประกันภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2563
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2563 อันดับ 1
บริษัท ไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2563 อันดับ 2
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2563 อันดับ 3
บริษัท เอไอเอ จำกัด
3.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2563
บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
4.
รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี
2563
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
5.
รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2563
บริษัท เอไอเอ จำกัด
6.
รางวัลบริษัทประกันภัยที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2563
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมสัมมนา TFPA Wealth Management
Forum 2021 ซึ่งจัดโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย พร้อมทั้งเป็นวิทยากรร่วมกับนายชูฉัตร
ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงาน คปภ. และนายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในการเสวนา
เรื่อง “ยุคใหม่ของธุรกิจประกันภัย” โดยมีนายเรืองศักดิ์ ปัญญาบดีกุล
กรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวเพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอภาพรวมและทิศทางของระบบการประกันภัยในยุคปัจจุบันและอนาคต
รวมถึงเรื่องการเสนอขายที่เน้นการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์สังคมสูงวัยได้อย่างแท้จริง ทั้งในเรื่องแบบประกันบำนาญและประกันสุขภาพ
ผ่านระบบออนไลน์ ช่องทาง Facebook และ YouTube ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ขอชี้แจงว่า
บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน
ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
และไม่มีเงื่อนไขให้บริษัทประกันชีวิตสามารถยกเลิกสัญญาระหว่างทางได้
ยกเว้นแต่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญต่อการรับประกันภัย
หรือมีเจตนาทุจริตต่อบริษัท
ขณะเดียวกันธุรกิจประกันชีวิต
มีความมั่นคงและมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
และเพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
ดังนั้น
ธุรกิจประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา
จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชีวิตในทุกแบบผลิตภัณฑ์
กับทุกบริษัทประกันชีวิต
เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์
“ธุรกิจประกันชีวิตพร้อมอยู่เคียงข้างผู้เอาประกันภัย
และคนไทยในทุกสถานการณ์ และปฏิบัติตามพันธะสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอ” นายสาระ
กล่าวในตอนท้าย
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง
“วิวัฒนาการทางเลือกใหม่ทางการแพทย์ โทรเวชกรรม (Telemedicine)” โดยมีนายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร และกรรมการประจำคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณสุรังคนา สุรไพฑูรย์ ผู้จัดการประเทศไทย (General
Manager Thailand) บริษัท ดอกเตอร์ เอนีแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายพิเศษพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อดังกล่าว
เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางเลือกใหม่ทางการแพทย์โทรเวชกรรม
(Telemedicine) รวมถึงโอกาสและแนวทางการพัฒนาทางการแพทย์โทรเวชกรรม
(Telemedicine) ให้กับบุคลากรบริษัทประกันชีวิต ฝ่ายประกันภัยกลุ่ม
ฝ่ายพิจารณารับประกันภัย ฝ่ายสินไหม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการพิจารณารับประกันภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมการเสวนา เรื่อง “Next – Gen :
Insurance Industry in the New Era” พร้อมด้วยนายอานนท์ วังวสุ
นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย และนายไพบูลย์ นลินทรางกูร
ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โดยมี ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมาย บริษัท
ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งการเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย
ประจำปี พ.ศ. 2564 (Thailand Insurance Symposium 2021)
ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
จัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
เพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจประกันภัยอย่างยั่งยืน
ทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยและการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวได้จัดผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
โค้งสุดท้ายของทุกๆปีถือเป็นช่วงเวลาของการวางแผนทางการเงินและมองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดหย่อนภาษี
ซึ่งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและสามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งในเรื่องให้ความคุ้มครอง
และการออมเงินอย่างมีวินัย ตลอดจนการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน
รวมทั้งสิทธิประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สำหรับประชาชนที่กำลังวางแผนภาษีในช่วงปลายปีและกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มาตอบโจทย์เรื่องการลดหย่อนภาษี
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำว่า ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ รวมถึงประกันแบบบำนาญจะทำให้ท่านมีทั้งเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน
เป็นทั้งการออมและมีความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพในเวลาเดียวกัน รวมทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระในรอบปีสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป มาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และสำหรับท่านที่มีประกันสุขภาพยังสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพตามจำนวนที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน
25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญจะสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง
200,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขการหักลดหย่อนภาษีจะต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร
สำหรับประชาชนที่มีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ประกันบำนาญ ประกันสุขภาพอยู่แล้ว โปรดอย่าลืมแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัทประกันชีวิตที่ท่านทำประกันชีวิตไว้ด้วย
เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันภัยให้กับกรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด
มิเช่นนั้นผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันภัยฉบับนั้นได้
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 1) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม โดยลงพื้นที่ให้ความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์และประชาชนในชุมชนวัดจันทึก
อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2564 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่
13 ธันวาคม 2564
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวพิธีเปิด
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2565” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่
และส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุปีใหม่อุ่นใจ (ไมโครอินชัวรันส์)
ด้วยเบี้ยประกันภัย 10 บาท โดยมี 6 บริษัทประกันชีวิตเข้าร่วมโครงการ ได้แก่
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เอไอเอ จำกัด และบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนนำการประกันภัย มาใช้เป็นเครื่องมือบรรเทาความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น
โดยกรมธรรม์ดังกล่าวจะมอบฟรีให้กับลูกค้าของผู้เข้าร่วมโครงการ อาทิ Café
AMAZON, BLACK CANYON COFFEE, SCB
Protect และ TQM หรือแลกคะแนนเพื่อรับสิทธิ์ได้ที่
AIS, PT MAX CARD ปั๊มบางจาก LOTUS MONEY PLUS และ rabbit
care นอกจากนี้ยังได้จัดจำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส SHOPEE
และธนาคารออมสิน ตั้งแต่ 25 ธันวาคม 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2565
สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 – 70 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาความคุ้มครอง 30 วัน
นับจากวันที่ทำประกันภัย ทั้งนี้ การแถลงข่าวดังกล่าวได้จัดผ่านระบบออนไลน์
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน
คปภ.
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
(ที่ 3 จากซ้าย) พร้อมด้วยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ (ที่ 2
จากซ้าย) นายฐิติ ยศอนันตกุล (ซ้ายสุด) และนางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ (ขวาสุด) ซึ่งเป็นคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ประจำปี 2564 มอบเงินบริจาคจำนวน 100,000 บาท ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ
ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมี นางสุพัชนา อัษฎาธร กรรมการและเหรัญญิก (ที่ 3 จากขวา) และ นางสมจิตร์ รามนันทน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ (ที่ 2 จากขวา)
เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่อยู่ในความอนุเคราะห์
พร้อมทั้งช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ สังคม อาชีพแก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวให้มีสุขภาวะที่ดี
สามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตอย่างปกติโดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม
ซึ่งสมาคมฯ ได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารมูลนิธิฯ ถนนติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวัล“ตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
ครั้งที่ 38 ประจำปี 2564”
หรือ 38th THAILAND
NATIONAL QUALITY AWARDS (38th TNQA) เพื่อเชิดชูเกียรติตัวแทนประกันชีวิตที่มีคุณภาพดีเด่น
สามารถผลิตผลงานได้ตามเกณฑ์ จำนวน 2,085 ราย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด
สมาคมประกันชีวิตไทย ประธานการจัดงานพิธีมอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
ครั้งที่ 38 ประจำปี 2564 (THAILAND NATIONAL QUALITY AWARDS (38th TNQA) เปิดเผยว่า
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความยินดีกับตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ทั้ง 2,085 ราย พร้อมทั้งขอขอบคุณที่ได้สร้างผลงานคุณภาพตามเกณฑ์
ทั้งเบี้ยประกันภัยรับและการบริหารที่เป็นเลิศ สามารถรักษาอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ
90 ตลอดจนมีความภักดีต่อองค์กรต้นสังกัด หากแต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19)
ที่ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทุกวัน ทำให้การจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มบุคคลจำนวนมากเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง
อย่างไรก็ตามสมาคมประกันชีวิตไทยยังคงให้ความสำคัญต่อการเชิดชูเกียรติของบุคลากรฝ่ายขาย
ดังนั้นในปีนี้ สมาคมจึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเชิดชูเกียรติคุณให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
(THAILAND
NATIONAL QUALITY AWARDS) มาเป็นการจัดงานแบบโลกเสมือนจริง (Virtual
Event) ซึ่งได้มีการจัดทำวิดีทัศน์เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่ผ่านเกณฑ์การผลิตผลงานที่มีคุณภาพและมีการบริการที่เป็นเลิศ
และมีความภักดีต่อบริษัทที่เป็นต้นสังกัด ซึ่งจะเผยแพร่ในวันที่ 14 มกราคม 2565 ผ่านช่องทางเว็บไซต์
, Facebook , Youtube ของสมาคมประกันชีวิตไทย
โดยได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) และนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกล่าวแสดงความยินดี สำหรับการมอบรางวัลทางสมาคมประกันชีวิตไทยได้ส่งมอบโล่รางวัล
เกียรติบัตร และเข็มที่ระลึก ให้กับบริษัทต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการมอบแก่ตัวแทนประกันชีวิตของตนต่อไป
ซึ่งในปี 2564 นี้ มีตัวแทนประกันชีวิตที่ผลงานผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น
2,085 ราย จาก 15 บริษัทสมาชิก โดยรางวัลเกียรติยศสูงสุดคือ รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ
20 ปี พร้อมเกียรติบัตร ซึ่งปีนี้มีผู้พิชิตรางวัลนี้ได้ถึง 4 ราย ได้แก่ คุณภูเบศ ภวัตพิบูล บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) ,
คุณอาภาพร บุรีศรี บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , คุณสมบัตร์ ทิมจิต บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และคุณสุริศา
ไตรภูมิสุทธิ บริษัท เอไอเอ จำกัด รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 15 ปี พร้อมเกียรติบัตร
จำนวน 11 ราย รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 10 ปี พร้อมเกียรติบัตร จำนวน
38 ราย รางวัลโล่เกียรติคุณพร้อม
เกียรติบัตร จำนวน 67 ราย และรางวัลเกียรติบัตรจำนวน 1,965 ราย โดยมีตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลงานผ่านเกณฑ์
แยกรายบริษัทประกันชีวิต ดังนี้
1. บริษัท เอไอเอ
จำกัด จำนวน 1,094 ราย
2. บริษัท
กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 212 ราย
3. บริษัท
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 193 ราย
4. บริษัท
ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน
134 ราย
5. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 101 ราย
6. บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 69 ราย
7. บริษัท ชับบ์ ไลฟ์
แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 63 ราย
8. บริษัท
เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 63 ราย
9. บริษัท อลิอันซ์
อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 49 ราย
10. บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 45
ราย
11. บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 34 ราย
12. บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 21 ราย
13. บริษัท
ไทยซัมซุงประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ราย
14. บริษัท
พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ราย
15. บริษัท
เจนเนอราลี่ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ราย
นางนุสรา กล่าวเพิ่มเติมว่า
“ตัวแทนประกันชีวิตนับเป็นฟันเฟืองสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต
โดยเมื่อสิ้นปี 2563 ช่องทางตัวแทนประกันชีวิตสามารถผลิตเบี้ยประกันภัยรับรวมได้ถึง
320,348.61 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนทางการตลาดที่สูงถึงร้อยละ 53.37 ซึ่งเบี้ยประกันภัยที่ปรากฎนั้นล้วนเกิดจากการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความเป็นมืออาชีพ
ที่นอกจากจะต้องมีทักษะประสบการณ์และความรู้ความสามารถในการทำงานตามภาระหน้าที่แล้ว
ยังรวมถึงความสามารถในการทำให้ประชาชนเข้าใจประกันชีวิตและหันมาวางแผนทางการเงินโดยใช้การประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยงในทุกจังหวะของชีวิต
แม้ว่าในปัจจุบันระบบดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจประกันชีวิตมากเพียงใด แต่ธุรกิจประกันชีวิตยังจำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่จะมาเป็นผู้อธิบายเงื่อนไขและเอกสิทธิ์ตามกรมธรรม์ให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น
พร้อมคอยอำนวยความสะดวก ส่งมอบการบริการที่เป็นเลิศเมื่อลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ
ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจประกันชีวิตที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ”
พลอากาศเอก ชลิต
พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติรับมอบเงินบริจาค
จำนวน 100,000 บาท จากนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
(ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ (ที่ 2 จากขวา)
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการสมาคมฯ (ซ้ายสุด) นายฐิติ ยศอนันตกุล (ขวาสุด)
และนางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ (ที่ 2 จากซ้าย) คณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ประจำปี 2564 เพื่อให้โรงเรียนพระดาบสใช้เป็นทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการฝึกอาชีพแก่เยาวชน
ณ ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่
11 มกราคม 2565
การให้ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ
สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ
เป็นสัญญาที่ให้ความคุ้มครองการรักษาแบบ “ผู้ป่วยใน” หรือ “ผู้ป่วยนอก” ซึ่งคำว่า “ผู้ป่วยใน” หมายถึง
ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บหรือการป่วย ส่วน “ผู้ป่วยนอก” หมายถึง
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่ไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ที่ผ่านมาภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้ความร่วมมือในการดูแลเยียวยาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมออกไปมากกว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ เช่น การจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel)
หรือโรงพยาบาลสนาม หรือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) จึงมีการออกคำสั่งอนุโลมให้บริษัทจ่ายความคุ้มครอง เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
โดยบริษัทประกันชีวิตไม่ได้คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีทั้งผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจจะเป็น “ผู้ป่วยใน” หรือ “ผู้ป่วยนอก” ตามเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ
และแนวทางการรักษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกมาตรฐานทางการแพทย์ในการรักษาตามสภาวการณ์ของโรคในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวปฏิบัติการรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ที่จะเข้าเป็น “ผู้ป่วยใน”
ในโรงพยาบาล จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
“ข้อใดข้อหนึ่ง” ดังนี้
1.
เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2.
หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่
3.
Oxygen
Saturation < 94%
4.
โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ตามดุลยพินิจของแพทย์
5.
สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง
ทั้งนี้ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้คุ้มครองตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ และแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาโดยตลอด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมไม่ให้เกิดความสับสนของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
และการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน ยังคงปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาทุกประการ
โดยไม่ได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเรียกร้อง หรือลดทอนสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด
การเรียกร้องผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
(Hospital Benefit : HB)
ตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
(Hospital Benefit : HB)
ภาคธุรกิจประกันชีวิตจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่เข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
เพื่อการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บหรือการป่วย เท่านั้น ไม่ครอบคลุมการขาดรายได้จากการพักฟื้น
หรือการกักตัว
ทางการแพทย์ต้องเข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) หรือโรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) ด้วย จนถึงปัจจุบัน โดยบริษัทประกันชีวิตไม่ได้คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ปกติภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ
แต่หากผู้ป่วยรายใดมีประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิต
บริษัทประกันชีวิตจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นลำดับแรกตามที่โรงพยาบาลที่ทำการรักษาเรียกเก็บตามผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563
สมาคมประกันชีวิตไทย
7 กุมภาพันธ์ 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “การประยุกต์ใช้
Adjusted
RW ในการบริหารจัดการสินไหมสุขภาพ” โดยได้รับเกียรติจาก
ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย ที่ปรึกษาสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย พร้อมทั้ง นพ.ชัยโรจน์
ซึงสนธิพร ที่ปรึกษาสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และ ดร.อรทัย เขียวเจริญ
ผู้จัดการสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) ร่วมบรรยายวิชาการ ในหัวข้อ “ทำความรู้จักค่าสัมพัทธ์สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม
(Adjusted RW)” ให้แก่บุคลากรผู้ที่ปฏิบัติงานฝ่ายสินไหมและฝ่ายพิจารณารับประกันภัย เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมีคุณสายพิณ โชคนำกิจ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาออนไลน์ เมื่อวันที่ 11
กุมภาพันธ์ 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการตลาด จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง
“E-Insurance
ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain
กับธุรกิจประกันชีวิต” โดยได้รับเกียรติจาก คุณไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย
สำนักงาน คปภ. เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “E-Insurance ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง”
พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณสิริวัฒน์ เกียรติเจริญสิน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากรบรรยาย
ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับธุรกิจประกันชีวิต”
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิต และประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมี คุณภฤตยา สัจจศิลา กรรมการประจำคณะอนุกรรมการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการตลาด
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาออนไลน์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับธุรกิจประกันชีวิต”
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรกเป็นการบรรยายวิชาการในหัวข้อ
“ประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต
โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง” จากคุณไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย
สำนักงาน คปภ. คุณนัทธฤทัย สนิทนอก ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มงานกำกับผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย
สำนักงาน คปภ. และคุณปิยะวรรณ มิลินทานุช ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มงานกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
สำนักงาน คปภ. ให้เกียรติเป็นวิทยากร นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณพลอย
เจริญสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.:
ETDA) เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ เรื่อง
“พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง”
สำหรับช่วงที่สองเป็นการร่วมเสวนาวิชาการ
เรื่อง “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทำอย่างไรให้ถูกต้อง” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณศุภกิจ
สัตยารัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนานโยบายการกำกับช่องทางการจำหน่าย คุณไพบูลย์
เปี่ยมเมตตา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย คุณณัฐณิชา
เทียนหอม ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มวางแผนและพัฒนากฎหมายด้านความมั่นคงทางการเงิน สำนักงาน
คปภ. และคุณพลอย เจริญสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(สพธอ. : ETDA) ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
โดยมีคุณคุณกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการและกรรมการประจำคณะอนุกรรมการกฎหมาย
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม
2565
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษสิทธิโชค ศรีเจริญ ประธานกรรมการกองทุนศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ นพ.ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สิริกิติ์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และผศ. ดร. นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและจัดการสุขภาพ
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนา
เรื่อง “ประกันโควิด ทิศทางที่น่าจะเป็นสำหรับประเทศไทย” เนื่องในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ (ครั้งที่ 27) ประจำปี 2565 จัดโดยกองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึก
เชิงวิชาการ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดและหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคระบาด
ให้แก่ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พนักงานของรัฐ ทนายความ
อาจารย์ นักวิชาการอิสระ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย
และประชาชนที่สนใจ ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากนายอดิศร
พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ
สายกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย องค์ปาฐกแสดงปาฐกถานำ
ในรูปแบบออนไลน์ ถ่ายทอดผ่านเว็บไซต์ Facebook
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่
26 มีนาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด พร้อมด้วย นายโชน โสภณพนิช อุปนายกฝ่ายวิชาการ และคณะผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบ นายวรวิทย์
เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจประกันชีวิต
และแจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานของสมาคมฯเกี่ยวกับโครงการศึกษาผลกระทบทางภาษีเพื่อรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่
17 (IFRS 17) ณ อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ 1 (สีลม)
ชั้น 30 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการลงทุน จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “Introduction
for ESG Methodology & How incorporate in investment process ซึ่งได้รับเกียรติจาก
Ms. Yasman Moghaddam Director – Global Industry Practice Group Ms. Jewel
Myrtel Bautista Associate Director และ Mr. Giovanni
Mangini Director Actuary จากบริษัท Moody’s Investors
Service (Moody’s) เป็นวิทยากรในการบรรยาย
ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเงินจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การนำนโยบาย ESG Climate มาประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน
และประเมินความเสี่ยงด้านการลงทุน ซึ่งในปัจจุบัน ESG (Environment,
Social, และ Governance) ได้กลายเป็นหนึ่งในแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
ที่องค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ
และนักลงทุนได้เริ่มมีการนำแนวคิดนี้มาใช้ประกอบการพิจารณาก่อนการตัดสินใจลงทุนควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินมากขึ้น
ด้วยความเชื่อว่าบริษัทที่มีการผนวกรวมแนวคิด ESG เข้ากับแผนกลยุทธ์จะสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ
และทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน อาทิเช่น สำนักงาน คปภ.
ได้มีการบรรจุเรื่อง ESG ในแผนพัฒนาประกันภัย ฉบับที่ 4
และได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต.
และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Finance Initiatives for Thailand) ด้วยความสำคัญข้างต้น
คณะอนุกรรมการลงทุนจึงได้จัดการสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น โดยมีนายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานคณะอนุกรรมการลงทุน สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาดังกล่าว ผ่านระบบ Microsoft Team เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการลงทุน จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์
เรื่อง “Digital
Asset for Insurance” ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณพีระสิทธิ์ จิวะพงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Bitkup Infinity จำกัด เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) รวมทั้งเป็นการเปิดมุมมองด้านการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใหม่
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นภายใต้สภาวการณ์เศรษฐกิจที่มีความผันผวนในปัจจุบัน
จากกระแสการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากสามารถทำธุรกรรมได้ตลอดเวลา
และมีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม จึงทำให้นักลงทุนไทยที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูงในสภาวการณ์เศรษฐกิจที่มีความผันผวนหันมาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีหลากหลายประเภท เช่น Cryptocurrency
/ Digital Token / Utility Token และ NFT เป็นต้น
ซึ่งแต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น
เพื่อทำความเข้าใจและรับทราบความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท
คณะอนุกรรมการลงทุน สมาคมประกันชีวิตไทย จึงได้จัดการสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น
โดยมีนายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานคณะอนุกรรมการลงทุน สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาดังกล่าว ผ่านระบบ Microsoft Team เมื่อวันที่ 4
เมษายน 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “ภาวะลองโควิด
(Long COVID) และผลกระทบของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19”
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้พิจารณารับประกันภัยและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ต่อไป
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และถึงแม้ผู้ที่ติดเชื้อจะรักษาตัวจนหายดีแล้วก็ยังมีโอกาสป่วยเป็น Long
COVID ได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เอาประกันภัยและประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระยะยาว
โดยการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรกเป็นการบรรยายวิชาการในหัวข้อ
“ภาวะลองโควิด (Long COVID) และผลกระทบของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19” โดยแพทย์หญิงวรีรัตน์ ยมจินดา
ที่ปรึกษาด้านบริการวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ช่วงที่สองเป็นการเสวนาวิชาการ
เรื่อง “โควิด-19 กับการพิจารณารับประกันภัย” โดยวิทยากรที่ร่วมเสวนา ประกอบด้วย แพทย์หญิงวรีรัตน์
ยมจินดา ที่ปรึกษาด้านบริการวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณสุวรรณี อภิชัยกิจดำรง รองประธานอาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คุณสุภาพร คุณานนท์วัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย คุณโสมอุษา ชิดชนกนารถ รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยหม่อมหลวงจิรเศรษฐ
ศุขสวัสดิ์ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์
ผ่านระบบ Microsoft Team เมื่อวันที่ 5 เมษายน
2565
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เผยว่า เทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยที่กำลังจะมาถึงนี้
คนส่วนใหญ่ต่างกำลังวางแผนการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว
หรือกลับภูมิลำเนาเพื่อไปเยี่ยมเยียนครอบครัว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวของทุก ๆ ปีมักมีการจราจรที่คับคั่ง
ทำให้สามารถเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย
ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอเชิญชวนประชาชนเตรียมพร้อมวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิตหรือประกันอุบัติเหตุ
เพื่อให้การท่องเที่ยวในวันหยุดยาวนี้เป็นไปอย่างมีความสุขไร้ซึ่งความกังวลใจ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในระหว่างการเดินทาง
ไม่ว่าจะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือเจ็บมาก
ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างดี ซึ่งในปัจจุบันเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุมีราคาถูก
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะถึงนี้ ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ส่งมอบความสุขและสร้างความอบอุ่นใจในการเดินทางให้กับประชาชน
ในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยที่มีราคาถูก “กรมธรรม์ประกันภัยสงกรานต์สุขใจ
(ไมโครอินชัวรันส์)”
เบี้ยประกันภัยเพียง 10 บาท แต่ให้ความคุ้มครองกรณีการเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า
การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุสูงสุดถึง 100,000 บาท ระยะเวลาเอาประกันภัย 30
วัน โดยจะรับประกันภัยให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้
กรมธรรม์ดังกล่าวเริ่มจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31
พฤษภาคม 2565 โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่ร่วมจำหน่ายกรมธรรม์ดังกล่าว 6 บริษัท
ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอไอเอ จำกัด
สำหรับผู้ที่ได้ซื้อประกันชีวิตเอาไว้แล้ว
โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (Covid-19)
ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
และในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทยที่กำลังจะถึงนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุข
ความสำเร็จ สมบูรณ์ พูลลาภ ในสิ่งอันพึงปรารถนาตลอดไปครับ
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร
ร่วมงานแถลงข่าวและพิธีเปิด “โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ประจำปี 2565” พร้อมเปิดตัว“กรมธรรม์ประกันภัยสงกรานต์สุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”
ในรูปแบบออนไลน์ (online)
ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วยดำริของ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ.และความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย อาทิ
สภาธุรกิจประกันภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการ ใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนเกิดการสูญเสีย
และอาจทำให้เสียศูนย์ พร้อมเชิญชวนให้บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย
ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ เมื่อวันจันทร์ที่
11 เมษายน 2565
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย
และนางสุรางคณา วายุภาพ Chief Executive Officer บริษัท
บีเทค เทค คัมพะนี จำกัด ร่วมเสนอความคิดเห็นในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยเกี่ยวกับผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์บริหารและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันภัยแห่งชาติ
(National Insurance Bureau - NIB)
ผ่านการประชุม
“ยกระดับการจัดการข้อมูลการประกันภัยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและความเข้มแข็งของธุรกิจประกันภัยด้วย
National Insurance Bureau” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับคณะที่ปรึกษาโครงการ โดย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท บีเทค เทค คัมพะนี จำกัด ณ ห้องจามจุรี บอลรูม A ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส และถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ Zoom
Application เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2564 ระหว่าง มกราคม -
ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 614,115.5 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
เมื่อเทียบกับปี 2563 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 170,718.6 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 443,396.9
ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
82
สำหรับภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในไตรมาสแรก
ปี 2565 ระหว่าง มกราคม – มีนาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 150,427.3 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ
1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ปี 2564 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 40,958.0 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 6.1 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป
109,469.3 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.02 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 82
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก 26,325.7 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
2.)
เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว 14,632.2 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 23.5
หากจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่ายจะปรากฏ
ดังนี้
1.
การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency)
มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 73,558.6 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 5.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
48.9
2.
การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 61,346.0
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 9.1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.8
3.
การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker)
มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 8,172.0 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 0.2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4
4. การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
3,526.1 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ
1.0 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3
5. การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
205.3 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 35.1
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1
6. การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ (Direct Mail) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
8.6 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 13.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
0.01
8. การขายผ่านช่องทางอื่น (Others) เช่น การขาย Worksite, การขายผ่านการออกบูธ, การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ
เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 3,610.7 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 7.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4
เมื่อพิจารณาแยกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในช่วงไตรมาสแรก
ปี 2565 พบว่า เบี้ยรับรวมของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง 27,181.4 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.1 ซึ่งหลักๆ มาจากการที่ประชาชนเริ่มตระหนักถึงการดูแลและวางแผนเตรียมความพร้อมสุขภาพมากขึ้น
เนื่องจากจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
ในขณะที่เบี้ยรับรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity)
อยู่ที่ 2,066.1 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
1.4 โดยมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยและคนไทยมีอายุขัยมากขึ้นจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นในอนาคต
รวมถึงจากการที่ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี ประชาชนจึงได้เริ่มมองหาตัวช่วยเพื่อเตรียมพร้อมทางด้านการเงินเมื่อเข้าวัยเกษียณ
ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit- Linked +Universal Life) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมเติบโตลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่
1 ปี 2564 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 11,210.2 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
7.5 ของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมด
สำหรับปี 2565
สมาคมประกันชีวิตไทยคาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 612,000 – 629,500 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตระหว่างร้อยละ 0 ถึง 2.5 และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประมาณร้อยละ 82 ถึง
83 เนื่องจาก จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ปี 2564 พบว่า ธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
GDP (Insurance Penetration Rate) ยังอยู่ในระดับน้อยหรืออยู่ที่
3.8% แสดงถึงธุรกิจประกันชีวิตยังมีโอกาสที่ยังสามารถเติบโตได้
ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
(GDP) ในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.5 – 4.5
นอกจากนี้ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
รวมถึงประกันบำนาญ ที่เป็นเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงินซึ่งเป็นทั้งการออมและมีความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพ
ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ (Innovation) เพื่อพัฒนากระบวนการเสนอขายและบริการ รวมถึงพัฒนากระบวนการขายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น
อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตยังต้องเผชิญกับความท้าทายและปัจจัยความเสี่ยงที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง
ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ายมากขึ้น
ในขณะที่การฟื้นตัวภาคเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในระดับที่ฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ซึ่งมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น
แต่จะยังไม่ส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจในทันที รวมถึงมาจากปัจจัยที่ไม่แน่นอนของภาวะสงครามระหว่างประเทศ
สงครามการค้า การเกิดใหม่ของสงครามเทคโนโลยี (Cyber War) และสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
ที่ภาคธุรกิจต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน อาทิ
พฤติกรรมการใช้จ่ายและไลฟ์สไตล์ความต้องการของลูกค้า สถานการณ์เศรษฐกิจ และทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที
เป็นต้น นอกจากนี้แต่ละบริษัทประกันชีวิตยังต้องเผชิญกับกฎหมายใหม่ เช่น พ.ร.บ.
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) พ.ศ.
2562 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในเดือน มิ.ย.
2565 และ มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS17 (สัญญาประกันภัย) ที่เริ่มบังคับใช้ในปี 2567 เป็นต้น
ในปี 2565
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล
(Personalized) การเน้นประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการทำประกันชีวิตให้กับภาคประชาชน
การสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ (Digitalization) มาใช้ในกระบวนการเสนอขายและการส่งมอบบริการหลังการขายเพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันภัยและวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาระบบสอบตัวแทนประกันชีวิตแบบ Virtual Examination (E-Exam) เพื่อดึงดูดให้คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่อยากสมัครเข้าร่วมในเส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิตมากขึ้น
และ การมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ทุกบริษัทประกันชีวิตจะต้องมีการดำเนินงานภายใต้ธรรมาภิบาลที่ดี
(Good Governance) ทั้งนี้สมาคมประกันชีวิตไทยจะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจ
ทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นที่ได้รับความร่วมมือทั้งจากบริษัทประกันชีวิตและหน่วยงานกำกับ
รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย
เพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.)
โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อกำกับและติดตามงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน
และสามารถให้บริการลูกค้าได้ทุกรูปแบบไปพร้อมกับเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ที่สำคัญสมาคมประกันชีวิตไทยมีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตจะต้องมีการดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน
ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Capital
Adequacy Ratio Statistics) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
(ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงาน คปภ.)
เพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจะสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
และสามารถดูแลเคียงข้างประชาชนในระยะยาวได้ จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชีวิตในทุกแบบผลิตภัณฑ์เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคง
แข็งแกร่งและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวเพิ่มเติม
สมาคมประกันชีวิตไทย
เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2564 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม โดยลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในวิสาหกิจชุมชนรักษ์เขาบายศรี
อ.ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565
นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาเรื่อง
“โอกาสและผลกระทบของผู้บริโภคด้านการประกันภัยในยุค New
Normal ปัญหาและแนวทางแก้ไข” ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง
(วปส.) รุ่นที่ 10 ซึ่งจัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) ณ ห้อง
บอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานเปิดงานสัมมนาให้ความรู้สื่อมวลชน ในหัวข้อ “New
Health Standard” สำคัญอย่างไร ทำไมต้องรู้
เพื่อให้ความรู้แก่สื่อมวลชน และสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และประเด็นสำคัญของสัญญาการประกันภัยสุขภาพ
แบบมาตรฐาน (New Health Standard) และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนได้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างถูกต้องต่อไป
โดยในงานเริ่มด้วยการบรรยายวิชาการ
เรื่อง ภาพรวมของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ ประเภทสามัญแบบมาตรฐาน ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพมาตรฐานประเภทสามัญ
แบบมาตรฐาน และสาระสำคัญของ New Health Standard โดยได้รับเกียรติจาก นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นผู้บรรยาย
จากนั้นในช่วงของการเสวนาวิชาการ
ในหัวข้อ “New Health Standard” สำคัญอย่างไร ทำไมต้องรู้ ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการประกันชีวิต
ประกอบด้วย นายแพทย์ประมุกข์ ทรงจักรแก้ว ที่ปรึกษาคณะแพทย์ที่ปรึกษา ร้อยเอกนพ.วุฒิวงศ์ สมบุญเรืองศรี รองประธานคณะแพทย์ที่ปรึกษา
นางวัชรา สถาพรพิริยะเดช รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และนางสาวมณียา
โสมะเกษตริน รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต
มาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูล มุมมองอันเป็นประโยชน์ในประเด็นต่าง ๆ
พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับคำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 เรื่องหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบและข้อความสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพประเภทสามัญ
แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน
2564 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้พิจารณาขยายระยะเวลาให้บริษัทประกันปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวพร้อมกันในวันที่
1 กรกฎาคม 2565
โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ
ทั้งในส่วนคำนิยาม เงื่อนไขต่างๆ ตารางผลประโยชน์
ข้อตกลงความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
และการเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment)
ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
วิธีการรักษาทางการแพทย์ และวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ให้มีความยั่งยืนเป็นธรรมและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุข
ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และสามารถใช้ความคุ้มครองดังกล่าวในการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยทางด้านการเงินในยามที่เจ็บป่วยได้อย่างยั่งยืน
โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้อง Le Lotus 1 ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดกิจกรรมซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ประจำปี 2565 ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สมาคมฯ
โดยมีนายอนุภาพ จังหาร พนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับชำนาญงาน พร้อมด้วย นายปธาน
อินทวงษ์ พนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับปฏิบัติงาน จากสถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางกะปิ
ร่วมเป็นวิทยากร ภายในงานมีการบรรยายทฤษฎีการป้องกันอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ดับเพลิงชนิดต่างๆ
การเรียนรู้ปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน และการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
รวมถึงการฝึกสถานการณ์จำลองอพยพหนีไฟ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงบทบาทหน้าที่
และการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี หากเกิดอัคคีภัยขึ้นจริง
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารสมาคมประกันชีวิตไทย ทราบขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้
อันเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับกรณีเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ณ ห้องประชุม ชั้น 7 และลานจอดรถ สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการลงทุน จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง “Integrating
Climate Risk Into Your Investment Decision Making Process” ซึ่งได้รับเกียรติจาก Mr. Jimmy Nguyen Associate Director,
Credit & Risk Product จาก S&P Global Market Intelligence Inc. เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากวิกฤตภูมิอากาศ (Climate
Risk) และ Climate Credit Analytics ที่ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญ เพราะในโลกการลงทุนปัจจุบันความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ
ESG กำลังเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง
สถาบันและนักลงทุนทั่วไปเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น สำหรับธุรกิจประกันชีวิตได้มีการศึกษารูปแบบลงทุน
การประเมินความเสี่ยง และกรอบนโยบายการลงทุน ESG อย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนขององค์กรและระดับโลก
รวมไปถึงเป็นการเตรียมความพร้อมหากหน่วยงานกำกับขยายกรอบการลงทุน ภาคธุรกิจจะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีนายสุขวัฒน์
ประเสริฐยิ่ง ประธานคณะอนุกรรมการลงทุน เป็นประธานประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เมื่อวันที่
14 มิถุนายน 2565
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิต :
ความท้าทายและโอกาสการบริหารธุรกิจประกันชีวิต ภายใต้ Uncertainty
Risks” ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่
10 ซึ่งจัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.)
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันภัย
การบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และพัฒนาการของระบบประกันภัย
รวมทั้งแนวคิดการเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมและการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จให้สอดคล้องกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมโลก ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพให้กับระบบประกันภัย
ณ ห้อง บอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อเร็วๆนี้
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดที่ทำการสำนักงาน
คปภ. จังหวัดนครนายก ในโอกาสนี้ นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย
ได้นำหน่วยงานสมาชิกที่ประกอบด้วยสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย มอบโทรทัศน์เพื่อไว้ให้บริการแก่ประชาชนที่มาติดต่อใช้บริการสำนักงาน
ณ อาคารเลขที่ 220 หมู่ 5 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่
27 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤติการขาดแคลนโลหิตครั้งใหญ่ จนมีผู้ป่วยหลายรายที่ต้องเลื่อนการผ่าตัดและการรักษาพยาบาลออกไป โดย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สามารถจ่ายโลหิตให้ผู้ป่วยได้เพียง 28% ของจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการโลหิตในการรักษาเท่านั้น ซึ่งขณะนี้สถานการณ์โรคระบาดได้คลี่คลายไปมากแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะสามารถกลับมาบริจาคโลหิตได้ตามปกติ ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิต โดยความร่วมมือของสี่องค์กรหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และกองทุนประกันชีวิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีโลหิตไว้สำรองเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย จึงได้ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รณรงค์ให้บุคลากรของธุรกิจประกันภัยและประชาชนร่วมบริจาคโลหิต เพื่อเป็นการแสดงความรักความห่วงใยต่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยการจัดหาโลหิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน และได้ส่งมอบโลหิตไปแล้วกว่า 19,554,319 ซีซี
สำหรับในปีนี้การจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 21 ประจำปี 2565 กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.30-16.00 น. ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ของโลหิตที่ทุกท่านบริจาค จะสามารถช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้ดังนี้
- เกล็ดเลือด นำไปรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- เม็ดเลือดแดง นำไปรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ ผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากการผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร
- พลาสมา นำไปรักษาผู้ที่มีอาการช็อคจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่ม
ขณะเดียวกัน ประโยชน์ที่ผู้บริจาคโลหิตเป็นประจำจะได้รับ คือ ได้ตรวจสุขภาพ ตรวจคุณภาพโลหิตทุก 3 เดือน ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี ไวรัสเอดส์ และเชื้อซิฟิลิส อีกทั้งยังได้ริบสิทธิพิเศษในการรักษาพยาบาล เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่มีค่าที่สุดที่ผู้บริจาคจะได้รับ คือความสุขใจจาก “การให้” เพื่อต่อชีวิตให้กับคนอื่น ซึ่งถือว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่และงดงามที่สุด
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
และคณะผู้บริหารในโครงการหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 10 ที่ได้ให้เกียรติเยี่ยมดูงานของบริษัท ฯ พร้อมบรรยายภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต และ กลยุทธ์การดำเนินงานของสมาคมประกันชีวิตไทย
ณ อาคารหอประชุมเมืองไทยประกันชีวิต ชั้น 2 บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต (สำนักงานใหญ่) ถ.รัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์
เรื่อง “กัญชาเสรีกับความรู้ทางการแพทย์” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ สหภูมิ ศรีสุมะ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เกี่ยวกับคุณประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาเพื่อรักษาทางการแพทย์
เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศให้กัญชา กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติด
ซึ่งการปลดล็อกในครั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากกัญชา
กัญชงได้อย่างเหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันนั้นมีหลายองค์กรได้ออกมาแสดงความห่วงใยต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน
เกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้กัญชา กัญชง ทั้งนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงได้จัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
โดยมีนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาดังกล่าว ผ่านระบบ Microsoft Team เมื่อวันที่
8 กรกฎาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์
จัดการสัมมนาให้ความรู้สื่อมวลชน ในหัวข้อ “ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นมีผลกระทบอย่างไรกับธุรกิจประกันชีวิต”
ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอิฎฐ์
อภิรักษ์ติวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ บริษัท
พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายปาณัท สุทธินนท์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้แก่สื่อมวลชน และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการบริหารความเสี่ยงและการลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและขาลง
รวมถึงผลกระทบเชิงเทคนิค ความมั่นคงทางการเงิน และการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง
(Risk Based Capital) มุมปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยท้าทาย แนวทางการแก้ปัญหาและแผนการรับมือต่อภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและขาลงของธุรกิจประกันชีวิต
ตลอดจนเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้สำหรับการเสนอพร้อมทั้งเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนได้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างถูกต้องต่อไป
โดยมี นางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานฯ พร้อมด้วยอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และ นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ให้การต้อนรับสื่อมวลชน ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะทำงาน
TFRS
17 ประกอบด้วยผู้แทนคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี
และผู้แทนคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัย จัดการประชุมหารือและแสดงความคิดเห็น ในหัวข้อ
“Strategic direction and decision for future corporate income tax when
TFRS 17 will be effective” ให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสมาชิก
22 บริษัทและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังการสรุปสาระสำคัญรวมถึงความคืบหน้าการดำเนินงานทางด้านภาษีและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยปี
2568 เพื่อให้บริษัทสมาชิกได้เตรียมความพร้อมในการกำหนดทิศทางและแนวทางจัดการเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เหมาะสมกับการดำเนินงานของแต่ละบริษัทในอนาคต
ผ่านระบบ Microsoft Teams เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทยมอบทุนและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนิสิตหรือนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาวิชาการประกันภัยหรือสาขาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประกันชีวิต ด้วยงบประมาณ 533,000 บาท จำนวน 66
รางวัล จาก 13 สถาบันการศึกษา
เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่สู่ธุรกิจประกันชีวิต
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 47 ปี
ที่สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคม
หนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมที่สมาคม ฯ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี คือ
การมอบทุนและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาวิชาการประกันภัยและสาขาที่เกี่ยวข้อง
โดยวัตถุประสงค์สำคัญของกิจกรรมดังกล่าว คือ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้และการเข้าถึงการประกันชีวิตให้กับประชาชนทุกระดับ
(Life
Insurance Literacy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาการประกันภัย
เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้การประกันชีวิตเข้าสู่อุตสาหกรรมประกันภัย
ซึ่งในปีนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยให้การสนับสนุนมอบทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2564 ให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล
(Data
Analytics) ด้วยเป็นครั้งแรก เพราะเล็งเห็นว่า
การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ
ถือเป็นแนวทางที่แต่ละองค์กรควรให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการ
รวมถึงภาคธุรกิจควรมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนิสิตหรือนักศึกษาที่มีทักษะดังกล่าวเร่งเข้าสู่เป็นกำลังแรงงานที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับประเทศ
สำหรับพิธีมอบทุนและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดสรรงบประมาณรวมทั้งหมด 533,000 บาท เพื่อเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิตหรือนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี สอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาการประกันภัย รวมถึงสาขาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล จากสถาบันการศึกษาของภาครัฐและภาคเอกชนรวม 13 สถาบัน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คิดเป็นจำนวนรางวัลรวมทั้งสิ้น 66 รางวัล โดยแบ่งเป็น ทุนการศึกษาด้านวิชาประกันชีวิต หรือ คณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นสาขาหรือวิชาเอก ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 24 ทุน ทุนการศึกษาด้าน Data Analytics ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 7 ทุน รางวัลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรงรางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 11 รางวัล รางวัล ASA Course I (Exam P - Probability) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน 9 รางวัล และ รางวัล ASA Course II (Exam FM - Financial Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน 15 รางวัล
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความยินดีกับนิสิต
นักศึกษา ทุกคนที่ได้รับทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้
และยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาเดินหน้าผลิตเยาวชนที่เต็มไปด้วยคุณภาพและความสามารถ
ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันชีวิตในอนาคตให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ณ ห้อง Le
Lotus ชั้น 2 โรงแรม สวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 27
กรกฎาคม 2565 โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาเลือกตั้งนายกสมาคมประกันชีวิตไทยและคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่
ประจำปีบริหาร 2565 – 2567 (1 กรกฎาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2567) ซึ่งในที่ประชุมได้มีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เลือก นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ต่ออีกหนึ่งวาระ
(2 ปี)
สำหรับรายนามกรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ประจำปีบริหาร 2565 - 2567 มีดังต่อไปนี้
1. นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
2. นายโชน
โสภณพนิช อุปนายกฝ่ายวิชาการ
3.
นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร
4. นางนุสรา
บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด
5. นายกิตติ
ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคม
6. นายสุทธิ
รจิตรังสรรค์ เหรัญญิกสมาคม
7. นายนิคฮิล
อาชวานิ แอดวานี กรรมการบริหาร
8. นายเดวิด
จอห์น โครูนิช กรรมการบริหาร
9. นายสวัสดิ์
นฤวรวงศ์ กรรมการบริหาร
10. นางแซลลี่
จอย โอฮาร่า กรรมการบริหาร
11. นางภฤตยา
สัจจศิลา กรรมการบริหาร
12. นายโรบิน
ลอยด์ สเปนเซอร์ กรรมการบริหาร
13. นายโตโยทาเกะ
คูวาตะ กรรมการบริหาร
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี
2565 ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 289,097 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี
2564 โดยจำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 79,685 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 4.75 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป
209,412 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.82 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
82
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก
49,331 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.79
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว
30,354 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 19.90
หากจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่ายจะปรากฏ
ดังนี้
1.
การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 147,747 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.50 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.11
2.
การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 114,692 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 7.52 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
39.67
3.
การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 13,848 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ
0.51 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.79
4.
การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
6,984 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 1.47 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
2.42
5.
การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
384 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
0.13
6.
การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ (Direct Mail) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
17 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 15.50 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
0.01
7.
การขายผ่านช่องทางอื่น (Others)
เช่น การขาย Worksite, การขายผ่านการออกบูธ, การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 5,425 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 18.32 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
1.88
ทั้งนี้
เมื่อพิจารณาแยกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรก ปี 2565 พบว่า เบี้ยประกันภัยรับรวมของสัญญาเพิ่มเติมประกันภัยสุขภาพ
(Health) และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง (CI) อยู่ที่ 50,808 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2564 ซึ่งหลัก ๆ มาจากการที่ประชาชนเริ่มตระหนักให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและการทำประกันสุขภาพมากขึ้น
เนื่องจากจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) อยู่ที่ 4,540 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
6.98 ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ประกันบำนาญเป็นเครื่องมือการเงินประเภทหนึ่งที่ช่วยสร้างวินัยทางการออมให้มีฐานะการเงินที่เพียงพอต่อความเป็นอยู่ในช่วงเกษียณ
และมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเมื่อเข้าวัยเกษียณ
อย่างไรก็ตามภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีแรกของปี
2565 อยู่ในระดับที่ชะลอตัว
มีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมลดลงจากช่วงเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
อาทิ อัตราค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์เงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงและส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน
รวมถึงภาวะดอกเบี้ยที่มีความผันผวนและสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่า ทำให้ประชาชนชะลอการลงทุน
จะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-
Linked + Universal Life) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 19,825
ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 8.22
สำหรับทิศทางภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี
2565 ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี
โดยคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2565 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,000 – 629,500 ล้านบาท อัตราการเติบโตระหว่างร้อยละ
0 ถึง 2.5 และอัตราความคงอยู่ประมาณร้อยละ 82 ถึง 83 โดยหลักๆ มาจากปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
ที่คนใส่ใจและดูแลสุขภาพ และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันสุขภาพมากขึ้น
รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุของไทยในปัจจุบัน
ทำให้ประชาชนเริ่มหันมาทำประกันชีวิตแบบบำนาญมากขึ้น ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการซื้อประกันผ่านช่องทางออนไลน์
รวมกับ ช่องทางหลักอย่างช่องทางตัวแทนและช่องทางอื่นๆ เริ่มมีสัดส่วนที่มากขึ้น จากความสะดวก
รวดเร็วและเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายมากขึ้น
เพราะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลและเลือกแบบประกันที่ตรงกับความต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต
เรื่องของการลดหย่อนภาษี รวมถึงเรื่องการขายรูปแบบ Digital Face to Face ที่ลดขั้นตอนและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการเสนอขายประกันชีวิต
ซึ่งช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี
2565 ธุรกิจประกันชีวิตยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ
สงครามการค้าระหว่างประเทศ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่
การเกิดใหม่ของสงครามเทคโนโลยี (Cyber War) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(PDPA) พ.ศ. 2562 และสัญญาการประกันภัยสุขภาพแบบมาตรฐานใหม่
(New Health Standard)
ส่งผลให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตต้องพัฒนาแบบประกันและการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
ปรับกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องบริหารความเสี่ยงรอบด้านทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานได้ทันต่อสถานการณ์ และให้ฐานะทางการเงินของบริษัทประกันยังเติบโตได้มั่นคงและแข็งแกร่ง
ทั้งนี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจ ในการรับมือต่อปัจจัยท้าทายและความไม่แน่นอนรอบด้าน
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล
(Personalized) มากขึ้น รวมถึงผลักดันให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
หรือนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) มาใช้ในกระบวนการเสนอขายและการส่งมอบบริการหลังการขาย
เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของภาคธุรกิจ
ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น ในขณะที่สมาคมฯ มีการนำระบบสอบตัวแทนประกันชีวิตแบบ
Virtual Examination (E-Exam) ระบบการออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
(E-Licensing) และระบบการอบรม –
การขอต่อใบอนุญาตตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิตในรูปแบบ E-Learning มาใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ที่สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นตัวแทนประกันชีวิต
ปัจจุบัน
สมาคมประกันชีวิตไทยมีการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย เพื่อเป็นแกนกลางทำงานร่วมกันระหว่าง
บริษัทประกันชีวิตและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถดำเนินการตามแผนงานได้รอบด้าน
และช่วยผลักดันให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวเพิ่มเติม
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตและคณะผู้บริหารสมาคมฯ
ร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2565 (CEO Insurance Forum 2022)
ภายใต้หัวข้อ “Rebuilding Insurance Resilience to overcome the VUCA
World” ซึ่งเป็นเวทีในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารสำนักงาน
คปภ. และผู้บริหารภาคธุรกิจประกันภัย เกี่ยวกับนโยบายในการพัฒนาระบบประกันภัยไทย พร้อมแสดงข้อคิดเห็น
และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงประสบการณ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมและกล่าวปาฐกถาพิเศษ
ณ ห้องประชุม CRYSTAL ชั้น 3
โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” (ปี 5) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสนี้ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ได้ให้การต้อนรับ
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และ นายวิเชียร อนุสาสนนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ชุมชนบ้านนาคูหา อ.เมือง จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม
2565
สมาคมประกันชีวิตไทย ได้รับ 2 รางวัลเกียรติยศ
รางวัลนายกสมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2565 และ รางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม ประจำปี
2565 จาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภายในงาน Together is Power 2022 ซึ่งจัดโดย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำหรับรางวัล
“นายกสมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2565” นับเป็นอีกหนึ่งรางวัลของนายสาระ ล่ำซำ
กับบทบาทผู้นำองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิต
ในการประสานและทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจ ตลอดจนภาคประชาชน
และจากการบริหารงานดังกล่าวส่งผลให้สมาคมประกันชีวิตไทยได้รับรางวัล“สมาคมการค้ายอดเยี่ยม
ประจำปี 2565”
ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของสมาคมการค้าที่มีความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน
ผ่านเกณฑ์การประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการ Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านผลสำเร็จตามพันธกิจ
ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพการให้บริการและด้านการพัฒนาองค์กร
ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยได้รับรางวัลสูงสุดนี้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ปี 2558 ,
2560 , 2562 , 2563 2564
และปี 2565 นี้เป็นสมัยที่ 6 ณ ห้องไดมอนด์ บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม
2565
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้
เรื่อง “ทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ PDPA : Workshop” โดยมีนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ พร้อมด้วยนายกิตติ ผาสุขดี ที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมฯ
ร่วมแนะแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดรับกับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การปรับตัวของธุรกิจและนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและอย่างเหมาะสม
ณ จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม “TLAA มอบรัก
ปันสุขสู่สังคม” ให้แก่มูลนิธิสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้สูงอายุในศูนย์ฯ
ผู้สูงอายุบ้านบางละมุงและผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ร่วมทั้งสมทบกองทุนการจัดจ้างบุคลากรดูแลผู้สูงอายุในมูลนิธิต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทย เชิญชวนประชาชนร่วมงาน Thailand InsurTech Fair 2022 มหกรรมด้านประกันภัย ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ณ ฮอลล์ 6 อิมแพค เมืองทองธานี นอกจากนี้ยังสามารถเยี่ยมชมบูธออนไลน์ (Online) ผ่านทาง https://seminar.tif2022.com ที่ตอบโจทย์การประกันภัยยุคดิจิทัล ในระหว่างวันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2565
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยและภาคอุตสาหกรรมประกันภัยร่วมงาน “Thailand InsurTech Fair 2022 มหกรรมด้านประกันภัย” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ซึ่งภายในงานสมาคมประกันชีวิตไทยได้ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการและมีวีดิทัศน์รูปแบบการ์ตูนอนิเมชั่นให้ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต ลดความกังวลใจ ลดภาระค่าใช้จ่ายในยามที่เจ็บป่วยด้วยประกันสุขภาพ พร้อมทั้งยังนำเกมออนไลน์ สื่อการเรียนรู้ด้านประกันชีวิตที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมการเรียนรู้ด้านการประกันชีวิตให้มีความสนุก เข้าใจง่าย พร้อมกันนี้ยังมี 14 บริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธทั้งแบบ ON GROUND และ ONLINE ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ จำกัด , บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ยกทัพตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินมาให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนทางการเงิน บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ อาทิ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังนำ DIGITAL SERVICES ใน Platform ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น ระบบ Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยบริการด้านเสนอขายผลิตภัณฑ์ การพิจารณารับประกันภัย การพิจารณาจ่าย ค่าสินไหม รวมถึงการให้บริการต่างๆ แก่ผู้ถือกรมธรรม์ อาทิ บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลไม่จำเป็นต้องเดินทางก็สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ โดยแพทย์สามารถให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาผ่านระบบ VDO call ซึ่งเป็นการยกระดับการทำงานและการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย ให้มีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่าย ตอบสนองต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี โดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง ทำให้ลดเวลา ลดขั้นตอนของผู้เอาประกันภัย
จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมเปิดประสบการณ์อยู่ที่ไหนก็ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัยได้ในงาน
Thailand InsurTech Fair 2022
มหกรรมด้านประกันภัย รูปแบบไฮบริด (Hybrid) เพื่อสัมผัสนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัยที่ทันสมัยพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยในทุกไลฟ์สไตล์และทุกช่วงชีวิต
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ
พร้อมคณะกรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมแสดงความยินดีกับบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร
(Prime
Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติ
เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 6
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 7 บริษัท จาก 8 รางวัลเกียรติยศ
ประกอบด้วย
1. รางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด
(Hall
of Fame) ประจำปี 2564
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2564 อันดับที่ 1
บริษัท ไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
3.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2564 อันดับที่ 2
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
4.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2564 อันดับที่ 3
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
5.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2564
บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
6.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี
2564
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
7.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2564
บริษัท
เอไอเอ จำกัด
บริษัท
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
8.
รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2564
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย เข้าพบนายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ณ ห้องรับรอง ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร และ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายกิตติ ผาสุขดี ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้แทนบริษัทประกันชีวิต ร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เรื่อง
การจัดทำฐานข้อมูลฉ้อฉลประกันภัย โดยได้รับเกียรติจากนายรติ พิมพ์สมาน
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มคดีปกครองและแพ่ง สำนักงาน คปภ.
พร้อมคณะทำงาน ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลฉ้อฉลประกันภัย ณ ห้องประชุม
701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางบุญกาญจน์
รัตนาวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับกรมบัญชีกลาง
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 132 ปี พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนางสาวกุลยา
ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้การต้อนรับ ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคาร 3
กรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางบุญกาญจน์
รัตนาวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 20 ปี พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนางแพตริเซีย
มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 7
ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางบุญกาญจน์
รัตนาวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ปีที่ 61 พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนายพรชัย
ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมป๋วยอึ๊งภากรณ์
ชั้น 7 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยนพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และนายรชตะ อุ่นสุข
ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลกรมบัญชีกลาง ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา
หัวข้อ “Future
of Health Insurance with Digital Health” หนึ่งในหัวข้อการเสวนา
ภายใต้งานอบรมสัมมนา Healthcare Technology Summit 2022 (ครั้งที่9)
โดยมีนางสาวกัลยา แสวงหาบุญ เลขาธิการสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(MDES) ร่วมกับสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) เพื่อเป็นเวทีสำคัญในถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเรื่องบทบาทและความสำคัญของผู้รับผิดชอบจ่าย
(Payer) ในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกแห่งการรักษาสุขภาพจะเปลี่ยนผ่านจากโลกกายภาพไปสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น
ดังนั้นเรื่องมาตรฐาน มาตรการ รวมทั้งรายละเอียดในการรับผิดชอบจ่ายและการรับประกันสุขภาพ
การรับประกันชีวิต ในอนาคตจะมีรูปแบบอย่างไรที่จะสามารถตอบโจทย์ให้ได้ทั้งผู้เอาประกันภัย
บริษัทประกันชีวิต และโรงพยาบาล ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Webinar เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร
ร่วมแสดงความยินดีกับสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา
ครบรอบ 18 ปี โดยมี นายวรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้การต้อนรับ ณ ห้องอบรม ชั้น 8 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
เมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย จัดมอบรางวัล“ตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
ครั้งที่ 39 ประจำปี 2565”
หรือ 39th THAILAND NATIONAL
QUALITY AWARDS (39th TNQA) เพื่อเชิดชูเกียรติตัวแทนประกันชีวิตที่มีคุณภาพดีเด่น สามารถผลิตผลงานได้ตามเกณฑ์
จำนวน 2,213 ราย ณ ห้องคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ชั้น 22
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด
สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานการจัดงานพิธีมอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
ครั้งที่ 39 ประจำปี 2565 (THAILAND
NATIONAL QUALITY AWARDS (39th TNQA)
เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยได้รับเกียรติจากนายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเป็นประธานมอบรางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ
20 ปี และ 15 ปี พร้อมด้วย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมเป็นเกียรติในการมอบรางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ
10 ปี พร้อมด้วยรางวัลโล่เกียรติคุณ โดยมีนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมกล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ได้รับรางวัลจำนวน 2,213 ราย ทั้งนี้
การจัดงานดังกล่าวมีมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 39 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของตัวแทนประกันชีวิตเพื่อให้ผู้เอาประกันชีวิตได้รับการบริการที่ดี
สำหรับตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาของสมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งประกอบด้วย จะต้องขายประกันชีวิตแบบรายบุคคลรายใหม่ เป็นประเภทสามัญหรือประเภทอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าปีละ
30 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่าปีละสี่ล้านห้าแสนบาท 2 ปีต่อเนื่องกัน และจะต้องมีระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีผลบังคับ
14 เดือนหรือเกินกว่า โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ขายได้ในปีที่ 1 นั้นจะต้องมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ
90 ทั้งด้านจำนวนรายและจำนวนเงินเอาประกันภัย ตลอดจนมีความภักดีต่อองค์กรต้นสังกัด
ซึ่งปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 2,213 ราย จาก 15 บริษัทสมาชิก โดยรางวัลเกียรติยศสูงสุดคือ
รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 20 ปี พร้อมเกียรติบัตร ซึ่งปีนี้มีผู้พิชิตรางวัลนี้ได้ถึง 3 ราย ได้แก่ คุณณัฐชานันท์ นันทพงศ์โภคิน บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) , คุณพัณณ์นิภา อัครพันธวงศ์ และ คุณโอภาส
เคนวัน บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ
15 ปี พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 16 ราย รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 10 ปี
พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 28 ราย รางวัลโล่เกียรติคุณพร้อมเกียรติบัตร จำนวน 69 ราย
และรางวัลเกียรติบัตรจำนวน 281 ราย โดยมีตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลงานผ่านเกณฑ์ แยกรายบริษัทประกันชีวิต
ดังนี้
1. บริษัท เอไอเอ
จำกัด จำนวน 1,197 ราย
2. บริษัท
กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 196 ราย
3. บริษัท
ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 185 ราย
4. บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 146 ราย
5. บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 129 ราย
6. บริษัท
เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 81 ราย
7. บริษัท ชับบ์ ไลฟ์
แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 62 ราย
8. บริษัท
โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 62 ราย
9. บริษัท อลิอันซ์
อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 61 ราย
10. บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 40 ราย
11. บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 30
ราย
12. บริษัท ซัมซุง ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 14 ราย
13. บริษัท
ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 ราย
14. บริษัท พรูเด็นเชียล
ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ราย
15. บริษัท
เจนเนอราลี่ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ราย
นางนุสรา กล่าวเพิ่มเติมว่า
“ตัวแทนประกันชีวิตนับเป็นฟันเฟืองสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต
โดยเมื่อสิ้นปี 2564 ช่องทางตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางอันดับหนึ่งที่สามารถผลิตเบี้ยประกันภัยรับรวมได้ถึง
320,629 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนทางการตลาดที่สูงถึงร้อยละ 52.21 ซึ่งเบี้ยประกันภัยที่ปรากฎนั้นล้วนเกิดจากการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความเป็นมืออาชีพ
ที่นอกจากจะต้องมีทักษะประสบการณ์และความรู้ความสามารถในการทำงานตามภาระหน้าที่แล้ว
ยังรวมถึงความสามารถในการทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมีประกันชีวิตและหันมาวางแผนทางการเงินโดยใช้การประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยงในทุกจังหวะของชีวิต
แม้ว่าในปัจจุบันระบบดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจประกันชีวิตมากเพียงใด แต่ธุรกิจประกันชีวิตยังจำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่จะมาเป็นผู้อธิบายเงื่อนไขและเอกสิทธิ์ตามกรมธรรม์ให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น
พร้อมคอยอำนวยความสะดวก ส่งมอบการบริการที่เป็นเลิศเมื่อลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ
ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจประกันชีวิตที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ”
คณะกรรมการบริหารและผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแสดงความยินดีกับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เนื่องในโอกาสครบรอบ
90 ปี ในงานเฉลิมฉลอง 9 ทศวรรษ เมืองไทยประกันภัย “9 ทศวรรษแห่งรอยยิ้ม” ณ ห้อง แกรนด์ บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมโฟร์ซีซันส์ กรุงเทพฯ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย เนื่องในโอกาสเปิดอาคารสมาคมฯ
โดยมีนายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ให้การต้อนรับ ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารสมาคม
ฯ ซอย สุขุมวิท 64/1 และ 64/2 ถ.สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร พร้อมฝ่ายสื่อสารองค์กร เข้าร่วมงาน “พี่เพื่อน้องจากผองเพื่อนชาวประกันและมวลมิตรธุรกิจเพื่อสังคม
ปีที่ 16” ซึ่งจัดโดย นิตยสาร ไทยแลนด์อินชัวรันส์ นำสื่อมวลชนสายประกัน ภาคธุรกิจประกันภัย
การเงิน และหน่วยงานอื่นๆ ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองขอน อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารเรียน ห้องสมุด สร้างห้องปฐมพยาบาลและห้องตัดผม จัดทำแปลงปลูกผัก พร้อมมอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยได้มอบเงินสนับสนุนการจัดงานและซุ้มอาหารเพื่อให้บริการแก่คณะนักเรียน
อาจารย์และประชาชน โดยมี ดร.นภัสวรรณ์ วิเศษสิงห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองขอน
พร้อมนายสิทธิ์ หลีขาว บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไทยแลนด์ อินขัวรันส์
เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการลงทุนร่วมกับ Ernst
& Young Advisory Pte. Ltd. จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ หัวข้อ “ESG Investment for Insurer” ซึ่งได้รับเกียรติจาก Wolfram Hedrich Partner, Financial
Services Consulting ASEAN Lead และ Han Wee TAN Partner, Wealth & Asset Management
Consulting เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อแบ่งปันมุมมองการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์
และการลงทุนสำหรับธุรกิจประกันชีวิต โดยเฉพาะการนำแนวคิด ESG
มาสร้างมูลค่าสำหรับธุรกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีนายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง
ประธานคณะอนุกรรมการลงทุน เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ผ่านระบบออนไลน์
Zoom Webinar เมื่อวันที่
21 พฤศจิกายน 2565
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและร่วมประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2565 (ครั้งที่ 8) (Thailand
Insurance Symposium 2022) ภายใต้แนวคิด“Thai Insurance
Industry at Crossroads: Digitalization, Cyber Risk and Sustainable
Growth” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันภัย การบริหารความเสี่ยง
และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม
และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันและอนาคต
ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชนใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
รวมถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่ ผลงานวิชาการให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมประกันภัยต่อไป
ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น ๒ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย (ที่
4 จากซ้าย)
พร้อมด้วย นายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (ที่
3 จากซ้าย) และคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี 2565 มอบเงินบริจาคจำนวน
100,000 บาท ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมี นางศศิธร จันทรสมบูรณ์
กรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ (ที่ 4 จากขวา)
เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่อยู่ในความอนุเคราะห์
พร้อมทั้งช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ สังคม
อาชีพแก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวให้มีสุขภาวะที่ดี
สามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตอย่างปกติโดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม
ซึ่งสมาคมฯ ได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารมูลนิธิฯ ถนนติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน
2565
พลอากาศเอก
ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส (ที่ 3 จากซ้าย) รับมอบเงิน จำนวน 100,000 บาท จากสมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ
(ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วยนายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
(ที่ 2 จากซ้าย) ในนามคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี 2565 ร่วมส่งมอบเพื่อเป็นทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการฝึกอาชีพแก่เยาวชน
ณ ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่
13 ธันวาคม 2565
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิด
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2566” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต-ประกันภัย ในรูปแบบ
Hybrid
(on ground & online) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
ด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ พร้อมสร้างความตระหนักในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ขณะเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวในวันช่วงวันหยุดยาวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
นำคณะเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์
และร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ในเร็ววัน ณ
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าพบนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2566 ณ
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ ร่วมกับ บริษัท S&P Global Inc. จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ หัวข้อ “The Common Reporting Standard –
All you need to know ahead of Thailand’s upcoming
implementation” ซึ่งได้รับเกียรติจาก S&P Global Market
Intelligence เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับการรายงานบัญชีทางการเงินตามมาตรฐาน Common
Reporting Standard (CRS) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในฐานะผู้มีหน้าที่รายงาน
โดยมีนายสุภิรัช โพธิ์ถาวร ประธานคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Webinar เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย จัดการประชุมวิชาการประจำปี
เวชศาสตร์ประกันชีวิตไทย Annual Thailand
Insurance Medical Academic Conference 2023 (TIMAC-2023) ครั้งที่ 18 โดยมีนายสุทธิ รจิตรังสรรค์
กรรมการประจำคณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวต้อนรับและรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง
การส่งเสริมระบบประกันสุขภาพเอกชนของไทย ทั้งนี้ ภายในการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคต่างๆ
ร่วมบรรยายความรู้ ได้แก่
ศ.นพ.อภิชาติ
อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บรรยายวิชาการ เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต”
พ.ท.นพ.พศวีร์ ขวัญช่วย
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายวิชาการ
เรื่อง “Sexual Rehabilitation”
ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ
ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช บรรยายวิชาการ เรื่อง “Gene Therapy”
นพ.สมสกุล ศรีพิสุทธิ์ กรรมการแพทย์ที่ปรึกษา
บริษัท เอไอเอ จำกัด บรรยายวิชาการ เรื่อง “Simple disease identification”
พญ.จันทนี ศรีสวัสดิ์ แพทย์จาก
บริษัท เอไอเอ จำกัด บรรยายวิชาการ เรื่อง “เอกซเรย์ทรวงอก อัลตร้าซาวน์
และแมมโมแกรมเบื้องต้น สำหรับการพิจารณารับทำประกัน”
นพ. มหัทธนา กมลศิลป์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์และเวชพันธุศาสตร์ บรรยายวิชาการ เรื่อง “What are the uses of genetic testing
in medicine ? (การตรวจ ทางพันธุศาสตร์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์)”
พ.อ.ผศ.นพ.ไนยรัฐ
ประสงค์สุข อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศโรคมะเร็ง
รพ.พระมงกุฎเกล้า บรรยายวิชาการ เรื่อง “ความหวังใหม่ในการรักษาโรคมะเร็ง”
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทางการแพทย์และเพิ่มพูนศักยภาพให้กับแพทย์
พยาบาล บุคคลากรของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยในด้านพิจารณารับประกันภัย
สินไหมประกันชีวิต รวมถึงบุคลากร ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ณ ห้องสุขุมวิท 1 และ 2 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 23 - 24 มกราคม 2566
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ปี 6 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนเกาะลัดอีแท่น อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่
20 มกราคม 2566
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมการเสวนา หัวข้อ “Building
a Sustainable Insurance Ecosystem” หนึ่งในหัวข้อการเสวนา ภายใต้งานสัมมนาการประกันภัย
ครั้งที่ 27 Building a Future-Proof Insurance Industry
ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วย นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย และ
นายจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย โดยมี ดร. ปิยวดี โขวิฑูรกิจ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร
สมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการประกันภัย
การบริหารความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม
และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันและอนาคตให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ให้เกิดความเข้าใจที่ดีเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืนเคียงคู่กับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคม ประกันชีวิตไทย เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ปี 6 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การประกันภัยเชิงรุก สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนบ้านสันติชล อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 30 มกราคม
2566
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
นำคณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ นายวรวิทย์
เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ณ อาคารซี.พี. ทาวเวอร์ 1 สีลม ชั้น 30 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
นำคณะกรรมการบริหารและผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ นายลวรณ แสงสนิท
อธิบดีกรมสรรพากร ณ กรมสรรพากร
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย จัดการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารระดับสูง
(CEO LIFE INSURANCE FORUM 2023) โดยมีนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ พร้อมคณะกรรมการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(เลขาธิการ คปภ.) พร้อมคณะผู้บริหารของสำนักงาน คปภ. ในโอกาสนี้ได้มีการประชุมหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านประกันภัย
กับ Mr. Sonephet Inthavong, Director general of
Department of State-Owned Enterprise Reform and Insurance (DSRI) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์อันดีและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้บริหารสำนักงาน
คปภ. และภาคธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงเพื่อศึกษาทิศทางการประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประสานความร่วมมืออันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตสู่การแข่งขันเสรีต่อไป
เมื่อวันที่ 4 – 7 กุมภาพันธ์ 2566 ณ หลวงพระบาง-วังเวียง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2565
ระหว่าง มกราคม - ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 611,374 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับ ปี 2564 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 169,878 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.49
และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 441,496 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.43
โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 82
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก
105,192 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว
64,686 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 14.27
จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต
มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 325,227 ล้านบาท อัตรา
การเติบโตร้อยละ 1.43 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.20
2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
235,788 ล้านบาทอัตราการเติบโตลดลง ร้อยละ 3.39 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.57
3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต
มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 26,516 ล้านบาท อัตรา
การเติบโตร้อยละ 8.63 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.34
4. การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง มีเบี้ยประกันภัยรับรวม
13,981 ล้านบาท
อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 2.04 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.29
5. การขายผ่านช่องทางดิจิทัล
มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1,738 ล้านบาท
เติบโตร้อยละ 29.11 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.28
6. การขายผ่านช่องทางอื่น
เช่น การขาย Worksite, การขายผ่านการออกบูธ, การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 8,124 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 13.44
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.33
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมในปี
2565 คือ สัญญาเพิ่มเติม (Riders) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรง
ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมสูงถึง 103,635 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.95 มาจากการที่ประชาชนตระหนักถึงการดูแลและวางแผนเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น
ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลและเลือกแบบประกันได้ตรงตามความต้องการด้วยความสะดวกรวดเร็ว
และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) สามารถเติบโตได้ดีด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม
15,741 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.72 หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.57
สำหรับปี 2566 สมาคมประกันชีวิตไทยคาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม
612,500 – 623,500 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตระหว่างร้อยละ 0 - 2 มีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ ร้อยละ 81 - 82 ซึ่งการคาดการณ์ในครั้งนี้ก็ยังสอดคล้องกับการคาดการณ์
GDP ของประเทศที่มีการขยายตัว ร้อยละ 2.7 – 3.7 (ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
ปี 2566)
ส่วนทิศทางผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น
ภาคธุรกิจมองว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่จะได้รับความนิยมและมีศักยภาพในการเติบโตสูง
คือ ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) เนื่องจากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
และมีการบริการหลังการขายที่ครบวงจร (ทั้งระบบ online และ offline)
เช่น telemedicine บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
(SOS) ฯลฯ โดยได้เชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาลทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบทุกความต้องการและทุกกลุ่มเป้าหมาย
รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Universal
Life และ Unit Linked) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมองหาช่องทางการลงทุนใหม่
ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้นภายใต้ระดับความเสี่ยงที่พอรับได้
รวมถึงได้รับความคุ้มครองจากการประกันชีวิตรวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตาม
สถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ
รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) แต่ที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้เตรียมความพร้อมในการปรับพอร์ตทั้งในส่วนของการลงทุนและ
Product mix และทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที
รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตฐานกฎหมายสากล เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
เช่น การส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่
ผลักดันกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติ
รวมถึงการผ่อนคลายการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม สนับสนุนการพัฒนากระบวนการขายให้ครบถ้วนทุกช่องทาง
สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างครอบคลุม เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งช่วยบริหารต้นทุนในระยะยาว อีกทั้งการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนถึงการป้องกันและรู้เท่าทันเทคโนโลยี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างองค์ความรู้เพื่อป้องกันภัยจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี
ซึ่งจะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
รวมถึงการดำเนินงานเชิงรุกในการขอปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เป็นปัจจุบัน
ผลักดันระบบการจัดสอบความรู้ ระบบออกใบอนุญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ
รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้บริษัทสมาชิกและบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม
จัดโครงการสัมมนาวิชาการ “ทิศทางการประกันภัยสำหรับผู้สูงอายุ” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “ภาพรวมของผู้สูงอายุในประเทศไทย” พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นายแพทย์คณพล ภูมิรัตนประพิณ CEO Health at home มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “ภาพรวมของการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย” เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจถึงสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชน
รวมถึงนโยบายการให้คุ้มครองผู้สูงอายุในต่างประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยได้รับเกียรติจากคุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
เมื่อวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรม ดิโอเชี่ยน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย
คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการ
3 คณะ ซึ่งแบ่งหัวข้อการเสวนาออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่
การเสวนาวิชาการ เรื่อง
“ขอบเขตของข้อยกเว้นตามสัญญาประกันชีวิต” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นพ.ประมุกข์ ทรงจักรแก้ว ที่ปรึกษา คณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย คุณโสมอุษา ชิดชนกนารถ ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย คุณกิดาการ พัฒโนทัย คณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย คุณเขมสิทธิ์ สุดเฉลียว รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย และคุณมณียา
โสมะเกษตริน รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต
การเสวนาวิชาการเรื่อง
“แนวปฏิบัติของภาคธุรกิจที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับ PDPA” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. คุณเพชรรัตน์ วาณิชยชาติ ประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต คุณวรพัฒน์ โอภาสเจริญกิจ
รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย และคุณสิทธิชัย ถิ่นจอม รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย
การเสวนาวิชาการ เรื่อง
“แนวปฏิบัติกรณีลูกค้าล้มละลาย” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณปิยชาต สงวนหงษ์ รักษาราชการแทน อำนวยการกองบังคับคดี ล้มละลาย 2 กรมบังคับคดี คุณธัญญะ
ซื่อวาจา รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย คุณศักดิ์สยาม ขยันกิจ รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต คุณอารยา วรัญญาพร คณะอนุกรรมการกฎหมาย และคุณดัษณี ทองบุญเกิด ประธานคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูรณาการในทำงานให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยได้รับเกียรติจากคุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เมื่อวันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรม
ดิโอเชี่ยน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ปี 6 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสนี้ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ได้ให้การต้อนรับ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และ นายปณิธิ ป้องสนาม ปลัดอาวุโส อำเภอเรณูนคร ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ชุมชนภูไท อ.เรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมฯ ร่วมการสัมมนา
PDPA Going Forward ในงานเปิดตัวสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
และสัญลักษณ์องค์กรใหม่ในชื่อ pdpc
ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการคุมครองขอมูลสวนบุคคล ร่วมกับสมาคมเจาหนาที่คุมครองขอมูลสวนบุคคลไทย
บริษัท โทรคมนาคมแหงชาติ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน
(กกร.) โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวเพื่อเป็นการเผยแพรประชาสัมพันธเกี่ยวกับกฎหมายคุมครองขอมูลสวนบุคคล
แผนการดำเนินงานของสำนักงานฯ รวมถึงการสร้างความตระหนักรูใหกับทุกภาคสวนเกี่ยวกับบทบาทและหนาที่ของสำนักงานฯ
อีกทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับภาคสวนต่าง ๆ
ในการยกระดับองคกรใหสอดคลองกับกฎหมายคุมครองข้อมูลสวนบุคคล
ซึ่งในการสัมมนาดังกล่าว
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาพิเศษ
เรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านนโยบาย
แนวปฏิบัติ และกระบวนการเตรียมพร้อมของธุรกิจประกันชีวิตเพื่อการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ณ หองประชุมบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน ถนนวิภาวดีรังสิต
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ปี 6 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสนี้ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ได้ให้การต้อนรับ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ชุมชนบ้านถ้ำสิงห์ อ.เมือง จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม
2566
สมาคมประกันชีวิตไทย เตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพอาชญากรรมทางเทคโนโลยีรูปแบบข้อความสั้น
(SMS) แอบอ้างเป็นธนาคาร
สถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทประกันชีวิต โดยหลอกลวงเหยื่อให้กดลิงก์ที่ส่งมากับข้อความสั้น
(SMS) เพื่อให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนหลอกให้โหลดแอปพลิเคชันดูดเงิน
ส่งผลกระทบให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา
เริ่มมีมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นบริษัทประกันชีวิต ลวงชวนให้ผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อ
โดยใช้อุบายแจ้งให้ผู้ที่ได้รับข้อความสั้น (SMS) โดยนำเรื่องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
หรือเกี่ยวกับบริษัทประกันชีวิตมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น คุณคือผู้โชคดีที่ได้รับเงินปันผลจากกรมธรรม์ประกันชีวิต
เงินค่าสินไหมทดแทน หรือ รับคูปองเติมน้ำมัน
เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบที่บริษัทก่อตั้งขึ้น เป็นต้น พร้อมแนบลิงก์ให้กดเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรับสิทธิ์
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเตือนให้ผู้เอาประกันภัย
อย่าหลงเชื่อ กดลิงก์หรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เมื่อได้รับข้อความสั้น (SMS) รวมถึงตอบรับคำเชิญคนที่ไม่รู้จักบนแพลตฟอร์ม
LINE ทั้งนี้โปรดสังเกตเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งข้อความ มักเป็นหมายเลขที่มาจากต่างประเทศ
หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว และ ข้อความดังกล่าวมักไม่มีการระบุชื่อผู้รับ ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อกลับที่ชัดเจน
หรือเป็นข้อความที่มีเนื้อหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือเกิดความดีใจเป็นอย่างมาก
จนทำให้ผู้รับข้อความสั้น (SMS) ไม่ได้ระมัดระวังในการตั้งข้อสงสัย
นอกจากนี้ข้อสังเกตอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ คือ
ลิงก์หรือเว็บไซต์ที่แนบผ่านข้อความสั้น (SMS) มักจะเลียนแบบให้ดูเหมือนเป็นลิงก์ของบริษัทประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยคุ้นเคย
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าข้อความที่ได้รับมาจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่
โปรดสังเกตที่ URL โดยที่ลิงก์ไม่ปลอดภัยมักจะขึ้นต้นด้วย http://
ส่วนลิงก์ที่ปลอดภัยมักขึ้นต้นด้วย https:// โดยจะต้องมีตัว
s ต่อท้าย ซึ่งหมายถึง ‘Secure' (ความปลอดภัย)
ดังนั้น
หากผู้เอาประกันภัยได้รับข้อความสั้น (SMS) ที่มีลักษณะข้างต้น
สามารถตรวจสอบหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อความสั้น (SMS) ที่ได้รับเป็นของบริษัทประกันชีวิตใช่หรือไม่
ทั้งนี้อย่ากดลิงก์ หรือ กรอกข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เช่น ชื่อ นามสกุลเลขบัตรประชาชน
วันเดือนปีเกิด ก่อนการตรวจสอบโดยเด็ดขาด
เพราะเท่ากับให้ข้อมูลส่วนบุคคลให้มิจฉาชีพหรือกลุ่มคนผู้ไม่หวังดี เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเงินเป็นจำนวนมากโดยที่คาดไม่ถึง
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาเรื่อง “มีประกันชีวิต ก็ขอตายอย่างสงบ...ไม่ต้องผ่าศพได้ไหม” ภายใต้งานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ (ครั้งที่ 28) ประจำปี 2566 จัดขึ้นโดยกองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ และศูนย์อบรมและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย (LeTEC) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ นักกฎหมายทั้งผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและนักวิชาการ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยได้เข้าใจถึงแนวคิดและหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับกฎหมายประกันชีวิตและการชันสูตรพลิกศพ
กรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านภายหลังการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในระยะท้ายของชีวิต
กลับไปใช้ระยะท้ายของชีวิตและเสียชีวิตที่บ้าน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาปัจจุบันและอุปสรรคด้านต่าง
ๆ เกี่ยวกับการขอรับเงินตามสัญญาประกันชีวิตและการชันสูตรพลิกศพ กรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน
และหาข้อสรุปเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกันเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน
ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อวันที่
25 มีนาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ
ร่วมงานแถลงข่าวและพิธีเปิด “โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566” พร้อมเปิดตัว“กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มแฮปปี้สงกรานต์
(ไมโครอินชัวรันส์)” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย
อาทิ สภาธุรกิจประกันภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
ซึ่งจะลดอุบัติเหตุและการสูญเสีย พร้อมเชิญชวนให้บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. (ถนนรัชดาภิเษก)
เมื่อวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต จัดสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
“การแพทย์ทางเลือก COMPLEMENTARY AND ALTERNATIVE MEDICINE
และ เรื่อง การบอกล้างกรมธรรม์ตามมาตรา 865” ซึ่งได้รับเกียรติจาก
ผศ.ดร.ภูริทัต กนกกังสดาล อาจารย์ประจำสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ“การแพทย์ทางเลือก COMPLEMENTARY
AND ALTERNATIVE MEDICINE” พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก
เนื่องจากปัจจุบันแบบประกันบางแบบได้ขยายความคุ้มครองครอบคลุมรวมถึงการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกด้วย
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก
นายศิริวัฒน์ ศิริเกตุ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และ นายสมมุติ ลูกอินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ
ในหัวข้อ “การบอกล้างกรมธรรม์ตามมาตรา 865” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของสัญญาประกันภัย
ให้กับบุคคลากรบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่ในการพิจารณาสินไหมรวมถึงพิจารณาการบอกล้างกรมธรรม์
โดยมีนางสายพิณ โชคนำกิจ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
และนายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการ สมาคมประกันชีวิตไทย มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวสารคดี THE POSTCARD OF INSPIRATION ส่งความห่วงใยไปกับ
คปภ. ในโครงการ "คปภ.เพื่อคนพิการ (ปีที่ 2)" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย พร้อมร่วมเสวนา ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(เลขาธิการ คปภ.) นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ
อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายศรีกรุง อรุณสวัสดิ์
ประธานกรรมการ บริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จำกัด เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิต
การประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการมีโอกาสเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างโอกาสทางอาชีพ
และสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้คนพิการในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมประกันภัยต่อไปในอนาคต
ณ ห้องชารอน A ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ Mr. Masayuki
Tanaka, Managing Director พร้อมคณะผู้บริหารจาก The
Foundation for the Advancement of Life & Insurance Around the world (FALIA)
และ Mr. Hiroshi Kanai, Representative
Executive Director The Board of Director พร้อมคณะผู้บริหารจาก The Life
Insurance Association of Japan เนื่องในโอกาสร่วมหารือถึงการดำเนินการจัดสัมมนาของ
FALIA
ที่กำหนดจัดขึ้นในเดือนกันยายน และ พฤศจิกายน 2566 ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ณ สมาคมประกันชีวิตไทย
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาช่องทางขาย จัดบรรยายวิชาการเรื่อง
“เทคนิคการขายประกันในยุคดิจิทัล” ซึ่งได้รับเกียรติจาก
นายกันตเมศฐ์ ธนะทวีอนันต์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการฝึกอบรม บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) เป็นวิทยากรบรรยาย
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการขายประกันผ่านช่องทางดิจิทัล
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่บุคลากร ของภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยมีนายสุชาติ นิลคำวงศ์
ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาช่องทางขาย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และนายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายพร้อมมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร
ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 20
เมษายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาช่องทางการขาย จัดบรรยายวิชาการเรื่อง “Public Speaking and Presentation
Skill เทคนิคการพูดในที่สาธารณชนและเทคนิคการเป็นวิทยากรขั้นสูง” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายธงชัย
สาริยาชีวะ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาองค์กร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด
(มหาชน) เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนออย่างไรให้น่าสนใจตรงประเด็น และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ที่มีอาชีพเป็นวิทยากร พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
โดยมีนายสุชาติ นิลคำวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาช่องทางขายกล่าวรายงานวัตถุประสงค์
และนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายพร้อมมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 2
พฤษภาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมงานมอบรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ประจำปี 2566 (National
Agent Awards 2023 : NAA) ซึ่งจัดโดย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่มีการปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพยอดเยี่ยมและสามารถผลิตผลงานได้ตามเกณฑ์
จำนวน 349 ราย ณ ห้องเจ้าพระยา ชั้น 2 หอประชุมกองทัพเรือ ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารสมาคม เข้าพบคณะผู้บริหารของโรงพยาบาล
แพทย์ผู้ตรวจรักษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการตรวจสุขภาพและการตรวจรักษาผู้เอาประกันภัย ณ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
และโรงพยาบาลกรุงเทพระยอง โดยได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์ประกันชีวิต
พร้อมร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการให้บริการสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้เอาประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต
รวมถึงการรับฟังประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการบริการต่อผู้เอาประกันภัยที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
เมื่อวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2566
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิต
ความท้าทาย และโอกาสของธุรกิจประกันชีวิตภายใต้ Uncertainty Risks” ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง
(วปส.) รุ่นที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
เกี่ยวกับระบบประกันชีวิต การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยในด้านต่างๆ รวมถึงพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากมุมมองและประสบการณ์กับผู้เข้าอบรม ณ ห้องเลอโลตัส
โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย
จัดโครงการเสวนาวิชาการ “การรับประกันและข้อยกเว้นความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นายแพทย์วุฒิวงศ์ สมบุญเรืองศรี รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต
ประธานคณะแพทย์ ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย คุณวัชรา สถาพรพิริยะเดช ผู้อำนวยการฝ่ายสินไหม
บมจ.ไทยประกันชีวิต รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต สมาคมประกันชีวิตไทย คุณพิราภรณ์
เจนพิริยะสุนทร อนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย บมจ.เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต ร่วมเสวนาในหัวข้อดังกล่าว
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประกันและข้อยกเว้นความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ
พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีคุณจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ จัดสัมมนาให้ความรู้สื่อมวลชน เรื่อง “อ่านงบการเงินบริษัทประกันชีวิตอย่างไร ภายใต้เกณฑ์ TFRS
17” ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณจารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโม รองประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี เป็นวิทยากรบรรยายให้กับสื่อมวลชนเพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง
สัญญาประกันภัย (TFRS 17) โดยเริ่มจากสรุปหลักการของ TFRS 17 ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก TFRS
4 ผลกระทบที่มีนัยสำคัญกับธุรกิจประกันชีวิต ตลอดจนตัวชี้วัดสำคัญและวิธีการอ่านงบการเงินตาม
TFRS 17 พร้อมทั้งบอกเล่าความคืบหน้า การเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิตในการนำ TFRS 17
มาบังคับใช้ ซึ่งการสัมมนาดังกล่าว จะช่วยให้สื่อมวลชนมีความเข้าใจสามารถสื่อสารไปยังประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันชีวิตต่อไป
โดยมี นางสาวปสันธนีย์ อินทร์เพ็ญ เลขานุการ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์
และนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาพร้อมมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร ห้อง ประชุม 701 ชั้น 7
สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดงานมอบรางวัล“ตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ประจำปี 2566” หรือ 40th
THAILAND
NATIONAL QUALITY AWARDS (40th TNQA) เพื่อเชิดชูเกียรติตัวแทนประกันชีวิตที่มีคุณภาพดีเด่น
สามารถผลิตผลงานได้ตามเกณฑ์ จำนวน 2,226 ราย ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม
อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย
ในฐานะประธานจัดงานมอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ประจำปี 2566 (THAILAND
NATIONAL QUALITY AWARDS (40th TNQA)
เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยได้รับเกียรติจากนายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเป็นประธานมอบรางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ
20 ปี และ 15 ปี พร้อมด้วย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมเป็นเกียรติในการมอบรางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 10 ปี
พร้อมด้วยรางวัลโล่เกียรติคุณ โดยมีนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมกล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ได้รับรางวัลจำนวน 2,226 ราย ทั้งนี้
การจัดงานดังกล่าวมีมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 40 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่มีการยกระดับคุณภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานเพื่อให้ผู้เอาประกันชีวิตได้รับการบริการที่ดี
สำหรับตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาของสมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งประกอบด้วย ผลงานขายประกันชีวิตแบบรายบุคคลรายใหม่ ประเภทสามัญหรือประเภทอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่าปีละ
30 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่าปีละสี่ล้านห้าแสนบาท 2 ปีต่อเนื่อง และกรมธรรม์ประกันชีวิตมีผลบังคับ 14 เดือนหรือเกินกว่า โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ขายได้ในปีที่ 1
นั้นจะต้องมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ทั้งจำนวนรายและจำนวนเงินเอาประกันภัย
ตลอดจนมีความภักดี ต่อองค์กรต้นสังกัด
ซึ่งปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 2,226 ราย จาก 15 บริษัทสมาชิก โดยรางวัลเกียรติยศสูงสุดคือ รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 20 ปี พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 3 ราย ได้แก่ คุณสิริมา ขำวิไล บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) คุณสุภานี ฉัตรรุ่ง บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และ คุณนีดา ทรัพย์ประดิษฐ์ บริษัท เอไอเอ จำกัด รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 15 ปี พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 13 ราย รางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณ 10 ปี พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 32 ราย รางวัลโล่เกียรติคุณพร้อมเกียรติบัตร จำนวน 71 ราย และรางวัลเกียรติบัตรจำนวน 273 ราย โดยมีตัวแทนประกันชีวิตที่มีผลงานผ่านเกณฑ์แยกรายบริษัทประกันชีวิต ดังนี้
1. บริษัท เอไอเอ จำกัด
จำนวน 1,260 ราย
2. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) จำนวน 167 ราย
3. บริษัท
กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 161 ราย
4. บริษัท
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 143 ราย
5. บริษัท เอฟดับบลิวดี
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 116 ราย
6. บริษัท
ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 113 ราย
7. บริษัท ชับบ์ ไลฟ์
แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 67 ราย
8. บริษัท อลิอันซ์
อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 63 ราย
9. บริษัท
โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 53 ราย
10. บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 33 ราย
11. บริษัท ซัมซุง
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 19 ราย
12. บริษัท
อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 17 ราย
13. บริษัท
ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 7 ราย
14. บริษัท
พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 ราย
15. บริษัท เจนเนอราลี่ประกันชีวิต
(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ราย
นางนุสรา
กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวแทนประกันชีวิตถือเป็นกำลังหลักสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการเติบโตของภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต
ซึ่งเมื่อปี 2565 การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิตก็ยังคงเป็นช่องทางอันดับหนึ่งที่สามารถผลิตเบี้ยประกันภัยรับรวมได้ถึง
325,227 ล้านบาท มีสัดส่วนทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 53.20นั้นเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ
ซึ่งนอกจากจะต้องมีทักษะประสบการณ์และความรู้ความสามารถในการทำงานตามภาระหน้าที่แล้ว
ยังรวมถึงความสามารถในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนหันมาวางแผนทางการเงินโดยใช้การประกันชีวิตเพื่อปกป้องความเสี่ยงในทุกจังหวะของชีวิต
ด้วยเหตุนี้สมาคมประกันชีวิตไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของตัวแทนประกันชีวิตอย่างเสมอมา
ดังนั้นรางวัลอันทรงเกียรตินี้จึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์การันตีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการบริการอย่างมืออาชีพ
ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่ตัวแทนประกันชีวิตมี อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างให้กับเพื่อนร่วมอาชีพได้มีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
นายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธาน “พิธีมอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
ครั้งที่ 40 ประจำปี 2566” (40th Thailand National Quality Awards หรือ TNQA 40th) จัดโดย สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อขอบคุณและเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่ผลิตผลงานมีคุณภาพและมีการบริการที่เป็นเลิศ
สามารถรักษาอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ไว้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และมีความภักดีต่อบริษัทที่เป็นต้นสังกัด
ซึ่งในปีนี้มีตัวแทนที่ผ่านเกณฑ์การรับรางวัลทั้งสิ้น 2,226 ราย
โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) พร้อมด้วย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานจัดงาน
ร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวัลโล่ตัวแทนคุณภาพดีเด่นกิตติคุณและเกียรติบัตร เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประวินาศภัยไทย ร่วมจัดงานเลี้ยงรับรอง Dr. Sonephet Inthavong Director general of Department of State-Owned
Enterprise Reform and Insurance (DSRI) พร้อมคณะผู้บริหารของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(สปป.ลาว) เนื่องในโอกาสเดินทางศึกษาดูงานระบบประกันภัยของประเทศไทย ทั้งนี้ ภาคธุรกิจประกันภัยของประเทศไทยและหน่วยงานกำกับดูแล
ตลอดจนภาคธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้มีการร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านประกันภัยมาอย่างต่อเนื่อง
โดยจัดงานเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ อาคารรับรองเกษะโกมล เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “Smart well being” หนึ่งในหัวข้อการเสวนาภายใต้การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 หัวข้อ “เมือง พลเมือง อัจฉริยะ : Smart City Smart
Citizen” ซึ่งจัดโดยกรมอนามัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ประสบการณ์การนำเสนองานวิจัยและผลงานวิชาการและความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายและกฎหมายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการระหว่างเจ้าหน้าที่กรมอนามัย
สหวิชาชีพ และเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสร้างความตระหนักการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากมุมมองและประสบการณ์กับผู้เข้าอบรม ณ โรงแรมอัศวิน
แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566
นายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การตายเกิดจากหลายเหตุการณ์จะระบุสาเหตุการตายอย่างไรให้ถูกต้อง”
จัดขึ้นโดยศูนย์กฎหมายสุขภาพและ จริยศาสตร์ (HLE)
และศูนย์จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านกฎหมาย (LeTEC) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ
สมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย เพื่อให้แพทย์
บุคลากรทางการแพทย์ นักกฎหมายทั้งผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและนักวิชาการ นักศึกษา รวมถึงประชาชนที่สนใจ
ได้เข้าใจถึงแนวคิดและหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับการระบุสาเหตุการตายที่ถูกต้อง และผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามสัญญาประกันภัย
พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นปัญหาและอุปสรรคด้านต่าง ๆ ณ
ห้องประชุมจิตติติงศภัทิย์ (ชั้น 1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ปี 6 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้การประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสนี้ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ได้ให้การต้อนรับ
นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และ นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ชุมชนบ้านซำตารมย์ องค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ
อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย จัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ภายใต้แนวคิด Be Bright Life Insurance เมืองมั่งคั่ง อนาคตมั่นคงไปกับประกันชีวิต ชี้สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา คนไทยตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งมองหาหลักประกันชีวิตและสุขภาพให้กับตัวเอง เพื่อรองรับกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ ประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2566) กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย สมาคมประกันชีวิตไทยจึงจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 22 ประจำปี 2566 ขึ้นมา ในรูปแบบการออกบูธ เหมือนกับการจัดงานในอดีตก่อนช่วงเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต การจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดภายใต้แนวคิด Be Bright Life Insurance เมืองมั่งคั่ง อนาคตมั่นคงไปกับประกันชีวิต เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญ และเล็งเห็นประโยชน์ของการทำประกันชีวิตมากขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับประชาชนทั่วไป
ทั้งนี้ ภายในงานจะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่หลากหลายรูปแบบ ตอบสนอง Life Style ของคนทุกช่วงวัย จาก 18 บริษัทประกันชีวิตชั้นนำ พร้อมลุ้นรับรางวัลอีกมากมาย อาทิ ทองคำแท่ง สร้อยคอทองคำ และของที่ระลึกโดยผู้ซื้อกรมธรรม์ที่มีเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปจะได้รับคูปองชิงโชค 1 ใบ ต่อเบี้ยประกันภัยทุก ๆ 5,000 บาท จำกัดสิทธิ์รับคูปองไม่เกิน 20 ใบ ต่อหนึ่งใบเสร็จ และใบเสร็จรับเงินสามารถรวบรวมยอดได้ภายใน 1 วัน พร้อมพบกิจกรรมจากศิลปิน อาทิ ปาล์มมี่,มาริโอ้ เมาเร่อ, ตั๊กแตน ชลลดา และPROXIE (พร็อกซี)
วันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ภายใต้แนวคิด Be Bright Life Insurance เมืองมั่งคั่ง อนาคตมั่นคงไปกับประกันชีวิต จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 16 กรกฎาคม 2566 บริเวณชั้น 1 โซน A B และC ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต จ.นนทบุรีสมาคมประกันชีวิตไทยจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2566) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) พร้อมด้วย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นางประภาพร ลิขสิทธิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
และนายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่
22 (พ.ศ.2566) นำคณะผู้บริหาร พนักงาน และตัวแทนประกันชีวิต ซึ่งเป็นการรวมพลคนประกันชีวิตร่วมทำความดีด้วยการบริจาคโลหิต
เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สภากาชาดไทย ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “รอบรู้
กฎหมาย ปปง. ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิต” ซึ่งได้รับเกียรติจาก
คุณวิลาวัลย์ ลิมปนะวรรณกูล ผู้อำนวยการส่วนวิชาการการกำกับ สำนักงาน ปปง.
เป็นวิทยากรบรรยาย ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ปปง. เช่น
การจัดให้ลูกค้าแสดงตน การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า
และการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยคุณสวัสดิ์ นฤวรวงค์ กรรมการประจำคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร
ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม
2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อํานวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเปิดอาคารสำนักงาน
คปภ. ภาค 6 (ชลบุรี) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดชลบุรี
เพื่อให้บริการต่อประชาชนในพื้นที่ ได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันชีวิตและประกันภัยอย่างครบวงจร
โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เป็นประธาน ณ อาคารเลขที่ 209/53-54 หมู่ที่ 3 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง
จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนเริ่มมีการทำประกันชีวิตมากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไทยในช่วง ม.ค.-พ.ค. 2566 มีเบี้ยประกันภัยรับใหม่เติบโตสูงถึง
14%
ซึ่งหลัก ๆ
มาจากการที่ประชาชนเริ่มเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตมากขึ้น
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยวางแผนและเตรียมพร้อมด้านการเงินผ่านการออมหรือการลงทุน
ช่วยบริหารความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ หรือช่วยตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินเพื่อวัยเกษียณหรือส่งมอบมรดก
ทำให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์ผู้เอาประกันภัยมากขึ้น
ดังนั้นก่อนจะเลือกซื้อประกันชีวิต
ควรศึกษาทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตอย่างละเอียดถี่ถ้วน และเลือกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง
ที่สำคัญจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยของตนเองว่ามีศักยภาพสามารถชำระได้ครบตามที่กำหนดระบุไว้ในสัญญาหรือไม่
ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านช่องทางการขายต่าง
ๆ ได้แก่ ตัวแทนประกันชีวิต (Agent) ธนาคาร (Bancassurance) นายหน้าประกันชีวิต (Broker) หรือช่องทางดิจิทัล (Digital)
โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้เสนอขาย เช่น เลขที่ใบอนุญาต ชื่อ สกุล
และบริษัทที่สังกัด ได้ที่เว็บไซต์ของบริษัทประกันชีวิตหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.)
นอกจากจะดูว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่
ควรจะพิจารณาถึงเงื่อนไขความคุ้มครองรวมถึงข้อยกเว้นต่าง ๆ
ของสัญญากรมธรรม์ให้ครบถ้วน รวมถึงจะต้องคำนึงถึงความมั่นคงของบริษัทที่จะรับประกันภัยทุกครั้ง
เพื่อมั่นใจว่าจะได้รับบริการตามสิทธิประโยชน์ของกรมธรรม์และผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ตลอดอายุสัญญาของกรมธรรม์ได้อย่างครบถ้วน
โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลสถานะและความมั่นคงทางการเงิน รายงานฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงาน รวมถึงงบการเงินของบริษัทประกันชีวิตได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยทั้งหมด
21 บริษัท และบริษัทรับประกันภัยต่อ (Reinsurance) อีก 1 บริษัท
โดยสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณารายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเป็นลำดับแรก
คือ อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Capital
Adequacy Ratio)
ซึ่งจะต้องสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด เพราะค่าอัตราส่วนดังกล่าวสะท้อนถึง
ความเพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัย และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนด
สุดท้ายนี้ควรเลือกทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตที่มีตัวตนและประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศไทย
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองได้อย่างคุ้มค่าและสามารถใช้สิทธิประโยชน์ของกรมธรรม์ได้อย่างครบถ้วน
นายกสมาคมประกันชีวิตไทยกล่าว
สมาคมประกันชีวิตไทย
ให้การสนับสนุนส่งเสริมความรู้เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17
เรื่อง สัญญาประกันภัย (IFRS 17) แก่ภาคธุรกิจประกันภัยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(สปป. ลาว) ตามโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว โดย คุณธานี
ทรงเจริญธนกิจ ประธานอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี คุณนงลักษณ์ พุ่มน้อย
รองประธานอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี และคุณจารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโม รองประธานอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (IFRS 17) ให้แก่บุคลากรในหน่วยงานกำกับดูแลและภาคธุรกิจประกันภัยของ สปป. ลาว ณ สถาบันการบัญชี
- การเงิน กระทรวงการเงิน เวียงจันทร์ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566
ภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยสำนักคณะกรรมการกำกับการส่งเสริมประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และกองทุนประกันชีวิต
ผนึกกำลังจัดงาน วันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2566) ภายใต้แนวคิด “Be Bright Life Insurance เมืองมั่งคั่ง
อนาคตมั่นคงไปกับประกันชีวิต” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2566 โดยมี
18 บริษัทประกันชีวิตพร้อมตัวแทนประกันชีวิตมืออาชีพให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) พร้อมด้วยนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ กรรมการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 22 (พ.ศ.2566)
และนางประภาพร ลิขสิทธิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ร่วมเป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณชั้น
G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต จ.นนทบุรี
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าจัดกิจกรรมมอบทุนและรางวัลการศึกษา
โดยสนับสนุนงบประมาณกว่า 546,000 บาท ให้กับนิสิต
นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาประกันภัยและวิชาที่เกี่ยวข้องกับประกันชีวิต
จำนวน 69 ทุนรางวัล จาก 14 สถาบันการศึกษา
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในสถาบันการเงิน ที่มีความสำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน และช่วยบรรเทาความเสี่ยงทางด้านการเงิน
เสริมสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต และเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศได้ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนต่อโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ ซึ่งการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขา
โดยเฉพาะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) นักบริหารความเสี่ยง (Risk management) และนักวิเคราะห์ข้อมูล
(Data Analyst) ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ธุรกิจ
จึงได้จัดกิจกรรมมอบทุนและรางวัลการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรการประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัย
หลักสูตรวิชาชีพ Associates of Society of Actuaries (ASA) Course 1 และ Course 2
และได้ขยายไปยังสาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล (Data
Analytics) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนที่มีความสามารถให้เข้าศึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต ประกันภัย พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นบุคลากรของธุรกิจประกันภัยต่อไป
ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 49 ปี นับแต่ปีการศึกษา 2517 เป็นต้นมา
สำหรับปีนี้สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดสรรงบประมาณกว่า
546,000 บาท เป็นทุนและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาการประกันภัย
รวมถึงสาขาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล
จากสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งหมด 14 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(วิทยาเขตตรัง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(NIDA)
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 69 ทุนรางวัล แบ่งเป็น
1. ทุนการศึกษาด้านวิชาประกันชีวิต หรือ
คณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นสาขาหรือวิชาเอก ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 21 ทุน
2. ทุนการศึกษาด้าน Data
Analytics ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 8 ทุน
3.
รางวัลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง
รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 12 รางวัล
4. รางวัล ASA Course I (Exam P -
Probability) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวนทั้งหมด 18 รางวัล
5. รางวัล ASA Course II (Exam FM
- Financial Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน ทั้งหมด 10
รางวัล
โดยงานมอบทุนและรางวัลการศึกษาดังกล่าว จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง Le Concorde Ballroom ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนและรางวัลการศึกษาในปีการศึกษานี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เยาวชนไทยที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์เลือกเรียนด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้มีโอกาสทำงานและก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ สมาคม ฯ ยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาเดินหน้าผลิตเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีบุคลากรคุณภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันชีวิตให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี
2566 ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 300,005 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2565 โดยจำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
86,802 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 213,203
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
82
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก
56,456 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.44
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว
30,346 ล้านบาท
เติบโตลดลงร้อยละ 0.03
หากจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่ายจะปรากฏ
ดังนี้
1.
การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 152,506 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.83
2.
การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 117,482
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.16
3.
การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 16,642 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.17
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.55
4. การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง
(Direct marketing) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 6,859 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 2.02 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
2.29
5.
การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 482 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 25.64 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.16
6.
การขายผ่านช่องทางอื่น (Others)
เช่น การขาย Worksite, การขายผ่านการออกบูธ, การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 6,035 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.23 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.01
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมในช่วงครึ่งแรก
ปี 2566 และมีอัตราการเติบโตมากขึ้น ได้แก่
สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและคุ้มครองโรคร้ายแรง ที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.34 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
18.01 ซึ่งหลัก ๆ มาจากการที่ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
จึงทำให้สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและคุ้มครองโรคร้ายแรงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนให้ความสนใจ
รวมถึงแบบประกันบำนาญ ที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.84 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.71 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสังคมสูงวัย
(Aged Society) และมาจากค่านิยมของการแต่งงานช้า
มีบุตรน้อยลง ทำให้คนทั่วไปเริ่มตระหนักถึงการออมเงินไว้สำหรับดูแลตัวเองในช่วงหลังเกษียณมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจรวมถึงแต่ละบริษัทประกันชีวิต
จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถตอบโจทย์บนความต้องการและไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Unit- Linked +Universal Life) เติบโตลดลงร้อยละ
13.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 17,201 ล้านบาท และมีสัดส่วนเมื่อเทียบเบี้ยรับรวมทั้งหมดร้อยละ 5.73
ซึ่งมาจากความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศ
รวมถึงความผันผวนของอัตราผลตอบแทนและภาวะอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถรับความผันผวนจากการลงทุน
จึงทำให้ชะลอการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนออกไปก่อน
สำหรับทิศทางภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี
2566 มีปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี
โดยคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,500 – 623,500 ล้านบาท เติบโตอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ
0 ถึง 2 ด้วยอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประมาณร้อยละ 81 ถึง 82
ซึ่งปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ
คือ ประชาชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพหรือโรคร้ายแรงมากขึ้น
ซึ่งนอกจากจะมาจากแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ยังมาจากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่
เช่น Covid-19 และมาจากภาคธุรกิจที่ออกนโยบายและมีการบังคับใช้แบบมาตรฐานใหม่ของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ
(New Health Standard) ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และเลือกความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน ประชาชนเริ่มตระหนักในการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) มากขึ้น จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัย
รวมถึงที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ และมีมาตรการผ่อนคลายการกำกับดูแลให้เป็น Principle-Base
มากขึ้น โดยกรอบแนวปฏิบัติสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับสภาวะตลาดในปัจจุบัน
เพื่อให้ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตยังสามารถเติบโตได้แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะวิกฤต
นอกจากนี้ภาคธุรกิจได้มีการส่งเสริมให้บริษัทประกันชีวิตมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าทายต่าง
ๆ อย่างใกล้ชิด อาทิ ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก
ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) ที่ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีทิศทางที่ปรับสูงขึ้นแต่ยังต้องมีความระมัดระวังในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท
สงครามการค้าและความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อหรืออำนาจซื้อของประชาชน
ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองทั้งในและต่างประเทศที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถสร้างผลกระทบและมีผลต่อเสถียรภาพของระบบการประกันชีวิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังรวมถึงการเริ่มใช้กฎระเบียบและมาตรฐานสากลใหม่ เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่
17 (TFRS 17) การปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของสหรัฐอเมริกา
(FATCA) มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติ
(CRS) และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(PDPA)
ที่ส่งผลให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตจะต้องปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ดังกล่าว
ซึ่งต้องใช้ทั้งงบประมาณ เวลา และบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) เพื่อประกอบการพิจารณาลงทุนและดำเนินงาน ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ
3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแล (Governance) มาประยุกต์ใช้เพื่อธุรกิจประกันชีวิตไทยมีความยั่งยืน
การส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ รวมถึงการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่าง
ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการนำเสนอขาย
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและยกระดับในการสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัยให้มากขึ้น
การสร้างองค์ความรู้เรื่องการป้องกันและรู้เท่าทันเทคโนโลยีให้แก่ประชาชน รวมถึงการดำเนินงานเชิงรุกในการขอปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง
ๆ ให้เป็นปัจจุบัน ผลักดันระบบการจัดสอบความรู้
ระบบออกใบอนุญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้บริษัทสมาชิกและบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืน
มีการแข่งขันอย่างเสรี ภายใต้ธรรมาภิบาลและการดูแลของหน่วยงานกำกับ
ที่สำคัญ
สมาคมประกันชีวิตไทยมีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตจะต้องมีการดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน
ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (CAR
Ratio) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory
CAR) เพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา ดังจะเห็นได้จาก
ใน ไตรมาสที่ 1/2566
จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง
อยู่ที่ร้อยละ 385 ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการกำกับ
(Supervisory CAR)
จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่านเชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคง
แข็งแกร่ง
และยึดมั่นคำสัญญาตามข้อผูกพันในกรมธรรม์ประกันชีวิตทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “มุมมองอุตสาหกรรมประกันภัยกับพระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562
ของประเทศไทย” เพื่อแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับมุมมองความท้าทายในการดำเนินธุรกิจประกันภัย
และความต้องการที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทางรัฐบาลสำหรับการผลักดันให้การดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งภายในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ของประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย ผู้แทนจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนจากสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
และผู้แทนจากสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Focus group) ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ
(ร่าง) แผนแม่บทการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 -
2570 ในการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบัน ปัญหา
อุปสรรค ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เพื่อนำไปทบทวนมาตรการที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย
ให้เชื่อมโยงกับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องประชุม Walk
The Talk ชั้น 15 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) เมื่อวันที่ 9
สิงหาคม 2566
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย ดร. สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย นางประภาพร ลิขสิทธิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
และนายจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน Thailand
InsurTech Fair 2023 ภายใต้แนวคิด “Strengthening
Sustainability Through Insurance Innovation” ระหว่างวันที่ 8 - 10
กันยายน 2566 ณ อาคาร 7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานงานแถลงข่าว เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนร่วมวางแผนทางการเงิน
บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษมีทั้งส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยและสิทธิชิงโชคลุ้นรับของรางวัลมากมาย
ณ Studio ชั้น 5 Index Creative Village วันที่ 11 สิงหาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดสัมมนาวิชาการ “กฎหมายแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” โดยมีนายกิตติ
ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคมฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีการบรรยายพิเศษ
3 หัวข้อ ประกอบด้วย
หัวข้อที่ 1
“กฎหมายแนวทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล”
ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิรองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายชินกิต อดุลย์ธีรกิจ
ผู้อำนวยการ สายงานกฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บรรยายให้ความรู้ พร้อมทั้งเปิดเวทีเสวนาเพื่อตอบคำถามของบริษัทสมาชิกร่วมกับนายบุญสันต์
ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) โดยมีนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นผู้ดำเนินรายการ
หัวข้อที่ 2
“ประกาศหลักเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”
ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวพลอย เจริญสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และนายวีรศักดิ์
ดีอ่ำ ผู้ชำนาญการด้านมาตรฐาน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. : ETDA)
หัวข้อที่ 3
“การบริการด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อระบบ”
ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวอรอุมา มั่นศิลป์
ผู้บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)
เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจ
พร้อมทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
ณ ห้องประชุม สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแสดงความยินดีกับกระทรวงพาณิชย์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 103 ปี โดยมี นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ และ นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล
ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ให้การต้อนรับ ณ บริเวณโถงกลาง อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมสนับสนุนโครงการ Healthcare
Technology Summit 2023 (ครั้งที่ 10) จัดขึ้นโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงสาธารณสุข
(MOPH) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ONDE) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ภายใต้แนวคิด Empowering Clinicians & Engaging Patients
through Digital Healthcare and AI Era ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2566 ภายในงานมีการสัมมนาวิชาการและการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ถือเป็นเวทีสำคัญในการผลักดันและอัพเดทให้เกิดแผนปฏิบัติการตามวิสัยทัศน์ eHealth
ของประเทศ นำไปสู่การพัฒนาแผนปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนระบบการแพทย์ของสาธารณสุขไทยด้วย
digital technology เพื่อนำไปสร้างนวัตกรรมการบีริการให้ทั่วถึง
ทุกที่ และเท่าเทียม
โดยเฉพาะบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดี อีกทั้งยังเป็นเวทีเพื่อระดมสมองในการพัฒนาระบบข้อมูลและจัดการความรู้ข่าวสารสุขภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้
เพื่อให้ประชาชนมีองค์ความรู้เพียงพอในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง
ครอบครัวและชุมชนต่อไป โดยมีนายสุรศักดิ์ กลิ่นศรีสุข ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายประสานงานและความร่วมมือ เป็นผู้แทนสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ
ณ ห้อง Mayfair Ballroom B (ชั้น 11) โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์
ประตูน้ำ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) ร่วมกับ สมาคมประกันชีวิตไทย จัดการประชุมชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการ ประกันชีวิต (IBS - Life) เพื่อสรุปผลภาพรวมการนำส่งข้อมูลในระบบฐานข้อมูลการประกันชีวิต
(IBS - Life) ของภาคธุรกิจประกันชีวิต
พร้อมร่วมหารือถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลการประกันชีวิต (IBS
– Life) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการให้บริการประชาชน
การกำกับและตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิต
รวมถึงยกระดับการดำเนินกิจการของธุรกิจประกันชีวิตให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยและระบบประกันภัย โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ สุขมา ผู้ช่วยเลขาธิการ
สายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงาน คปภ. นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย และผู้แทนบริษัทสมาชิก เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 21
สิงหาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมกิจกรรมสัมมนาและการบรรยายภายใต้โครงการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัย
ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และประชาชนเชิงรุก
“Let’s Journey to Protection ปฏิบัติการ OIC HERO เปิดกลยุทธ์โตได้ไม่ล้ม ปราบฉ้อฉลไม่เป็นเหยื่อ” จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
หรือผู้ประกอบธุรกิจ SME ได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์
เงื่อนไขความคุ้มครอง ตลอดจนข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่าง ๆ
ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของบุคคลหรือธุรกิจของตนเอง
พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยให้แก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัยด้วย
โดยมี นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และ ดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม Marina Bay Ballroom โรงแรม
โนโวเทล มารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ขอเชิญชวนประชาชน เข้าร่วมงาน Thailand
InsurTech Fair 2023 ภายใต้แนวคิด “Strengthening
Sustainability Through Insurance Innovation – เสริมสร้างโลกแห่งประกันภัยที่ยั่งยืนด้วยสุดยอดนวัตกรรมด้านประกันภัย”
ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน
คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ณ ฮอลล์ 7 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่
8 - 10 กันยายน 2566 พร้อมกันนี้ยังสามารถเยี่ยมชมบูธออนไลน์ (Online) ของงานดังกล่าว ผ่านแพลตฟอร์ม www.tif2023.com ที่ตอบโจทย์การประกันภัย
ยุคดิจิทัล ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น
ภายในงานท่านจะได้ร่วมวางแผนบริหารความเสี่ยงโดยตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ ซึ่งสามารถเลือกสรรผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ตรงกับความต้องการ ความเสี่ยงภัย
และไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองสุขภาพ
การวางแผนเกษียณด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือจะวางแผนประกันชีวิตควบการลงทุนเพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
ตลอดจนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตอื่นๆ เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
พร้อมสัมผัสนวัตกรรมใหม่และเทคโนโลยีประกันภัยเพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล บริษัทประกันชีวิต
บริษัทประกันวินาศภัย นายหน้าประกันภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยประชาชนที่มาร่วมงานจะได้รับประโยชน์สูงสุด จากผลิตภัณฑ์ประกันภัยในราคาประหยัดที่มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุด
30 % โดยนำใบเสร็จค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระภายในงานตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
นำมาแลกรับคูปองเพื่อชิงโชคลุ้นรับของรางวัลมูลค่ากว่า 1.4 ล้านบาท อาทิ
รถยนต์ไฟฟ้า BYD
, IT Gadget ต่างๆ เช่น iPhone, iPad และอื่นๆ
อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมความบันเทิงจากศิลปินและดาราชื่อดังผลัดเปลี่ยนกันมาสร้างความสนุก
อาทิ ‘นิว ฐิติภูมิ’ ศิลปินจาก GMM TV ที่จะเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านประกันภัย
พร้อมมอบความบันเทิงผ่านเสียงเพลง
ส่วนท่านที่ต้องการหาความรู้
หรือข้อมูลก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต
สมาคมประกันชีวิตไทยก็ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาพร้อมร่วมออกบูธ
เผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัย
วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยควรทราบ
พร้อมกันนี้ท่านยังสามารถเลือกและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตภายในงานจาก
14 บริษัทประกันชีวิต ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท
พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทสหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอไอเอ จำกัด บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอฟดับบลิวดี
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ที่จะนำเสนอนวัตกรรมการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย
พร้อมโปรโมชั่นโดนใจที่จัดขึ้นเฉพาะในงานนี้เท่านั้น ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าว
นายสาระ ล่ำซำ ประธานสมาคมการค้ากลุ่มการเงิน
การลงทุน และการประกัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายอธิป พีชานนท์
รองประธานกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการประชุมหารือเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านข้อมูลส่วนบุคคลแก่ภาคธุรกิจ
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน)
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคม
รับรางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม ประจำปี 2566 จาก นายกีรติ รัชโน
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ภายในงานพิธีมอบรางวัลสมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2566 จัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การบริหารจัดการและการดำเนินงานของสมาคมการค้าไทย
ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล
ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการ Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ
ได้แก่ ด้านผลสำเร็จตามพันธกิจ ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ
ด้านคุณภาพการให้บริการและด้านการพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยได้รับรางวัลดังกล่าวต่อเนื่องกันมาตั้งแต่
ปี 2558 , 2560 , 2562 , 2563 , 2564 , 2565 และปีนี้ 2566 นี้เป็นสมัยที่ 7 ณ ห้อง Ballroom 1 – 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการออมเบอร์ 5” ซึ่งเป็นการผสานความร่วมมือระหว่าง
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน
ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน
ร่วมถึงสมาคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและพิจารณาให้กองทุนรวมเป็นทางเลือกในการออม การลงทุน ซึ่งทำอย่างต่อเนื่องอันจะนำไปสู่ความมั่งคั่ง
มั่นคงของผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีให้ผู้ลงทุน
พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อผลสำเร็จในระยะยาว (Long Term Purpose)
สำหรับโครงการออมเบอร์ 5
มีเป้าหมายหลักในการขยายฐานผู้ลงทุนหน้าใหม่
โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานให้มีความพร้อมมีวินัยการออมเพื่ออนาคตผ่านการลงทุนในกองทุนรวมแบบ
Dollar Cost Average (DCA : การลงทุนสม่ำเสมอแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน)
โดยประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการด้วยการเปิดบัญชีกองทุนรวม
เริ่มลงทุนสะสมจนครบ 5,000 บาท
และร่วมสร้างแผนการลงทุนในกองทุนรวมแบบสม่ำเสมอรายเดือน (DCA) ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 500 บาท เมื่อลงทุนต่อเนื่องครบ 12 เดือน
จะได้รับของสมนาคุณพิเศษเพื่อสนับสนุนการออมเพิ่มเติมมูลค่า 500 บาท
ซึ่งภาคธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 22 แห่ง
บริษัทหลักทรัพย์ 14 แห่ง บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน 2 แห่ง
ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง และบริษัทประกันชีวิต 4 แห่ง ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3
อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมประกันชีวิตไทยในงาน Thailand
InsurTech Fair 2023 โดยมี ผู้บริหารจากสมาคมประกันชีวิตไทยให้การต้อนรับ ซึ่งภายในบูธได้มีการจัดนิทรรศการและวีดิทัศน์รูปแบบการ์ตูนอนิเมชั่น
เผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัย
วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยควรทราบ
พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษากับประชาชนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกันชีวิต ณ
ฮอลล์ 7 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2566
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ
พร้อมคณะกรรมการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมแสดงความยินดีกับบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร
ประจำปี 2566 (Prime
Minister’s Insurance Awards 2023) ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยได้รับเกียรติจาก นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 6
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น
7 บริษัท จาก 10 รางวัลเกียรติยศ ประกอบด้วย
1. รางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด
(Hall of Fame) ประจำปี
2565
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2. รางวัลเกียรติยศบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
3. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2565 อันดับที่ 1
บริษัท เอไอเอ จำกัด
4. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2565 อันดับที่ 2
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
5. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2565 อันดับที่ 3
บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
6. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
7. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
8. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท เอไอเอ จำกัด
9. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
10. รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2565
บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมกับ สถาบันประกันภัยไทย จัดบรรยายวิชาการ เรื่อง “Public
Speaking” สร้างความสำเร็จในการทำงานด้วยการสื่อสารระหว่างวัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก
รศ.ดร.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและการสื่อสารองค์กร วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร
การสร้างความมั่นใจในการนำเสนอต่อสาธารณชน พัฒนาทักษะการวิเคราะห์การฟัง การสื่อสารโน้มน้าวจิตใจและครองใจผู้ฟัง รวมถึงการพัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างวัย
พร้อมดำเนินกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิตที่เข้าฟังการบรรยาย นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และ นายกิตติ
ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการ สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายพร้อมมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดี
พร้อมทั้งมอบรางวัลให้กับตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินในพิธีมอบรางวัล “ APFinSA
Awards 2023” ซึ่งจัดโดยสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก
(Asia Pacific Financial
Services Association) ร่วมกับ
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) เพื่อเชิดชูเกียรติ
เสริมสร้างกำลังใจแก่ตัวแทนประกันชีวิตทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้คำปรึกษาทางการเงิน
ยกระดับความเป็นมืออาชีพในการทำงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ณ ห้องบอลรูม 4
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566
นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์
ประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2566) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมกับพันธมิตรอุตสาหกรรมประกันชีวิต
ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
สมาคมตัวแทนและที่ปรึกษาการเงิน และกองทุนประกันชีวิต ผนึกกำลังจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ประจำปี
2566 โดยนำบุคลากรของอุตสาหกรรมประกันชีวิตร่วมบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี 2566โดยปีนี้เปิดรับบริจาคโลหิตตั้งแต่วันที่
1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2566 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งผลให้มีจำนวนผู้ร่วมบริจาคถึง
7,867 คน คิดเป็นปริมาณโลหิตที่ได้รับบริจาค 3,144,400 ซีซี
ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2565 พบว่า โรงพยาบาลทั่วประเทศไทยประสบภาวะขาดแคลนโลหิต
เนื่องจากการบริจาคโลหิตลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ คลังจ่ายโลหิตช่วยชีวิตได้เพียง 3,240
ยูนิต จากความต้องการ 9,000 ยูนิต ในแต่ละวัน ซึ่งทำให้บางช่วงเวลามีปริมาณโลหิตสำรองไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากยอดผู้บริจาคโลหิตไม่มีความสม่ำเสมอ
ดังนั้น กิจกรรมสาธารณะกุศลอย่างการบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติจึงถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภาคธุรกิจประกันชีวิตที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์
โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 จึงทำให้มีปริมาณโลหิตที่ถูกบริจาคผ่านกิจกรรมดังกล่าวไปแล้วถึง
26,367,250 ซีซี จากจำนวนผู้บริจาค 66,420 คน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเข้าร่วมบริจาคโลหิต
รวมทั้งขอขอบคุณพันธมิตรของภาคธุรกิจประกันชีวิตที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงาน
ความสำเร็จการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ
เพื่อให้อุตสาหกรรมประกันชีวิตเข้าถึงประชาชนและเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือสังคมต่อไป
พลอากาศเอก ชลิต
พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติรับมอบเงินบริจาคเนื่องในโอกาสการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี
2566 จำนวน 100,000 บาท จากนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
(ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วย นางประภาพร ลิขสิทธิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
(ที่ 2 จากขวา) นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ (ขวาสุด) นายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ (ที่ 2 จากซ้าย) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาและการฝึกอาชีพแก่เยาวชน ณ ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 26 กันยายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย คุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร ให้การต้อนรับ คุณหลัว เจี้ยนหรง ผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจการเงิน
คุณเคน เชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณดำริห์ เวชชทนต์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
และคุณมัลลิกา โกวิทคณิต ผู้ช่วยและล่ามผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจการเงิน คณะผู้บริหารจากบริษัท
เคดับบลิวไอ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เนื่องในโอกาสร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ
ณ ห้องประชุม 601 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดที่ทำการสำนักงาน
คปภ. ภาค 4 (นครราชสีมา) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดนครราชสีมา ณ อาคารเลขที่ 2966/7
ถนนเดชอุดม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการต่อประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันชีวิตและประกันภัย อย่างครบวงจร เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ (ที่
2 จากขวา) พร้อมด้วย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร (ที่ 1 จากขวา) และนายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร (ที่ 1 จากซ้าย) มอบเงินสนับสนุนเนื่องในโอกาสการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ประจำปี 2566 จำนวน 100,000 บาท ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมี นางศศิธร
จันทรสมบูรณ์ กรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่อยู่ในความอนุเคราะห์
พร้อมทั้งช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ สังคม
อาชีพแก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวให้มีสุขภาวะที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตอย่างปกติโดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม
ซึ่งสมาคมฯ ได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารมูลนิธิฯ ถนนติวานนท์ ต.บางตลาด
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางบุญกาญจน์ รัตนาวิบูลย์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ร่วมแสดงความยินดีกับกรมบัญชีกลาง เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ
133 ปี โดยมีนางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการ กองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี และนางสาวทิวาพร
ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้การต้อนรับ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 3 กรมบัญชีกลาง
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางบุญกาญจน์ รัตนาวิบูลย์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา
ครบรอบ 21 ปี โดยมีนางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ และนายธีรลักษ์ แสงสนิท ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้
ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่
9 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับ สถาบัน LIMRA
LOMA จัดสัมมนา เรื่อง “Best Practices
in Life Insurance Training and Development for Sales Effectiveness” ซึ่งได้รับเกียรติจาก
คุณริชาร์ด เวเบอร์ (Mr.
Richard Weber) ที่ปรึกษาสถาบัน
LIMRA LOMA เป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและการพัฒนาช่องทางการขายผ่านตัวแทน
และช่องทางการขายผ่านธนาคาร ให้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสุรพล
ทองทูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ สถาบัน LIMRA LOMA รายงานวัตถุประสงค์ และ คุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดการประชุมชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแพลตฟอร์มให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจ
รวมถึงยกระดับการดำเนินกิจการของธุรกิจประกันชีวิตให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยและระบบประกันภัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณอธิษฐา จิตรานุเคราะห์ Partner,
Tilleke & Gibbins และที่ปรึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว โดยมี คุณจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
มอบของที่ระลึก ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “มุมมองการดำเนินคดีและการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาลและอนุญาโตตุลาการ”
ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภชัย ประไพนพ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดปราจีนบุรี
มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาล”
พร้อมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองทางวิชาการ หัวข้อ
"มุมมองการดำเนินคดีและการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาลและอนุญาโตตุลาการ”
ร่วมกับรองศาสตราจารย์สุดา วิศรุตพิชญ์ อนุญาโตตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ
สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. โดยมีคุณธัญญะ ซื่อวาจา
รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยคุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร ณ
ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร
ร่วมแสดงความยินดีกับสภาวิชาชีพบัญชี เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ19 ปี โดยมี นายวินิจ ศิลามงคล นายกสภาวิชาชีพบัญชี นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ กรรมการและเลขาธิการ และ ศ. ดร.สหธน รัตนไพจิตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายให้การต้อนรับ ณ ห้องอบรมชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชีอาคารสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่
23 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดอาคารสำนักงาน คปภ. จังหวัดจันทบุรี
ณ อาคารเลขที่ 999/2 หมู่ 10 ถนนสี่แยกตากสิน (โครงการไอริช) ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี
จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้บริการต่อประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันชีวิตและประกันภัยอย่างครบวงจร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัย จัดสัมมนาวิชาการ IFRS17 Post Implementation ซึ่งได้รับเกียรติจาก
Vanessa
Lou และ Ziling Yong , Actuarial Partner จาก EY Singapore พร้อมทั้ง คุณจอมขวัญ จันทน์ผา Audit
Partner และ คุณอาทิตยา นาวาเจริญ Senior Manager จาก EY Thailand ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้
ความเข้าใจอย่างละเอียดหลังการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (IFRS 17) ให้แก่บุคลากรของธุรกิจประกันชีวิต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการรับมือต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์เป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามมาตรฐานในระดับสากลต่อไป ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการการเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย OIC : Be Smart First Jobber ปีที่ 2 ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) โดยมี นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยและเส้นทางสายอาชีพด้านการประกันภัยให้กับกลุ่มนิสิต
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการประกันภัยที่สามารถใช้บริหารจัดการความเสี่ยงได้จริง
และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนแปลงในระดับพฤติกรรมเพื่อให้การประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ในการบริหารความเสี่ยงอย่างแท้จริง ณ ไรส์ อินโนเวชั่น ฮับ (Rise
Innovation Hub) ชั้น 22 อาคารเกสรทาวเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน
2566
คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วม “มอบรัก ปันสุขสู่สังคม” ด้วยการมอบทุนอาหารกลางวันและทุนการศึกษาให้แก่น้อง ๆ
นักเรียน โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฏคีรีวัน (เขาใหญ่) โดยมีนายรักศักดิ์ ชัยรัญจวนสกุล ผู้อำนวยการ เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในกิจกรรม เพื่อสังคมของสมาคมฯ ปฏิบัติเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีจิตสาธารณะและปลูกฝังการมีคุณธรรมจริยธรรมให้พนักงานได้มีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กลับคืนสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฏคีรีวัน
(เขาใหญ่) ตำบล โป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน
2566 ที่ผ่านมา
สภาธุรกิจประกันภัยไทย
จัดการประชุมคณะกรรมการสภาธุรกิจประกันภัยไทย ครั้งที่ 1/2566 - 2568 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง คุณสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย ประจำปี 2566 – 2568 พร้อมแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง
ๆ ได้แก่ ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย
เป็นรองประธาน
คุณจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย เป็นเลขาธิการ
และ คุณประภาพร ลิขสิทธิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เป็นรองเลขาธิการ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยโดยรวมให้มีความก้าวหน้าตามภารกิจต่าง
ๆ ที่ได้กำหนดไว้
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าพบ นายชูฉัตร ประมูลผล เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ณ สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
2566
คุณจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา หัวข้อ
InsureXperience
& Career Path Talk “ประสบการณ์เส้นทางสายอาชีพประกันภัย” ภายใต้โครงการ
: การเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย O I C : Be
Smart First Jobber ปีที่ 2 ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) พร้อมด้วย คุณกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้ชำนาญงานอาวุโส กลุ่มบริหารงานทรัพยากรบุคคล สำนักงาน คปภ. และคุณนิศามล
แก้ววงศ์ ผู้แทนสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน โดยมี อาจารย์พองาม
เหลี่ยมศิริวัฒนา เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย
พร้อมทั้งร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การก้าวเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพด้านการประกันภัย ให้กับกลุ่มนิสิต
นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาและผู้เริ่มต้นทำงาน (First
Jobber) ได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการประกันภัยที่สามารถใช้บริหารจัดการความเสี่ยงได้จริง
อีกทั้งยังสื่อสารให้เห็นว่า ธุรกิจประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจแห่งโอกาส เป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้เริ่มต้นทำงาน (First Jobber) ณ CBS Lounge ชั้น 1 อาคารไชยยศสมบัติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
เตือนผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีและให้ความยินยอม (Consent) แก่บริษัทประกันชีวิตนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
โดยขอให้ผู้เอาประกันภัยแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอมนำส่งข้อมูลของทุกกรมธรรม์เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี และไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
เนื่องจากจะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ซึ่งรวมถึงจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว
พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่าย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า
จากการที่ภาครัฐหรือกรมสรรพากรได้ให้ความสำคัญกับการออมเงินและการวางแผนทางการเงินของประชาชนในระยะยาว
เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิตและครอบครัว
โดยจะมีการให้สิทธิลดหย่อนภาษีแก่ผู้มีเงินได้ที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตกับบริษัทประกันในประเทศไทย ที่ได้กำหนดให้กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
หากมีการจ่ายเงินคืนระหว่างสัญญา เงินคืนที่ได้รับจะต้องไม่เกิน 20%
ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
และสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท
และสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีประกันภัยสุขภาพสามารถนำเบี้ยที่ชำระแล้วมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงได้แต่ไม่เกิน
25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระแล้วไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
โดยทั้งนี้เงินลดหย่อนภาษีดังกล่าวเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะต้องไม่เกิน
500,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีประกันภัยสุขภาพของบิดามารดา
สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
โดยมีเงื่อนไขว่าบิดามารดาของผู้มีเงินได้
จะต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว
หากมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันภัยสุขภาพ
หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จะถือว่า ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว
รวมถึงเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากร
นอกจากนี้ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ควรแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอม (consent) แก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด
เพราะไม่เช่นนั้น
ผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์นั้นได้
กรณีผู้ที่มีกรมธรรม์หลายฉบับ แต่ไม่ได้ให้ความยินยอม (consent) ทุกฉบับ หากมีการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร
จะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิการลดหย่อนภาษี
และจะต้องคืนเงินภาษีที่ลดหย่อนได้บนกรมธรรม์ที่ไม่ได้ให้ความยินยอม (Consent)
รวมถึงผู้เอาประกันภัยอาจเกิดความยุ่งยากและความไม่เข้าใจเมื่อต้องนำส่งเอกสารเพิ่มเติมให้กับกรมสรรพากร
เพื่อรักษาสิทธิการลดหย่อนภาษีดังกล่าวไว้
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโอกาสนี้ จึงขอย้ำเตือนประชาชนทุกท่านว่า
ก่อนยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต
ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่าจะเสียสิทธิประโยชน์อะไรไปบ้าง หากประชาชนมีข้อสงสัย
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตามแต่ละกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม
อย่าลืมว่าสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นเพียงผลประโยชน์เพิ่มเติมเท่านั้น
เพราะจุดเริ่มต้น ของการมีประกันชีวิตคือเรื่องความคุ้มครองและบริหารความเสี่ยงเป็นหลักสำคัญ
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย
นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมกิจกรรมสัมมนาและการบรรยายภายใต้โครงการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัย
ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และประชาชนเชิงรุก
“Let’s Journey to Protection ปฏิบัติการ OIC HERO เปิดกลยุทธ์ โตได้ไม่ล้ม ปราบฉ้อฉลไม่เป็นเหยื่อ” จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
หรือผู้ประกอบธุรกิจ SME ได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์
เงื่อนไขความคุ้มครอง ตลอดจนข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่าง ๆ ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของบุคคลหรือธุรกิจของตนเอง
พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยให้แก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัยด้วย
โดยมี นายองครักษ์ ทองนิรมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ
และ นายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม
Paksasawan Ballroom โรงแรมหัวหิน แมริออท รีสอร์ท และสปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่
23 พฤศจิกายน 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมกับ บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด จัดสัมมนาออนไลน์
หัวข้อ “เตรียมรับมือกับความท้าทายในการปฏิบัติตาม CRS
และ FATCA ในปี 2567” ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณชินุมา
ฮึกหาญ หุ้นส่วน ฝ่ายภาษีอากร คุณแพรว มหาดำรงค์กุล รองผู้อำนวยการ ฝ่ายภาษีอากร คุณจินต์ศุภา
จานะพร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายภาษีอากร Mercy Joseph Partner และ Meng Keat Chew Senior Manager จาก EY team ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินการรายงานตามมาตรฐาน CRS
และ FATCA ของบริษัทประกันชีวิตในต่างประเทศ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำส่งข้อมูล CRS และ FATCA ในปี 2567 และปีถัดไป ผ่านระบบ Microsoft Teams เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีเช่นนี้
นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางแผนภาษีของประชาชนผู้มีเงินได้ รวมถึงหลายๆ
ภาคธุรกิจทางการเงินต่างก็ให้ความสำคัญนำเสนอสินค้าที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีให้ประชาชนได้เลือกสรรอย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตและการลงทุนของแต่ละบุคคล
ซึ่งธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารความเสี่ยงของชีวิตและสุขภาพ
ตลอดจนการเงิน การลงทุน รวมถึงเป็นเครื่องมือชดเชยรายได้ในยามชรา
ผ่านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตหลายประเภท อาทิ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตควบการลงทุน
ประกันภัยสุขภาพ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกอบกับการที่ภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการออมเงิน ระยะยาวเพื่อการสร้างความมั่นคงให้กับอนาคต อีกทั้งยังช่วยลดภาระให้ตนเองและครอบครัวรวมถึงสังคม โดยกรมสรรพกรกำหนดให้สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่
10 ปี ขึ้นไป หากมีการจ่ายเงินคืนระหว่างสัญญา เงินคืนที่ได้รับจะต้องไม่เกิน 20%
ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี และสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท
และสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีประกันภัยสุขภาพสามารถนำเบี้ยที่ชำระแล้วมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระแล้วไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
โดยทั้งนี้เงินลดหย่อนภาษีดังกล่าวเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะต้องไม่เกิน
500,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีประกันภัยสุขภาพของบิดามารดา
สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าบิดามารดาของผู้มีเงินได้
จะต้องมีเงินได้พึงประเมินใน
ปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม
ขอเน้นย้ำทุกท่านว่าอย่าลืมว่าสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นเพียงผลประโยชน์เพิ่มเติมเท่านั้น
เพราะจุดเริ่มต้นของการมีประกันชีวิต ประกันภัยสุขภาพ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ
คือเรื่องความคุ้มครองและบริหารความเสี่ยงเป็นหลักสำคัญ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีการทำประกันดังกล่าวข้างต้นไว้แล้วอย่าลืมแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอม
(consent)
แก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันชีวิต ให้กรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด
เพราะไม่เช่นนั้นผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์นั้นได้
กรณีผู้ที่มีกรมธรรม์หลายฉบับ ก็ต้องให้ความยินยอม (consent) ทุกฉบับที่ผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าว
สมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมกับ บริษัท โคมาร์ช (ประเทศไทย) จำกัด จัดสัมมนาเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงธุรกิจประกันไปสู่อนาคต
Transform your insurance business into the future" ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณดุลยลักษณ์ สมานบุตร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คุณพรพรรณ แจ้งพินิจพร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
และ คุณภริดา ลีลานิรมล ผู้อำนวยการฝ่ายขาย จาก บริษัท โคมาร์ช (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรของธุรกิจประกันชีวิต เกี่ยวกับการปรับตัวของธุรกิจในเรื่องช่องทางการขายแบบ
Omni Channel เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการจัดการและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
(Customer Loyalty Management) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวต่อการก้าวผ่านยุค
Digital ได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องตามแผนพัฒนาการประกันภัย (ยุทธศาสตร์ที่ 1
พัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัย
ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมใหม่) โดยมี คุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม
701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566
คุณจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา หัวข้อ
InsureXperience
& Career Path Talk “ประสบการณ์เส้นทางสายอาชีพประกันภัย” ภายใต้โครงการ
: การเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงานด้วยการประกันภัย O I C : Be
Smart First Jobber ปีที่ 2 ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) พร้อมด้วย คุณกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้ชำนาญงานอาวุโส กลุ่มบริหารงานทรัพยากรบุคคล สำนักงาน คปภ. และคุณทดิน
นารินทร์ทอง
ผู้แทนสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน โดยมี
อาจารย์พองาม เหลี่ยมศิริวัฒนา เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย
พร้อมทั้งร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การก้าวเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพด้านการประกันภัย ให้กับกลุ่มนิสิต
นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาและผู้เริ่มต้นทำงาน (First
Jobber) ได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการประกันภัยที่สามารถใช้บริหารจัดการความเสี่ยงได้จริง
อีกทั้งยังสื่อสารให้เห็นว่าธุรกิจประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจแห่งโอกาส เป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้เริ่มต้นทำงาน (First Jobber) ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน
2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
นำโดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยนายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการ และนายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร เข้าร่วมการประชุมสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียนครั้งที่
49 (The
49th ASEAN Insurance Council : AIC) ซึ่งเป็นความร่วมมือของสมาคมประกันชีวิต
สมาคมประกันวินาศภัย ของประเทศสมาชิกอาเซี่ยนทั้ง 10
ประเทศเพื่อหารือและบูรณาการร่วมมือในการขับเคลื่อนพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมประกันภัยอาเซียน
ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่โรงแรมรอยัล ฮาลอง ประเทศเวียดนาม ระหว่าง วันที่ 7 - 8 ธันวาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายกิตติ ผาสุขดี ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้แทนบริษัทประกันชีวิต ร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อทำความเข้าใจต่อร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่
...) พ.ศ. ... และ ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท
และกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบโอนกิจการและความรับผิดของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการ
โดยร่างพระราชบัญญัติทั้งสองกลุ่มได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และผ่านการรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน
คปภ. แล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างที่กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอยืนยันร่างต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ในการนี้ สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาดังกล่าวขึ้นเพื่อทำความเข้าใจต่อร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย
กลุ่ม 2 และ กลุ่ม 3 เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ที่จะมีผลใช้บังคับในอนาคตได้ โดยมี นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เป็นประธานการประชุม ณ ห้อง Eternity
Ballroom ชั้น G โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร และ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
ร่วมพิธีเปิดโครงการ "คปภ.เพื่อคนพิการ (ปี 3)” ภายใต้แนวคิด "คปภ.
โอกาส ความสุข ความสำเร็จ ส่งต่อได้" (Sharing Happiness
Together) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย โดยมี นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ สำนักงาน
คปภ. เป็นประธานเปิดงาน ในการนี้ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้แนวคิด “คปภ. โอกาส ความสุข
ความสำเร็จ ส่งต่อได้” (Sharing Happiness Together) กับ นายศุภกิจ
สัตยารัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนานโยบายการกำกับช่องทางการจำหน่าย
สำนักงาน คปภ. นางณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายสุริยา สมสีลา ผู้แทนคนพิการผู้ปฏิบัติงานในมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิต การประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการมีโอกาสเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
พร้อมกันนี้ภาคธุรกิจประกันชีวิต-ประกันภัยยังได้ร่วมสนับสนุนให้คนพิการได้เข้ามาทำงานเป็นพนักงานในหน่วยงานของบริษัท
ตลอดจนสนับสนุนและสร้างโอกาสทางอาชีพ ทำให้คนพิการในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งภายในงานสมาคมประกันชีวิตไทยยังร่วมออกบูธเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้กับผู้ร่วมงาน
ข้าราชการและประชาชนที่เข้ามาติดต่อ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร พร้อมฝ่ายสื่อสารองค์กร เข้าร่วมงาน กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมร่วมกับเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ภาคธุรกิจประกันภัยและสื่อมวลชน
เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรมประกันภัย ประจำปี 2566 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) นำภาคธุรกิจประกันชีวิต ประกันวินาศภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองอีเห็น อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกันทำกิจกรรมมอบกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
อุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา ปรับปรุงห้องสมุด จัดทำแปลงเกษตรปลูกผักสวนครัว
และติดตั้งเสาไฟโซล่าร์เซลล์ พร้อมทั้งจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทย ได้สนับสนุนการจัดงานและมอบกล่องใส่อาหารอเนกประสงค์ สมุดโน้ต แก่คณะนักเรียนและอาจารย์
โดยมี นางสาวจิราภรณ์ เจริญเชื้อ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองอีเห็น พร้อมนางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์
ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกลยุทธ์องค์กร สำนักงาน คปภ. เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 18
ธันวาคม 2566
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมฯ นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ อุปนายกฝ่ายการตลาด นายโชน
โสภณพนิช อุปนายกฝ่ายวิชาการ และผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบ นายวินิจ ศิลามงคล นายก สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี วาระปี 2566 – 2569 พร้อมอวยพรเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่
2567 ณ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566
นายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย และ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวและพิธีเปิด
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2567” พร้อมเปิดตัว “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่เที่ยวได้อุ่นใจ
(ไมโครอินชัวรันส์)” และ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ปีใหม่สุขใจ
ฝากบ้านไว้กับประกันภัย (ไมโครอินชัวรันส์)” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย
อาทิ สภาธุรกิจประกันภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลปีใหม่
ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนเกิดการสูญเสีย และอาจทำให้เสียศูนย์
พร้อมเชิญชวนให้บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ
ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2
สำนักงาน คปภ. (ถนนรัชดาภิเษก) เมื่อวันที่
25 ธันวาคม 2566
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า เทศกาลปีใหม่เป็นเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์ ซึ่งคาดว่าประชาชนจะมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวจำนวนมาก ส่งผลให้การจราจรคับคั่ง โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุก็สูงกว่าปกติ ซึ่งจากสถิติของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานไว้ว่า ในช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 29 ธันวามคม 2565 ถึง 4 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ประสบภัยบนท้องถนนถึง 2,440 ครั้ง แบ่งเป็นกรณีเสียชีวิต 317 ราย และบาดเจ็บ 2,437 ราย จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความสูญเสียสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอเชิญชวนประชาชนเตรียมพร้อมวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ
เพื่อให้การท่องเที่ยวในวันหยุดยาวนี้เป็นไปอย่างมีความสุขไร้ซึ่งความกังวลใจ
หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในระหว่างการเดินทาง
ไม่ว่าจะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือเจ็บมากประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างดี
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนควรจะวางแผนก่อนวันเดินทาง ทั้งนี้ หากมีความประสงค์ที่จะได้รับความคุ้มครองเพียงระยะเวลาสั้นๆ
30 วันก็สามารถติดต่อได้ที่บริษัทประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่เที่ยวได้อุ่นใจ
(ไมโครอินชัวรันส์) ไว้บริการได้แก่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)
จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ จำกัด , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน)
สุดท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงด้วยความรอบคอบ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความปลอดภัยในการเดินทาง ใช้รถใช้ถนนด้วยความไม่ประมาณ
และขอฝากถึง
ผู้ที่ได้ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุไว้อยู่แล้ว
โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยที่ท่านมีอยู่นั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะทำให้ท่านและครอบครัวเกิดความอุ่นใจตลอดการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้
ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพตลอดการเดินทางครับ ผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมฯ กล่าวในตอนท้าย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยกรรมการสมาคมฯ และผู้บริหารสมาคมฯเข้าพบนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยและผู้บริหารสำนักงาน คปภ. เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2567 ณ
ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 4 มกราคม
2567
สมาคมประกันชีวิตไทย ชวนออมเงินโดยนำเงินโบนัส
เงินคืนภาษี มาต่อยอดให้งอกเงยมั่งคั่ง พร้อมสร้างความมั่นคงให้ตนเองและครอบครัวด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมาหลาย
ๆ คนอาจเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีกับการได้รับโบนัสก้อนโต และยังได้รับคืนเงินภาษีมาให้ชื่นใจ
ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านได้วางแผนซื้อความสุขให้กับตนเองและคนที่รักไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม
ขอแนะนำให้แบ่งใช้ แบ่งเก็บ
เพื่ออนาคต โดยการต่อยอดเงินออมให้งอกเงย
สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืนแบบมีวินัยการเก็บออมอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ ซึ่งนอกจากการเก็บออมแล้วก็ยังจะได้รับความคุ้มครองชีวิต
คุ้มครองสุขภาพ หรือคุ้มครองอุบัติเหตุ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นการลดภาระให้กับตัวเองและครอบครัว
ไม่ดึงเงินเก็บออกมาใช้ในยามฉุกเฉิน ถือเป็นวิธีสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตและอนาคต
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้นมีหลากหลายให้เลือกตามความต้องการและความเหมาะสมของ
แต่ละบุคคล เช่น แบบประกันสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) ซึ่งเป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ โดยบริษัทรับประกันภัยจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อครบกำหนดสัญญา
หรือ ให้กับบุคคลที่ผู้เอาประกันภัยระบุไว้ว่าจะมอบประโยชน์ให้หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
ทั้งนี้
ในรายละเอียดของบางแบบประกันชีวิตสะสมทรัพย์อาจจะมีเงินคืนระหว่างสัญญา ซึ่งประกันแบบดังกล่าวนี้
ยังเหมาะที่จะสะสมเป็นเงินทุนเพื่อเป้าหมายที่สำคัญของชีวิต หรือทำไว้ให้กับบุตรหลานเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคง
เป็นทุนการศึกษา เป็นมรดก รวมถึงเป็นทุนไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเมื่อยามเติบโตได้อีกด้วย
ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการลงทุน ก็ยังมีประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
(Unit Linked) ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มค่าทั้งด้านความคุ้มครองชีวิตและโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุน
มีลักษณะสำคัญคือมีความยืดหยุ่น
เพราะผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกลงทุนด้วยตนเองจากกองทุนรวมที่บริษัทประกันชีวิตคัดสรรไว้
โดยที่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันชีวิตรวมอยู่ด้วย
หรือจะวางแผนออมเงินเพื่อวัยเกษียณ ประกันชีวิตแบบบํานาญ
(Pension) ก็สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
เพราะเป็นแบบที่มุ่งเน้นการออมเงินในขณะที่ผู้เอาประกันภัยกำลังอยู่ในวัยทำงานและเป็นผู้มีรายได้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้เป็นรายได้ยามเกษียณ โดยเก็บสะสมไว้ทุกปีและเมื่อถึงวัยเกษียณ
55 ปี หรือ 60 ปี
บริษัทก็จะจ่ายเป็นเงินบำนาญให้ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตถือเป็นการสร้างวินัยการออมที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ถึงแม้จะมีสภาพคล่องน้อยกว่าฝากเงินกับธนาคารเนื่องจากไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ก่อนครบกำหนดสัญญา
แต่ถือเป็นการนำเงินไปต่อยอดที่คุ้มค่า เพราะการลงทุนหรือออมผ่านประกันชีวิตมีการคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก
หากมีเหตุทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถส่งเบี้ยประกันภัยต่อไปได้ครอบครัวหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ก็ยังสามารถได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่าเงินออมหรือการลงทุนประเภทอื่นๆ ผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติม
สมาคมประกันชีวิตไทย จัดเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองทางวิชาการ เรื่อง แนวปฏิบัติการป่วยเล็กน้อยทั่วไป
(Simple
Diseases) ตามสัญญาประกันภัยสุขภาพมาตรฐาน (New Health
Standards : NHS) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุพร พัชรตระกูล และ นายแพทย์สมสกุล ศรีพิสุทธิ์
รองประธานคณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายแพทย์สุรศักดิ์ อำมาตย์โยธิน แพทย์ที่ปรึกษาประจำฝ่ายปฏิบัติการสินไหมสุขภาพบริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนา โดยมีนายแพทย์ประมุกข์
ทรงจักรแก้ว ที่ปรึกษาคณะแพทย์ สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป โดยมีคุณจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา ณ
ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม
จัดโครงการสัมมนาวิชาการ “วิวัฒนาการใหม่ทางการแพทย์และความรู้พื้นฐานกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม”
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ จำกัด มาบรรยายในหัวข้อ “วิวัฒนาการใหม่ทางการแพทย์”
และ คุณสุมาลศิลป์ พิศพล นักวิชาการแรงงานชำนาญ หัวหน้าฝ่ายประโยชน์ทดแทน มาบรรยายในหัวข้อ
“ความรู้พื้นฐานกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการทางการแพทย์และแพทย์ทางเลือก
รวมถึงเรื่องกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม อีกทั้งยังร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบุคลากรของภาคธุรกิจเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีคุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
เมื่อวันที่ 2 - 3 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม ดิโอเชี่ยน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สมาคมประกันชีวิตไทยชวนบอกรักวันวาเลนไทน์ด้วยกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ของขวัญสุดล้ำค่าแทนรักและห่วงใย พร้อมเพิ่มมูลค่าทางการเงินสู่อนาคตที่มั่นคง
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
มีเทศกาลพิเศษวันแห่งความรักหรือวันวาเลนไทน์ หลายๆ คนนิยมเตรียมของขวัญ
เพื่อมอบให้กับบุคคลอันเป็นที่รัก แต่จะดีกว่าไหม หากของขวัญชิ้นนั้นเป็นสิ่งพิเศษ
สามารถเพิ่มมูลค่าได้ทุกปี และยังสามารถดูแลให้ความคุ้มครอง
คนที่คุณรักทั้งในยามฉุกเฉิน หรือในยามเจ็บป่วยได้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเป็นของขวัญแทนคำบอกรักและความห่วงใย
ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันแบบบำนาญ และยูนิตลิงค์ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน
โดยเป็นทั้งเงินออม เงินลงทุน ตลอดจนมีความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพในเวลาเดียวกัน
ถือเป็นการปูรากฐานให้กับชีวิตเพื่ออนาคตที่มั่นคง
นอกจากจะได้บริหารความเสี่ยง สร้างความมั่นคงให้อนาคตด้วยการออมอย่างมีวินัยเพื่อเพิ่มพูนเงินออมแล้ว ยังสามารถวางแผนภาษี โดยการนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระในรอบปีสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป มาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และสำหรับท่านที่มีประกันสุขภาพยังสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพตามจำนวนที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญจะสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขการหักลดหย่อนภาษีจะต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร
วาเลนไทน์ปีนี้ผมจึงขอแนะนำให้ทุกท่านใช้โอกาสนี้มอบของขวัญสุดพิเศษ แปลงรักแท้ให้เป็นหลักประกันชีวิตและการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตที่มั่นคงให้กับตัวเองและคนที่คุณรักกันนะครับ
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2566
ระหว่าง มกราคม - ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 633,445 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 เมื่อเทียบกับปี 2565
จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium)
178,470 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal
Premium) 454,975 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 112,377 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.83
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single
Premium) 66,093 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.18
จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต
(Agency)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 338,920
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.21 เมื่อเทียบกับปี
2565 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.50
2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 239,112
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับปี 2565 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
37.75
3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต
(Broker)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 30,808
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.19 เมื่อเทียบกับปี 2565
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.86
4. การขายผ่านช่องทางดิจิทัล( Digital)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 1,930 ล้านบาท อัตรา
การเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.07 เมื่อเทียบกับปี 2565 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.30
5. การขายผ่านช่องทางอื่น (Others)
เช่น การขาย Worksite , Walkin การขายผ่านการออกบูธ การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ Direct Mail , Tele Marketing เป็นต้น
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 22,676 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58
เมื่อเทียบกับปี 2565 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.58
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตมากขึ้น
ในปี 2566 คือ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและคุ้มครองโรคร้ายแรง ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่
109,786 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.93 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.33 ซึ่งหลัก
ๆ มาจากการที่ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันสุขภาพมากขึ้น
เพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (Medical
Inflation) ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก
อันเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว
รวมถึงมีการเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินช่วงวัยเกษียณกันมากขึ้น
เพราะนอกจากเป็นรูปแบบการออมประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำแล้ว
ยังได้รับความคุ้มครองชีวิต และ สิทธิการลดหย่อนภาษีที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนมาตรการลดหย่อนภาษี
จึงส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ในปี
2566 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 17,986 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.84
ส่วนในปี 2567 สมาคมประกันชีวิตไทยได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วงร้อยละ
2.0 – 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(GDP) ในปี 2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.2 – 3.2
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสคนรักสุขภาพ
อันเนื่องมาจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของการเกิดโรคอุบัติใหม่ เช่น โควิด –
19 สายพันธุ์ใหม่ และมลภาวะจากฝุ่น PM 2.5 มากขึ้น
รวมถึงแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และ มีการทำประกันสุขภาพมากขึ้น
รวมถึงการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) นโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจ เช่น AI และ Data
Analytics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
และสนับสนุนในทุกกระบวนการในธุรกิจประกันชีวิต
ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ การเสนอขาย การพิจารณารับประกันภัย
การพิจารณาสินไหม
ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์
เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยให้เพิ่มสูงขึ้น
ในขณะเดียวกันในปีนี้ ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามแนวโน้ม
และความผันผวน ของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก อย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ และตลาดหุ้นไทย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม
การลงทุน และการใช้จ่ายของภาคประชาชน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์สงครามการค้าหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเกิดโรคอุบัติใหม่
เพราะส่งผลต่อความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคประชาชนที่มีต่อธุรกิจ
ประกันชีวิตโดยตรง
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการพิจารณาลงทุนและดำเนินงานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ
ESG ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแล (Governance)
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีความยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากนี้สมาคมฯ มีนโยบายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ และสนับสนุนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่างๆ
ของธุรกิจประกันชีวิต เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัยให้มากขึ้น
มีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น
เรื่องการรู้เท่าทันของเทคโนโลยีและภัยไซเบอร์ เพื่อช่วยปกป้องผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
รวมถึงมีนโยบายเชิงรุกในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน โดยทางสมาคม ฯ
จะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นระหว่างบริษัทประกันชีวิต กับ
หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด
พร้อมทั้งผลักดันระบบการจัดสอบและอบรมความรู้
ระบบออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบริษัทสมาชิก
และ บุคคลทั่วไปที่สนใจสมัตรสอบเข้าสู่เส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิต
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง "รู้ทันฉ้อฉลประกันภัย เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ในธุรกิจประกันชีวิต” โดยมีนายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคมฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งภายในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่หนึ่งเป็นการบรรยายวิชาการ หัวข้อ “การฉ้อฉลประกันภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธัญญวัฒน์ ตั้งพงษาพันธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดี สำนักงาน คปภ.
ช่วงที่สองเป็นการเสวนาวิชาการ หัวข้อ “รู้ทันฉ้อฉลประกันภัย” โดยได้รับเกียรติจาก คุณธัญญวัฒน์ ตั้งพงษาพันธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดี สำนักงาน คปภ. คุณชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ อัยการอาวุโส สำนักงานคดีอาญา คุณโสมอุษา ชิดชนกนารถ ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย คุณพัชรพงษ์ ธะนะปัด รองประธานอนุกรรมการกฎหมาย และคุณสิริพร หาญชัยนะ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหารจัดการด้านสุขภาพ บริษัท เอไอเอ จำกัด ร่วมเสวนา โดยมีคุณธัญญะ ซื่อวาจา รองประธานอนุกรรมการกฎหมาย เป็นผู้ดำเนินรายการ
ช่วงที่สามเป็นการบรรยายให้ความรู้ หัวข้อ "นวัตกรรมใหม่ในธุรกิจประกันชีวิต" ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณณัฐเนตร พงศ์พิพัฒไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แผนกผลิตภัณฑ์และพัฒนาธุรกิจประกันสุขภาพ บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ซึ่งงานสัมมนาดังกล่าวถูกจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รู้เท่าทันการฉ้อฉลรูปแบบต่างๆ รวมถึงได้ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อฉลประกันภัย
นวัตกรรมใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการประกอบธุรกิจประกันชีวิต
และเรียนรู้กรณีศึกษาเมื่อเกิดเหตุฉ้อฉล พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างวิทยากรกับบุคลากรเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินไหม เจ้าหน้าที่พิจารณารับประกันภัย
และเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ณ ภูเขางาม รีสอร์ท จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2567
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยและประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย
พร้อมด้วยนายจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ร่วมบรรยายในงานสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย
หัวข้อ “Societal
Dynamics that Impact the Insurance Landscape” ซึ่งเป็นการผสานความร่วมมือระหว่างสมาคมนายหน้าประกันภัยไทยและนิตยสารไทยแลนด์
อินชัวรันส์ เนื่องในโอกาสที่สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ครบรอบการก่อตั้งปีที่ 55
และนิตยสารไทยแลนด์ อินชัวรันส์ ครบรอบการก่อตั้งปีที่ 25 โดยมี นายสิทธิ์ หลีขาว
บรรณาธิการ นิตยสารไทยแลนด์ อินชัวรันส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการประกันภัย การบริหารความเสี่ยง
และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม
และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันและอนาคต ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืนเคียงคู่กับประชาชนต่อไป
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน ถ.พระราม 9 กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมด้วย นายจิตวุฒิ ศศิบุตร
นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และ นายโอฬาร
วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนา
หัวข้อ “Transformative
Impact of Artificial Intelligence on Insurance: Navigating Opportunities and
Challenges บทบาทของ AI กับอุตสาหกรรมประกัน
โอกาส และความท้าทาย” ภายใต้งาน Fin
to The Future 2024 ซึ่งจัดโดยบริษัท ฟิน อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด
โดยมีนายอมฤต ฟรานเซน CBDO and Co-Founder – Appman เป็นผู้ดำเนินรายการ
เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของ AI ที่นำมาใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยของประเทศไทย
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
(ห้องประชุมภิรัช ฮอลล์) เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567
ที่ผ่านมา สมาคมประกันชีวิตไทยตระหนักถึงเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการโจมตีมากขึ้น
อีกทั้งยังมีรูปแบบการโจมตีระบบที่หลากหลาย อาทิ
มัลแวร์ (Malware) แรนซัมแวร์ (Ransomware) โจมตีแบบดักกลางทาง (Man-in-the-middle attack) ฟิชชิ่ง
(Phishing) การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (Distributed
Denial of Service: DDOS) ภัยคุมคามจากภายใน (Insider
threat) ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบข้อมูลหรือเครือข่ายขององค์กร
ส่งผลต่อความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
ก่อให้เกิดผลเสียมากมายกับหน่วยงานที่โดนโจมตี ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ
รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวแก่บุคลากรของภาคธุรกิจ
โดยเฉพาะฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้รู้เท่าทันกับรูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสม่ำเสมอ
ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยได้เตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจผ่านการสัมมนาในหัวข้อ
เตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
การโจมตีที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบข้อมูลหรือเครือข่ายขององค์กร “Business
Email Compromise (BEC)" ภัยคุกคามที่เกิดจากการโจมตีผ่านอีเมล
โดยหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อก่อให้การเกิดสูญเสียรายได้ผ่านทางอีเมล "Identity
threat detection and response (ITDR)" ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว
มาถ่ายทอดเรื่องราวของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง
ๆ รวมถึงแนวทางการเตรียมรับมือป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการโจมตีที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบข้อมูลหรือเครือข่ายขององค์กร อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างวิทยากร
เพื่อให้บุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิตสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567
ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้ โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ (New
Business Model) เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของลูกค้า
(Change in Consumer Behaviour) เช่น การซื้อประกันชีวิตผ่านระบบออนไลน์
การเรียกร้องสินไหมและให้บริการหลังการขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงการทำประกันชีวิต การทำประกันสุขภาพ
และการรับบริการหลังการขายได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการนำเอาดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ของบริษัทประกันชีวิตนับเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและอุตสาหกรรมประกันภัย
อย่างไรก็ตาม
การทำธุรกิจประกันชีวิตนั้น
จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลส่วนบุคคลมาช่วยสนับสนุนการพิจารณารับประกันภัย
การปฏิบัติตามสัญญา การบริการหลังการขาย ดังนั้น
เพื่อความปลอดภัยทั้งของภาคธุรกิจและลูกค้า การยืนยันตัวตนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ในการป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงข้อมูลหรือการนำข้อมูลของบุคคลอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
รวมไปถึงเพื่อการป้องกันการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินต่อการก่อการร้าย
สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของภาคธุรกิจประกันชีวิตได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
จึงได้จัดให้มีการประชุม สัมมนา
ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจประกันชีวิตอย่างสม่ำเสมอ
ล่าสุด คณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยได้จัดสัมมนาวิชาการ หัวข้อ
“แนวทางจัดทำ
E-KYC สำหรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์งานด้านบริการกรมธรรม์ประกันภัย”
โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ มาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.)
ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
ภาพรวมขั้นตอนสำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน
(Identity Assurance Level : IAL)
ความเสี่ยงกับการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือ
รวมถึงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รองรับการใช้งาน Digital
ID พร้อมยกตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับวิทยากรผู้บรรยายผ่านเวทีเสวนา
ในหัวข้อ “การทำ
e-kyc / kyc อย่างไรให้ถูกต้อง” เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ
KYC / E-KYC ตามกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์งานด้านบริการกรมธรรม์ประกันภัย
ให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ณ
ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้
4 แกนนำภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต รวมพลังบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิตและเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมบริจาคโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 23 ประจำปี 2567
นายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์
รองประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (พ.ศ.2567) กล่าวว่า
การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมสาธารณะกุศล เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติที่ถูกจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี
จากการประสานความร่วมมือของ 4 แกนนำภาคธุรกิจประกันชีวิตได้แก่
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต
เป็นแก่นนำในการผนึกกำลังบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต
พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนที่มีจิตสาธารณะร่วมแรงร่วมใจมาบริจาคโลหิต
ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งข้อมูลที่ได้จากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเกี่ยวกับการรับบริจาคโลหิตนั้น
พบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากร 66 ล้านคน แต่มีผู้บริจาคโลหิตเพียง 1,500,000
คน และในจำนวนนี้เป็นผู้บริจาคโลหิตเพียงปีละ 1 ครั้ง คิดเป็น 67%
ของจำนวนผู้บริจาคโลหิตทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาจำนวนโลหิตที่ได้รับบริจาคมีไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย
ดังนั้น ภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมสาธารณะกุศลบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภาคธุรกิจประกันชีวิต
ซึ่งปี 2567 นี้ เป็นปีที่ 15 (เริ่มรับบริจาคโลหิตครั้งแรก ในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี 2553) ทำให้ตลอดระยะเวลา
14 ปีที่ผ่านมา สมาคม ฯ ได้รับความร่วมมือในการบริจาคโลหิตจากบุคคลทั้งในและนอกวงการธุรกิจประกันชีวิต
จำนวน 67,299 ราย และได้รับปริมาณโลหิตเป็นจำนวนถึง 26,718,850 ซี.ซี.
สำหรับปี 2567 นี้
สมาคมประกันชีวิตไทยมีความมุ่งมั่นที่จะรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรของธุรกิจประกันชีวิต
ทั้งพนักงานในทุกภาคส่วนของบริษัทประกันชีวิตและตัวแทนประกันชีวิตในแต่ละบริษัท รวมทั้งประชาชนทั่วไปทั่วประเทศแสดงพลังจิตอาสา
โดยเริ่มดำเนินกิจกรรมรณรงค์และรับบริจาคโลหิตตั้งแต่เดือนมกราคมและจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม
2567 พร้อมทั้งวางเป้าหมายการรับบริจาคโลหิตไว้ที่ประมาณ 4,000,000 ซี.ซี. (10,000
คน) แบ่งเป็นในส่วนกลางปริมาณโลหิตที่คาดว่าจะได้รับประมาณ 1,500,000 ซี.ซี.
(4,000 คน) ส่วนภูมิภาค ปริมาณโลหิตที่คาดว่าจะได้รับประมาณ 2,500,000 ซี.ซี. (6,000 คน) ซึ่งในส่วนกลางได้มีการเปิดงานอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่
3 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ได้รับเชิญจากสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
(วปส.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน
คปภ.) เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิต ความท้าทาย
และโอกาสของธุรกิจประกันชีวิตภายใต้ Uncertainty
Risks” ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.)
รุ่นที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
เกี่ยวกับระบบประกันชีวิต การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยในด้านต่างๆ การดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
รวมถึงพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพรูปแบบใหม่ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่างๆ ของธุรกิจประกันชีวิต เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัย
พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากมุมมองและประสบการณ์กับผู้เข้าอบรม ณ ห้องเลอโลตัส
โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร และ นายจรุง เชื้อจินดา
รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยเชิงรุกสู่ระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
2567 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยผ่านการเสวนา
ในหัวข้อ “เที่ยวไทยอุ่นใจ ประกันภัยคุ้มครอง” เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมทั้งรณรงค์ให้สถานประกอบการท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย
และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ในโอกาสนี้ ผู้บริหารสมาคมได้ให้การต้อนรับ
นายชัยวัฒน์ ประดับเพชร นายอำเภอสามเงา และ นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ
ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ห้องประชุมเกษมจาติกวณิช เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
เมื่อเร็ว
ๆ นี้
4
แกนนำอุตสาหกรรมประกันชีวิต โดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)
สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน กองทุนประกันชีวิต
จัดกิจกรรม“ปลูกป่าชายเลน” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสาธารณประโยชน์เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 23 ประจำปี 2567 เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณป่าชายเลน
ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity)
ให้กับระบบนิเวศ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
รวมถึงเป็นแนวป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลมและกระแสน้ำ
และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ
บรรเทาผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน
อีกทั้งยังเป็นการปูทางสู่กลยุทธ์การใช้คาร์บอนเครดิตให้กับธุรกิจประกันชีวิต
สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานของสมาคมประกันชีวิตไทย ในยุทธศาสตร์ที่ 3
ว่าด้วยการผลักดันการดำเนินงานเชิงรุกในด้านต่าง ๆ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ (Strengths
& Sustainable) ที่หันมาให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืน
โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (Environmental, Social และ Governance หรือ ESG) โดยระดมพลังบุคลากรในธุรกิจกว่า
600 ชีวิต รวมพลังจิตอาสาปลูกป่าชายเลนเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำบางปู
ฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศบริเวณป่าชายเลนให้อุดมสมบูรณ์ เป็นบ้าน
เป็นแหล่งอาหารให้กับทุกชีวิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ประจำปี
2567 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการสนับสนุนต้นแสม จำนวน 2,000 ต้น รวมถึงกองสถานพักผ่อน
กรมพลาธิการทหารบก บางปู ที่เอื้อเฟื้อสถานที่จัดกิจกรรม และจัดหาต้นแสมให้อีก 6,000 ต้น รวมเป็นจำนวนต้นกล้าทั้งหมด 8,000 ต้น
โดยปลูกบนพื้นที่ป่าชายเลน 3 ไร่ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ 72
พรรษามหาราชินี ( สถานตากอากาศบางปู ) กรมพลาธิการทหารบก จ.สมุทรปราการ เมื่อเร็ว
ๆ นี้
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมพิธีเปิดและรับโล่สนับสนุนการจัดงานสัมมนาประจำปี “MDRT DAY 2024” Theme "Reach The TOP" ซึ่งจัดโดยสมาคม MDRT ประเทศไทย เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงาน พร้อมเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินกว่า 2,000 คน จากวิทยากรชั้นนำของธุรกิจประกันชีวิตทั้งในประเทศและต่างประเทศระดับโลก รวมถึงวิทยากรนอกอุตสาหกรรมมากกว่า 10 ท่าน มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคการทำงาน ณ รอยัลจูบีลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้
สังคมในโลกยุคโควิด 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเป็นอย่างมาก อีกทั้งสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการสร้างความสบายใจในการใช้ชีวิต และยังเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญ และสนใจทำประกันชีวิตมากขึ้น รวมทั้งรวมพลังสามัคคีของบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต สมาคมประกันชีวิตไทย จึงได้จัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ขึ้น ภายใต้แนวคิด Empowering Future Life+ พลัสความสบายใจให้ประกันชีวิตดูแล โดยความร่วมมือของ 4 องค์กรหลักของภาคธุรกิจ ประกอบด้วย คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต ร่วมกันจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเซนทรัล เวสเกต จ.นนทบุรี ภายในงานพบกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต กับบูธการตลาดของบริษัทประกันชีวิต 15 บริษัท ตลอดจนร่วมลุ้นรางวัล และของแจกภายในงานมากมาย รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท โดยผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ที่มีเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไปจะได้รับคูปองชิงโชค 1 ใบ ต่อเบี้ยประกันภัยทุกๆ 5,000 บาท แต่จำกัดสิทธิรับคูปองไม่เกิน 20 ใบ ต่อหนึ่งใบเสร็จ ซึ่งใบเสร็จรับเงินสามารถรวบรวมยอดภายใน 1 วันได้ ร่วมรับชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อาทิ นนน กรภัทร์, หมาก ปริญ และ มาริโอ้ เมาเร่อ
นอกจากนี้ งานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี คือ การบริจาคโลหิต ซึ่งได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งมีระยะเวลาการจัดเก็บโลหิตสะสมโดยความร่วมมือของบริษัทสมาชิก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2567 และได้กำหนดเป้าหมายปริมาณบริจาคโลหิตทั่วประเทศ 4 ล้าน ซีซี
สำหรับในปีนี้ ภาคธุรกิจยังได้รวมพลังรักษ์โลก ESG : Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ด้วยการปลูกป่าชายเลน ณ กองสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก (สถานตากอากาศบางปู) จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม โดยกำหนดเป้าหมายในการปลูกป่าชายเลนอันจะเป็นประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยเชิงรุกสู่ระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
2567 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยผ่านการเสวนา
ในหัวข้อ “ชาวสวนกล้วยหอมทองอุ่นใจ ใช้ระบบประกันภัยคุ้มครอง” เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงระบบประกันภัยและสามารถนำระบบประกันภัยเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีความเสี่ยงในเรื่องของภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง
ไฟไหม้ และลมพายุ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ในโอกาสนี้ ผู้บริหารสมาคมได้ให้การต้อนรับ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายกิตติภูมิ
ชื่นวรรณูปถัมภ์ นายอำเภอเสิงสาง และ นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ
ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ หอประชุมอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเร็ว ๆ นี้
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการศูนย์กลางการเงิน (Financial Hub) ภายใต้หัวข้อ “IGNITE FINANCE : Thailand's Vision for a Global
Financial Hub เปิดทางนำไทยสู่ศูนย์กลางการเงินโลก ซึ่งจัดโดย
กระทรวงการคลัง โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับนายพิชัย
ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษเปิดงาน
และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แสดงวิสัยทัศน์
พร้อมด้วยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายลวรณ
แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน กลต. สำนักงาน คปภ.
และผู้บริหารจากสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงาน ณ ห้องกำปั่นทอง ชั้น
21 อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง เมื่อเร็วๆ นี้
สำหรับโครงการ “IGNITE
FINANCE”
ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก
ด้วยวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกันของภาครัฐและผู้นำในอุตสาหกรรมการเงิน
โครงการนี้จะสร้างระบบนิเวศน์ที่ผู้ประกอบการระดับโลกและวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีแนวคิดมารวมตัวกันเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีภายใต้กรอบการกำกับดูแลที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต
โดยยังคำนึงถึงเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ
เพื่อเปิดทางนำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเงินโลก
สมาคมประกันชีวิตไทยสานต่อมอบทุนและรางวัลการศึกษาปีที่ 50 สนับสนุนงบประมาณกว่า534,000 บาท ให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาประกันภัยและวิชาที่เกี่ยวข้องกับประกันชีวิต จำนวน 68 ทุนรางวัล จาก 13 สถาบันการศึกษา ปั้นบุคลากรคุณภาพเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในสถาบันการเงิน
ที่มีบทบาทเกื้อหนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงทางการเงินให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กรธุรกิจการค้า การลงทุนต่างๆ นอกจากนั้นยังจัดอยู่ในสถาบันการเงินที่มีหน้าที่ในการระดมเงินออมจากภาคครัวเรือนภายในประเทศที่เป็นรูปแบบการออมระยะยาวและเป็นการออมที่มีวินัย จึงเป็นแหล่งเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนส่งผลต่อการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขา โดยเฉพาะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) นักบริหารความเสี่ยง (Risk management) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจจึงได้จัดกิจกรรมมอบทุนและรางวัลการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรการประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัย หลักสูตรวิชาชีพ Associates of Society of Actuaries (ASA) Course 1 และ Course 2 และได้ขยายไปยังสาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล (Data Analytics) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนหรือประชาชนที่มีความสนใจและมีความสามารถที่จะเข้าศึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต ประกันภัย พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นบุคลากรของธุรกิจประกันภัยต่อไป ซึ่งสนับสนุนทุนและรางวัลการศึกษานี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี นับแต่ปีการศึกษา 2517 เป็นต้นมา
สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดสรรงบประมาณกว่า 534,000 บาท เป็นทุนและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาการประกันภัย รวมถึงสาขาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล จากสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งหมด 13 สถาบันการศึกษาประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 68 ทุนรางวัล แบ่งเป็น
1. ทุนการศึกษาด้านวิชาประกันชีวิต หรือ คณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นสาขาหรือวิชาเอก ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 28 ทุน
2. ทุนการศึกษาด้าน Data Analytics ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 8 ทุน
3. รางวัลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 11 รางวัล
4. รางวัล ASA Course I (Exam P - Probability) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวนทั้งหมด7 รางวัล
5. รางวัล ASA Course II (Exam FM - Financial Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน
ทั้งหมด 14 รางวัล
โดยงานมอบทุนและรางวัลการศึกษาดังกล่าว จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
ณ ห้อง Le Concorde Ballroom ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนและรางวัลการศึกษาในปีการศึกษานี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยที่มีความรู้ด้านทฤษฎี สถิติ และการคำนวณเป็นอย่างดี หันมาสนใจงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย เปิดโอกาสให้ตนเองได้ทำงานและก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น ในการนี้ สมาคม ฯ ยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาเดินหน้าผลิตเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีบุคลากรคุณภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันชีวิตให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 311,413.63 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 เมื่อเทียบกับปี 2566 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 88,332.86 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 223,080.77 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 และมีอัตราความคงอยู่ร้อยละ 83
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
ประกอบด้วย
1.)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 58,266.84 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) 30,066.02 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 0.92
จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
1.
การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่
155,522.29 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.98 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.94
2.
การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 122,507.58 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.28 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.34
3.
การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่
18,874.47 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.42 เมื่อเทียบกับปี 2566
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.06
4.การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์
(Tele Marketing) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6,269.10
อัตราการเติบโตติดลบร้อยละ 8.43 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.01
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตมากขึ้นในช่วงครึ่งแรก
ปี 67 คือ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 51,450.58
ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.52 ซึ่งหลัก ๆ
มาจากการที่ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันสุขภาพมากขึ้น
เพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (Medical Inflation)
ในขณะที่
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension)
ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยครึ่งแรก ปี 67
มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 5,699.48. ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.25 หรือ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.83 ส่วนในปี 2567
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วงร้อยละ
2.0 – 4.0
ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี
2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.5
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสคนรักสุขภาพ
อันเนื่องมาจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของการเกิดโรคอุบัติใหม่และมลภาวะ
รวมถึงแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ
และ มีการทำประกันสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) อย่างเต็มตัว ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินช่วงวัยเกษียณกันมากขึ้น
เพราะนอกจากเป็นรูปแบบการออมประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำแล้ว
ยังได้รับความคุ้มครองชีวิต และ สิทธิการลดหย่อนภาษีที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุน
ทั้งนี้
ภาคธุรกิจยังได้มีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น AI และ Data Analytics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ การเสนอขาย
การพิจารณารับประกันภัย การพิจารณาสินไหม ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์
เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยให้เพิ่มสูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน
ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามแนวโน้ม และความผันผวน
ของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ และตลาดหุ้นไทย
ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน และภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชน
รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเกิดโรคอุบัติใหม่
เพราะส่งผลต่อความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันชีวิตโดยตรง
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการพิจารณาลงทุน
การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต รวมถึงการบริการที่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการภาคประชาชนและสังคมในทุกด้าน
ทั้งมิติของสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติของสังคม (Social)
และมิติของการกำกับดูแล (Governance) เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีหลักธรรมมาภิบาลสามารถเติบโตอย่างความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สมาคมฯ
มีนโยบายในการสนับสนุนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่าง ๆ
ของธุรกิจประกันชีวิต
เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัยให้มากขึ้น
มีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น เรื่องการรู้เท่าทันของเทคโนโลยีและภัยไซเบอร์
เพื่อช่วยปกป้องผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
รวมถึงมีนโยบายเชิงรุกในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน โดยทางสมาคม ฯ
จะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นระหว่างบริษัทประกันชีวิต
กับ หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด
พร้อมทั้งผลักดันระบบการจัดสอบและอบรมความรู้
ระบบออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบริษัทสมาชิก
และ บุคคลทั่วไปที่สนใจสมัครสอบเข้าสู่เส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิต
สมาคมประกันชีวิตไทย
จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาเลือกตั้งนายกสมาคมประกันชีวิตไทยและคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่
ประจำปีบริหาร 2567 – 2569 (1 กรกฎาคม 2567 – 30 มิถุนายน 2569) ซึ่งในที่ประชุมได้มีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เลือกนางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ให้ดำรงตำแหน่ง
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
สำหรับรายนามกรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ประจำปีบริหาร 2567 - 2569 มีดังต่อไปนี้
1. นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
2. นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด
3.
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหาร
4.
นายนิคฮิล อาชวานิ แอดวานี อุปนายกฝ่ายวิชาการ
5.
นายโชน โสภณพนิช เลขาธิการสมาคม
6.
นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ เหรัญญิกสมาคม
7.
นางวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการบริหาร
8.
นายเดวิด จอห์น โครูนิช กรรมการบริหาร
9.
นางแซลลี่ จอย โอฮาร่า กรรมการบริหาร
10.
นางสาวอลิสา อารีพงษ์ กรรมการบริหาร
11.
นางภฤตยา สัจจศิลา กรรมการบริหาร
12.
นายโทมัส ชาร์ลส วิลสัน กรรมการบริหาร
สมาคมประกันชีวิตไทยสานต่อมอบทุนและรางวัลการศึกษาปีที่ 50 สนับสนุนงบประมาณกว่า 534,000 บาท ให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีในสาขาประกันภัยและวิชาที่เกี่ยวข้องกับประกันชีวิต จำนวน 68 ทุนรางวัล จาก 13 สถาบันการศึกษา ปั้นบุคลากรคุณภาพเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีบทบาทเกื้อหนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงทางการเงินให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กรธุรกิจการค้า การลงทุนต่างๆ นอกจากนั้นยังจัดอยู่ในสถาบันการเงินที่มีหน้าที่ในการระดมเงินออมจากภาคครัวเรือนภายในประเทศที่เป็นรูปแบบการออมระยะยาวและเป็นการออมที่มีวินัย จึงเป็นแหล่งเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนส่งผลต่อการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขา โดยเฉพาะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) นักบริหารความเสี่ยง (Risk management) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจประกันชีวิตได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจ จึงได้จัดกิจกรรมมอบทุนและรางวัลการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรการประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัย หลักสูตรวิชาชีพ Associates of Society of Actuaries (ASA) Course 1 และ Course 2 และได้ขยายไปยังสาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล (Data Analytics) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนหรือประชาชนที่มีความสนใจและมีความสามารถที่จะเข้าศึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต ประกันภัย พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นบุคลากรของธุรกิจประกันภัยต่อไป ซึ่งสนับสนุนทุนและรางวัลการศึกษานี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี นับแต่ปีการศึกษา 2517 เป็นต้นมา
สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดสรรงบประมาณกว่า 534,000 บาท เป็นทุนและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาการประกันภัย รวมถึงสาขาการวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล จากสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งหมด 13 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 68 ทุนรางวัล แบ่งเป็น
1.)ทุนการศึกษาด้านวิชาประกันชีวิต หรือ
คณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นสาขาหรือวิชาเอก ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 28 ทุน
2.)ทุนการศึกษาด้าน Data
Analytics ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 8 ทุน
3.)รางวัลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประกันชีวิตและคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง
รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 11 รางวัล
4.)รางวัล ASA Course I (Exam P -
Probability) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวนทั้งหมด 7 รางวัล
5.)รางวัล ASA Course II (Exam FM - Financial Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวนทั้งหมด 14 รางวัล
โดยงานมอบทุนและรางวัลการศึกษาดังกล่าว
จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
ณ ห้อง Le
Concorde Ballroom ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา ในโอกาสนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความยินดีกับนิสิต
นักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนและรางวัลการศึกษาในปีการศึกษานี้
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยที่มีความรู้ด้านทฤษฎี
สถิติ และการคำนวณเป็นอย่างดี หันมาสนใจงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย เปิดโอกาสให้ตนเองได้ทำงานและก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น
ในการนี้ สมาคม ฯ ยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาเดินหน้าผลิตเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีบุคลากรคุณภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันชีวิตให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายสุภิรัช โพธิ์ถาวร
ประธานคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ
และผู้แทนคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจร่วมแสดงความยินดีในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 25
ปี ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เมื่อวันจันทร์ที่ 19
สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร เข้าร่วมโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยเชิงรุกสู่ระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
2567 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย พร้อมทั้งร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิตและประกันวินาศภัยผ่านการเสวนา
ในหัวข้อ “เที่ยวสนุก สุขใจ มีประกันภัยเดินทาง” เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่พักโรงแรม รีสอร์ท
กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มประชาชนในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตและประกันวินาศภัย สามารถเข้าถึงและใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
มีประสิทธิภาพสามารถต่อยอดการทำประกันภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
ในโอกาสนี้ ผู้บริหารสมาคมได้ให้การต้อนรับ
นายเตชสิทธิ์ สมประดี ปลัดอำเภออาวุโส อำเภอสวนผึ้ง และ นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ
ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ ธีรมา คอทเทจ รีสอร์ท ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
เมื่อเร็ว ๆ นี้
สมาคมประกันชีวิตไทย
ให้การสนับสนุนจัดการประชุม CIO Roundtable ครั้งที่ 2/2567
Driving
Industry Forward with Technology ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยมี นางสาวชญานิน เกิดผลงาม รองเลขาธิการ ด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี
สำนักงาน คปภ. และผู้แทนจากสำนักงาน คปภ. ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
เจ้าหน้าที่สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วม การประชุมดังกล่าวเสมือนเวทีให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยร่วมกันหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัย โดยใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญในหลายๆ มิติ ผ่านการประชุมแบบพบปะกัน (face to face meeting) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล
พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และกรณีศึกษา
(use case) ทั้งในเรื่องของการเตรียมความพร้อมด้าน AI สำหรับธุรกิจประกันภัยไทย
การรับมือกับผลกระทบทางไซเบอร์ การแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่จะเกิดขึ้นจากสำนักงาน
คปภ. และการใช้ข้อมูลเปิด (Open data) ในอุตสาหกรรมร่วมกัน อาทิ
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA บรรยายพิเศษในหัวข้อ
“AI Readiness & Assessment for Insurance Organization”
Mr. David Frankenfield, Chief Data & Analytics Officer, Amplify
Health Pte. Ltd. บรรยายในหัวข้อ “AI - The Future of Work:
A Comprehensive Overview” นายชินพงศ์
กระสินธุ์ IT Director of Management and Development, สำนักงาน
คปภ. บรรยายในหัวข้อ “Open Data for Consumer Empowerment” นายวิชชุกร
นิลมานัตต์ ฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด บรรยายในหัวข้อ
“Unlocking Innovation: The Power of Open Insurance Data” นายมนตรี
ถิรศักดิ์ธนา SVP, IT Management, บริษัท ไทยประกันชีวิต
จำกัด บรรยายในหัวข้อ “Industry Strengthening: Building Center of
Excellence” และ นายสมเกียรติ วัฒนาประสบสุข ผู้อํานวยการอาวุโส
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน คปภ. กล่าวสรุปการประชุม ณ
ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อเร็วๆ นี้
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และผู้บริหารจากบริษัทประกันชีวิต เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย
(OIC
Meets CEO 2024) ครั้งที่ 2/2567 ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย
เพื่อหารือร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยในประเด็นต่าง ๆ พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสรุปจากการประชุม OIC Meets CEO ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งการประชุมดังกล่าวเพื่อเป็นเวทีในการพบปะและหารือของภาคธุรกิจประกันภัยในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถแก้ไขปัญหาให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยให้เติบโตควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชน รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลให้กับบริษัทประกันภัยในการประกอบธุรกิจไปด้วยกัน โดยมี
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในที่ประชุม ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม
เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดี
พร้อมทั้งมอบรางวัลให้กับตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินในพิธีมอบรางวัล “ APFinSA Awards 2024” ซึ่งจัดโดยสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Financial Services Association)
ร่วมกับ สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA)
เพื่อเชิดชูเกียรติ เสริมสร้างกำลังใจแก่ตัวแทนประกันชีวิตทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้คำปรึกษาทางการเงิน
ยกระดับความเป็น มืออาชีพในการทำงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ณ
ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 25 กันยายน
2567
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
ดินโคลนถล่มในหลายจังหวัด ในการนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
พร้อมทั้งขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวมีพลังและความหวังให้ผ่านพ้นภัยพิบัติครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัย
และเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ทั้งนี้
ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้มีการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ที่มีความประสงค์ในการใช้บริการต่าง ๆ เช่น การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากกรณีต่างๆ
และบริการอื่น ๆ
ที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความสะดวกภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
เพียงเตรียมเอกสารการเคลมประกอบการเรียกร้องสินไหมให้ครบถ้วน
และสามารถดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมผ่านช่องทางในรูปแบบต่าง ๆ
ทั้งในส่วนของบริษัท สาขา ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ Call Center ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ แชตบอท เฟสบุ๊ค ไลน์ออฟฟิศเชียล
รวมถึงแอพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่พร้อมให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ประสบภัยพิบัติหากมีกรมธรรม์ประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันสุขภาพ กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุอยู่ บริษัทประกันชีวิตจะยังคงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินเพื่อนำมาซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หากขาดสภาพคล่องทางการเงินไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่นที่จะนำมาใช้จ่าย ท่านสามารถนำกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีมาใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินจากบริษัทประกันชีวิตได้ โดยที่ความคุ้มครองชีวิตยังอยู่เหมือนเดิมตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ สามารถสอบถามได้โดยตรงจาก Contact Center หรือศูนย์บริการลูกค้าของบริษัทที่รับประกันชีวิตโดยตรงก็จะได้จำนวนตัวเลขการเงินที่แน่นอน เพราะแต่ละบริษัทอาจมีเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ กล่าวในตอนท้าย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่างๆ ได้จากบริษัทที่ท่านได้ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือที่สมาคมประกันชีวิตไทย โทร. 0-2679-8080 หรือ e-mail : tlaa@tlaa.org
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับกรมบัญชีกลาง เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 134 ปี โดยมีนางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องโถงกลาง ชั้น 21 อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนางสาวจิราภรณ์ นาคประกอบ และ นางสาวจิตติมา ลิ้มคุณธรรมโมร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 22 ปี พร้อมทั้งมอบเงินบริจาคเพื่อสมทบทุนให้แก่กองทุนสวัสดิการ สบน. โดยมีผู้บริหารจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 1201 - 1203 อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย คุณสายพิณ โชคนำกิจ กรรมการสมาคมฯ ร่วมงานพิธีมอบ “กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุสำหรับอาสาสมัครเพื่อสังคม” จำนวนเงินเอาประกันภัยรวม 240 ล้านบาท ให้แก่ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ มูลนิธิเส้นด้าย มูลนิธิองค์กรทำดี กลุ่มจิตอาสา ใจถึงใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน โดยความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครผู้มีจิตอาสา ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ ให้เกิดความอุ่นใจและความปลอดภัยเมื่อต้องทำงานในสภาวะเสี่ยง โดยไม่ต้องกังวลเนื่องจากกรมธรรม์ดังกล่าวให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อบ.1) ให้ความคุ้มครองจำนวนเงินเอาประกันภัย รายละ 200,000 บาท การถูกฆาตกรรม หรือทำร้ายร่างกาย ให้ความคุ้มครองจำนวนเงินเอาประกันภัย รายละ 200,000 บาท การเสียชีวิตจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ให้ความคุ้มครองจำนวนเงินเอาประกันภัยรายละ 100,000 บาท ณ สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. (รัชดาภิเษก) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทยเชิญชวนประชาชนวางแผนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านผลิตภัณฑ์
ประกันชีวิตที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งในเรื่องให้ความคุ้มครอง และการออมเงินอย่างมีวินัย
ตลอดจนการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน
รวมทั้งสิทธิประโยชน์ในเรื่องการลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สำหรับประชาชนที่กำลังวางแผนภาษีและกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มาตอบโจทย์เรื่องการลดหย่อนภาษี สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันแบบบำนาญจะทำให้ท่านมีทั้งเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน เป็นทั้งการออมและมีความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพในเวลาเดียวกัน ถือเป็นการปูรากฐานให้กับชีวิตเพื่ออนาคตที่มั่นคง รวมทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระในรอบปีสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป หากมีการจ่ายเงินคืนระหว่างสัญญา เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี โดยสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และสำหรับประกันภัยสุขภาพยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยสุขภาพตามจำนวนที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุด 300,000 บาท โดยเงินจำนวนนี้เมื่อนำไปรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เมื่อรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ ประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาทต่อปี โดยเงื่อนไขการหักลดหย่อนภาษีจะต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร
สำหรับประชาชนตัดสินใจทำประกันชีวิต ประกันบำนาญ และประกันสุขภาพ โปรดอย่าลืมแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตไปยังบริษัทประกันชีวิต เพื่อเป็นการแสดงความยินยอม (consent) ให้บริษัทนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด มิเช่นนั้นผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตฉบับนั้นได้
ในโอกาสนี้ ขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว หากมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ที่ใช้ลดหย่อนภาษีก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จะถือว่า ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว รวมถึงเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากร ผู้อำนวยการบริหารสมาคม ฯ กล่าวเพิ่มเติม
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ปีที่ 63 พร้อมมอบเงินบริจาคเพื่อสมทบทุนให้แก่กองทุนสวัสดิการ
สศค. และเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และคณะผู้บริหารสำนักงานเศรษฐกิจการคลังให้การต้อนรับ
ณ ห้องประชุมป๋วยอึ๊งภากรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม
2567
พลอากาศเอก
ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส ให้เกียรติรับมอบเงินบริจาคเนื่องในโอกาสการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ประจำปี 2567 จำนวน 100,000 บาท จากนางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นางประภาพร ลิขสิทธิ์
นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
และคณะผู้จัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการฝึกอาชีพแก่เยาวชน ณ
ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคม ฯ พร้อมคณะกรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมแสดงความยินดีกับบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร
ประจำปี 2567 (Prime
Minister’s Insurance Awards 2024) ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) โดยได้รับเกียรติจาก นายพิชิต ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์
และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น
6 บริษัท จาก 8 รางวัลเกียรติยศ ประกอบด้วย
1. 1.รางวัลบริษัทประกันภัยเกียรติยศสูงสุด (Hall of Fame) ประจำปี 2566
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2. 2.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2566 อันดับที่ 1
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
3. 3.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2566 อันดับที่ 2
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
4. 4.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2566 อันดับที่ 3
บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
5. 5.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น ประจำปี 2566
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
6. 6.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี 2566
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
7. 7.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2566
บริษัท เอไอเอ จำกัด
8. 8.รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยดีเด่น ประจำปี 2566
บริษัท
เอไอเอ จำกัด
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายธานี ทรงธนเจริญกิจ
ประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี พร้อมด้วยนางสาวจารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโม รองประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี
แสดงความยินดีกับสภาวิชาชีพบัญชี ในพระราชูปถัมภ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสภาวิชาชีพบัญชี ครบรอบ
20 ปี พร้อมมอบเงินสมทบทุนช่วยเหลือโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กนักเรียนตาบอดและพิการซ้ำซ้อน
มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน โดยมีนายวินิจ ศิลามงคล นายกสภาวิชาชีพบัญชี เป็นผู้แทนรับมอบ ณ ชั้น 6 อาคารศูนย์อบรมสัมมนาฯ
สภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ
“คปภ.เพื่อสังคม” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีนายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร เป็นวิทยากรในการเสวนา หัวข้อ “การประกันภัย
กับการพัฒนาเมือง” พร้อมทั้งถ่ายทำรายการ “คปภ.เพื่อสังคม”ร่วมกับ สำนักงาน คปภ.
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัดและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้กับประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิต
สามารถเข้าถึงและใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
ณ พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย
ลงพื้นที่จัดกิจกรรมในโครงการ “คปภ.เพื่อสังคม” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีนายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมเสวนาในหัวข้อ “เกษตรกรยุคใหม่
มั่นใจด้วยการประกันภัย” พร้อมทั้งถ่ายทำรายการ “คปภ.เพื่อสังคม” ร่วมกับ สำนักงาน
คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
ให้กับกลุ่มเกษตรกรและประชาชนในชุมชน
ได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตและประกันวินาศภัย สามารถเข้าถึงและใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยยังได้นำทีมเจ้าหน้าที่และบริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
และการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยควรทราบ ทั้งนี้ ผู้บริหารสมาคมได้ให้การต้อนรับนายบรรจง
แสนยะมูล เกษตรกรเจ้าของศูนย์เรียนรู้ไร่แสนดีเกษตรทฤษฎีใหม่ และ นางสาววสุมดี วสีนนท์
รองเลขาธิการ ด้านกำกับคนกลางและประกันภัยภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติ เยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
ณ
ไร่แสนดีฟาร์ม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่
30 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัย
จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง Managing Asset
Liability Management Risk และ Climate Stress Testing for
Life Insurers โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Justin
Tanjuakio, FSA, CERA จาก Moody’s เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรของธุรกิจประกันชีวิต เกี่ยวกับการจัดการบริหารความเสี่ยงสินทรัพย์
หนี้สินและด้านอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรต่อไป
ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่
31 ตุลาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย
ลงพื้นที่จัดกิจกรรมในโครงการ “คปภ.เพื่อสังคม” สังคมอุดมศึกษา ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีนายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร ร่วมเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางอาชีพด้านการประกันภัยของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ร่วมกับ สำนักงาน คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย
พร้อมทั้งร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การก้าวเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพด้านการประกันภัย ให้กับกลุ่มนิสิต นักศึกษา
ในระดับอุดมศึกษา ได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการประกันภัยที่สามารถใช้บริหารจัดการความเสี่ยงได้จริง
อีกทั้งยังสื่อสารให้เห็นว่าธุรกิจประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจแห่งโอกาส
เป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้เริ่มต้นทำงาน
นอกจากนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยยังได้นำทีมเจ้าหน้าที่และบริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
และการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยควรทราบ ทั้งนี้ ผู้บริหารสมาคมได้ให้การต้อนรับนายชูฉัตร
ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ
คปภ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ.
ที่ให้เกียรติ เยี่ยมชมบูธสมาคมฯ ณ ห้อง เอส-106 อาคารบรรยายรวม 5
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) เพื่อน้อมนำไปถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยมีนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานในพิธีอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร พร้อมด้วย นายกิตติ ผาสุขดี ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมฯ และ กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจประกันภัย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ร่วมงาน “ผนึกกำลังเครือข่ายป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ” (PDPC’s Alliance moving forward on PDPA 2024) ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งนำเสนอนโยบายการคุ้มครองข้อมูลในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความท้าทาย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการปกป้องและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย การประชุมครั้งนี้จะเน้นการเพิ่มความเข้าใจและทักษะในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้มีการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายการขับเคลื่อนแผนแม่บทการส่งเสริมและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2570 โดยนายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการเสวนาในหัวข้อ การกำกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับ Meta (Facebook) ณ ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย และ อุปนายฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2567 (ครั้งที่ 10) (Thailand Insurance Symposium 2024) ภายใต้แนวคิด “สร้างโอกาสใหม่แห่งการประกันภัยด้วยเทคโนโลยีเพื่อคุ้มครองชีวิตและสุขภาพอย่างยั่งยืน : Redefining Insurance through Technology for Sustainable Life and Health Protection” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ นอกจากนั้นภายในการประชุมยังมีการร่วมอภิปรายเรื่อง “Future Landscape in Digital Insurance” จากดร.ชญานิน เกิดผลงาม รองเลขาธิการ ด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และนายสัมฤทธิ์ ตรงตรานนท์ ผู้อำนวยการสายงาน บริษัท ยิบอินซอย จำกัด พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ Mr. Eugene Macey, Partner, PwC SEA & Global Insurance Customer & Digital Leader มาบรรยายในหัวข้อ “Innovating for Tomorrow: The Future of CX & Digital Workbench in Insurance” และนพ.เดโชวัต พรมดา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Healthtag
จำกัด
บรรยายในหัวข้อ “Transforming Healthcare and Insurance with AI”
ซึ่งการประชุมสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันภัย
การบริหารความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันและอนาคต
ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาชนใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
รวมถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมประกันภัยต่อไป
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21
พฤศจิกายน 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย
ลงพื้นที่จัดกิจกรรม “ครูประกันภัย และ Insurance
for TCAS” ตามโครงการอัจฉริยะยุวชนประกันภัย ประจำปี พ.ศ. 2567
ครั้งที่ 2 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ซึ่งภายในงานสมาคมประกันชีวิตไทยได้เชิญคุณพิมพ์สิรินุช บ่อทรัพย์ ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้วิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบ
TCAS อาทิ The structure of TGAT 1 English
communication , Tip and example to do examination เป็นต้น แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่สมาคมฯร่วมออกบูธเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าใจถึงการใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
โดยมีนางสาวสุมาลี รัตนเรืองประทีป ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส
ฝ่ายยุทธศาสตร์การส่งเสริมสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ ณ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร
เมื่อวันที่
25 พฤศจิกายน 2567
นายจรุง
เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมการเสวนาในหัวข้อ “ประกันภัย
เยียวยาอุทกภัยภาคเหนือ” ภายใต้โครงการ “คปภ.เพื่อสังคม” ผู้ถ่ายทอดทักษะทางการเงิน
จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)
ซึ่งมีนายชูฉัตร ประมูลผล
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นประธานเปิดการเสวนา
พร้อมทั้งถ่ายทำรายการ “คปภ.เพื่อสังคม” ร่วมกับ นายบรรชา บารมี รองนายกเทศมนตรี
ตำบลสารภี นายอานนท์ วังวสุ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย นายคณานุสรณ์
เที่ยงตระกูล ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ. นางสาววิไลรัตน์
แสงแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาคสำนักงาน คปภ. นางกาญจนา
ศรีครามผู้อำนวยการภาคอาวุโส สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) และว่าที่ร้อยตรี
กิตติพงศ์ ทาจี หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลสารภี อาสาสมัครประกันภัยจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อเป็นการลงพื้นที่ในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้กับประชาชนในชุมชนได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
พร้อมทั้งสามารถเข้าถึงและใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสมในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย
ณ
ลานหน้าเทศบาล ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25
พฤศจิกายน 2567
นายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย และ
อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแถลงข่าวโครงการ "INSURE MALL ครบทุกเรื่องประกันภัย จบทุกความต้องการ" พร้อมด้วยนายชูฉัตร
ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย
และนายจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย งานดังกล่าวจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่ง INSURE MALL จะเป็นช่องทางที่สำคัญในการให้บริการประชาชนผู้สนใจประกันภัย
สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้อย่างครบถ้วนในช่องทางเดียว สร้างประสบการณ์ที่ดีในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัย
สามารถเลือกซื้อประกันภัยได้สะดวกยิ่งขึ้นจากบริษัทประกันชีวิต
บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัย
ที่คัดสรรแบบประกันภัยที่มีความเหมาะสมต่อความต้องการของประชาชน ในรูปแบบออนไลน์
ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2567 โดยมี
15 บริษัทประกันชีวิต ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) , บริษัท กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) ,บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) ,บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ที ไลฟ์
ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ,บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท
ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท
เอไอเอ จำกัด , บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท แรบบิท ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน)
ร่วมออกบูธการตลาดแบบออนไลน์แนะนำความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน
บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ อาทิ
สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
ยกระดับมาตรฐานในการเสนอขาย
และกระบวนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของอุตสาหกรรมประกันภัย
ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัย
และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยในระยะยาว อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันที่มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษมีทั้งส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยถึง
30 % และยังได้รับสิทธิชิงโชคลุ้นรับของขวัญของรางวัลอื่นๆ มากมาย
เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันภัยครบ 500 บาทขึ้นไป ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร เข้าร่วมการประชุมสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียน (ASEAN
Insurance Council: AIC) ครั้งที่ 50
ซึ่งในปีนี้ประเทศบรูไนรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 28
พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรม The Empire Brunei โดยมีนาย Huy
Vatharo นายกสมาคมประกันภัยของกัมพูชา
ทำหน้าที่เป็นประธานสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียนในปีนี้
ซึ่งการประชุมสภาธุรกิจประกันภัยอาเซียน (AIC)
ถือเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนภาคเอกชนจากธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียนได้ประชุมเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
พร้อมทั้งร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยในอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN)
สมาคมประกันชีวิตไทย
ลงพื้นที่จัดกิจกรรม “ครูประกันภัย และ Insurance for TCAS” ตามโครงการอัจฉริยะยุวชนประกันภัย ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3 จัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งภายในงานสมาคมประกันชีวิตไทยได้เชิญนายประพิตสักก์
วัชรปรีชาสกุล เป็นผู้แทนสมาคมฯ ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้วิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบ
TCAS อาทิ The structure
of TGAT 1 English communication , Tip
and example to do examination เป็นต้น แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ร่วมออกบูธเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าใจถึงการใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม
โดยมีนางสาวสุมาลี รัตนเรืองประทีป ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส
ฝ่ายยุทธศาสตร์การส่งเสริมสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค
สระบุรี จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยนางวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการบริหารสมาคมฯ มอบเงิน จำนวน 248,240 บาท ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์
อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นายแพทย์ภุชงค์ ลิขิตธนสมบัติ รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งอํานวยความสะดวก
ปฏิบัติหน้าที่แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้รับมอบ เพื่อจัดหารถไฟฟ้าสำหรับบริการรับ
– ส่งประชาชนผู้ที่มาใช้บริการภายในโรงพยาบาล ทั้งนี้ นายชูฉัตร ประมูลผล
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ
คปภ.) ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ณ
ห้องรับรองสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์ อาคารบริหารชั้น 5 โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วย นายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย
และ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมการเงิน
ส่งท้ายปี ครั้งที่ 7 MONEY EXPO 2024
YEAR-END จัดโดยวารสารการเงินธนาคาร มหกรรมการเงินการลงทุนครบวงจรที่รวบรวมธนาคาร
สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย หน่วยงานของภาครัฐ
และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเงินการลงทุน เพื่อมานำเสนอบริการทางการเงินและการลงทุนให้กับประชาชน
ผู้ลงทุน และผู้ประกอบการธุรกิจได้เข้าถึงแหล่งเงินและแหล่งทุนได้อย่างครบวงจร อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ
รวมถึงประชาชนผู้บริโภคที่เป็นลูกค้ารายย่อย เจ้าของธุรกิจ และนักลงทุน
ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและการลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีนายพิชัย ชุนหวชิร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ฮอลล์ 5
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ถึงเทศกาลต้อนรับปีใหม่ ช่วงเวลาของการเดินทางเพื่อเฉลิมฉลอง
พบปะสังสรรค์ ซึ่งคาดว่าประชาชนจะมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้การจราจรคับคั่ง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าปกติ ซึ่งจากสถิติของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(ปภ.) ได้รายงานไว้ว่า ในช่วง 7 วันอันตราย
ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 ถึง 4
มกราคม 2567 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ประสบภัยบนท้องถนนถึง
2,288 ครั้ง แบ่งเป็นกรณีเสียชีวิต 284 ราย และบาดเจ็บ 2,307
ราย โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ
และรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดถึงร้อยละ 86.30 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความสูญเสียสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเชิญชวนประชาชนที่ต้องเดินทางทั้งระยะใกล้และไกล
เตรียมพร้อมวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ
เพื่อให้การท่องเที่ยวในวันหยุดยาวนี้เป็นไปอย่างสุขกาย สุขใจไร้ซึ่งความกังวลใจ อย่างน้อยมีมีประกันภัยก็เหมือนมีเบาะรองรับความเสี่ยง
ยามเกิดเหตุไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือเจ็บมาก ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
หรือประกันอุบัติเหตุจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างดี ฉะนั้นอย่าลืมวางแผนทำประกันชีวิตก่อนวันเดินทาง
ทั้งนี้ หากมีความประสงค์ที่จะได้รับความคุ้มครองเพียงระยะเวลาสั้นๆ
สามารถรับสิทธิ หรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกาย สุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์) ได้ที่บริษัทประกันชีวิต
/ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
, บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยกรมธรรม์ดังกล่าวมีระยะเวลาคุ้มครอง
30 วัน นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย
ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ณ
วันที่ทำประกันภัย และต้องถือสัญชาติไทยเท่านั้น สำหรับข้อตกลงความคุ้มครองที่ลูกค้าและประชาชนทั่วไปจะได้รับ
ประกอบด้วย
– ความคุ้มครองการเสียชีวิต
การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ
ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ
อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
– ความคุ้มครองการเสียชีวิต
การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
จากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ
อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท
– ความคุ้มครองการเสียชีวิต
การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
เนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
–
ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ
ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ้างพยาบาลพิเศษ อุปกรณ์ค้ำยันต่าง ๆ
(ยกเว้นไม้ค้ำยัน) รถเข็นผู้ป่วย อวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย
ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) การฝังเข็ม จำนวนเงินเอาประกันภัยตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,000 บาท
สุดท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงด้วยความรอบคอบ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความปลอดภัย ใช้รถใช้ถนนด้วยความไม่ประมาณ
และขอฝากถึงผู้ที่ได้ทำ
ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุไว้อยู่แล้ว
โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยที่ท่านมีอยู่นั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะทำให้ท่านและครอบครัวเกิดความอุ่นใจตลอดการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้
ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพตลอดการเดินทางครับ ผู้อำนวยการบริหาร
สมาคมฯ กล่าวในตอนท้าย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมงานแถลงข่าวและพิธีเปิด “โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่
ประจำปี 2568” พร้อมเปิดตัว “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
(ไมโครอินชัวรันส์)” และ กรมธรรม์ประกันสุขใจบ้านปลอดภัย (ไมโครอินชัวรันส์)” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย
อาทิ
สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลปีใหม่
ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนเกิดการสูญเสีย และอาจทำให้เสียศูนย์
พร้อมเชิญชวนให้บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ
ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ ณ โถงอาคารสถานี บริเวณประตู 3
ชั้น 1 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยกรรมการสมาคมฯ และผู้บริหารสมาคมฯ
เข้าพบนายชูฉัตร ประมูลผล
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยและผู้บริหารสำนักงาน คปภ. เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2568 ณ
ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง
ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วนในสื่อโซเชียลมีเดีย เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ของสัญญาประกันภัยสุขภาพ จนอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชนในการวางแผนด้านประกันภัยสุขภาพนั้น
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่าจากการที่เบี้ยประกันภัยสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยประมาณ 3-5% ต่อปี เนื่องมาจากหลายปัจจัย อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการรับประกันภัยที่สูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาที่ประชาชนเข้าถึงการประกันภัยสุขภาพได้ยากขึ้น และกลุ่มผู้ที่มีกรมธรรม์อยู่แล้วอาจต้องออกจากระบบ เนื่องจากไม่สามารถรับภาระค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องได้ เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันผลกระทบดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทาง Copayment ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบมีส่วนร่วมจ่าย Copayment ตั้งแต่เริ่มต้นทำประกันภัยสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันภัยที่สมัครใจ โดยจะได้รับส่วนลด ค่าเบี้ยประกันภัยทันที แต่ต้องร่วมจ่ายทุกครั้งตามสัดส่วนที่ระบุในสัญญา และ 2) แบบกำหนดให้มีส่วนร่วมจ่าย Copayment ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) สำหรับผู้เอาประกันภัยร่วมจ่ายเฉพาะในปีต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยปีถัดไปถ้าหากผู้เอาประกันภัยเข้าหลักเกณฑ์ใน 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้เอาประกันภัยร่วมจ่ายไม่เกิน 30% ของค่ารักษาที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป เมื่อเกิด 3 ข้อนี้พร้อมกันเท่านั้น คือ (1) มีการเคลมเป็นผู้ป่วยในด้วยกลุ่มโรคป่วยเล็กน้อยทั่วไป และไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้ต้องรักษาตัวแบบผู้ป่วยใน และ (2) มีการเคลมตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และ (3) มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรวมกันตั้งแต่ 200%
กรณีที่ 2 ผู้เอาประกันภัยร่วมจ่ายไม่เกิน 30% ของค่ารักษาที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป เมื่อเกิด 3 ข้อนี้พร้อมกันเท่านั้น คือ (1) มีการเคลมเป็นผู้ป่วยในด้วยโรคทั่วไปที่ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่ และ (2) มีการเคลมตั้งแต่ 3 ครั้ง ขึ้นไป และ (3) มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรวมกัน ตั้งแต่ 400%
ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ข้างต้น จะต้องร่วมจ่าย Copayment แต่รวมกันแล้วจะไม่เกิน 50% ของค่ารักษาในปีถัดไป อย่างไรก็ตามการพิจารณาหลักเกณฑ์ Copayment ในเงื่อนไขการต่ออายุฯ จะมีการพิจารณาเป็นรายปี หากปีใดไม่เข้าตามเงื่อนไขข้างต้นแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ต้องเข้า Copayment ซึ่งผู้ทำประกันภัยไม่ต้องร่วมจ่ายเลย แม้แต่บาทเดียวของค่ารักษาพยาบาลที่อยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์
“การกำหนดแนวทาง Copayment นี้ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทประกันภัย แต่เป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยชะลอค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพไม่ให้เพิ่มขึ้นไวเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสมดุลในระบบประกันภัยสุขภาพ และลดผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิตามความจำเป็น รวมทั้งยังช่วยให้ระบบประกันภัยสุขภาพของประเทศไทยมีความยั่งยืนในระยะยาว อย่างไรก็ตามการซื้อประกันภัยสุขภาพขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเงื่อนไขกรมธรรม์ ราคา หรือระยะเวลาคุ้มครอง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและความจำเป็นของแต่ละบุคคล ควรศึกษาและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากหลาย ๆ แห่ง เพื่อให้ได้กรมธรรม์ที่ดีที่สุด สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง หลีกเลี่ยงการรับข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มาชัดเจน หรือข้อมูลที่อาจถูกบิดเบือน ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด และนายนิคฮิล แอดวานี อุปนายกฝ่ายวิชาการ ร่วมแถลงแนวปฏิบัติประกันสุขภาพ ส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) ซึ่งจะใช้กับกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป เพื่อการบริหารจัดการและสร้างความยั่งยืนของการประกันสุขภาพภายใต้มาตรฐานทางการแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2567 ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) สูงถึง 15% (อ้างอิงจาก WTW) ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ การเข้าสู่สังคมสูงวัย โรคอุบัติใหม่ มลพิษทางอากาศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ และโครงสร้างค่ารักษาพยาบาล โดยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่งผลให้ อัตราการเคลมประกันสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ภาคธุรกิจประกันภัยต้องวางแผนรับมืออย่างรอบคอบ โดยเฉพาะจากสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการเคลมประกันสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากโรคเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป อีกทั้ง ภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ "New Health Standard" ที่บังคับใช้ไปเมื่อปี 2564 ซึ่งบริษัทประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งส่งผลให้เบี้ยประกันภัยที่เคยคำนวณไว้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบประกันสุขภาพได้รับผลกระทบโดยตรง นำไปสู่การปรับเบี้ยประกันภัยทั้งพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) จนทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้ ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ ดังนั้น ภาคธุรกิจประกันภัยจึงต้องวางแผนรับมือกับความท้าทายนี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยง และแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ภาคธุรกิจประกันภัยจึงได้นำส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ภายใต้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ "New Health Standard" มาใช้เป็นเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) เพื่อลดการ เคลมจากการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยของทั้งพอร์ตโพลิโอ (Portfolio) โดยส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับผู้เอาประกันภัย ภายใต้การบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์และความจำเป็นทางการแพทย์ โดยไม่นับรวมผ่าตัดใหญ่หรือโรคร้ายแรง
สำหรับเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขแนวปฏิบัติประกันสุขภาพส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal)” แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
กรณีที่
1 การเคลมสำหรับโรคที่ไม่รุนแรง หรืออาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยเล็กน้อย
(Simple diseases) หรืออาการที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์
และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันภัยสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย
30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
กรณีที่ 2 การเคลมสำหรับโรคทั่วไปแต่ไม่นับรวมการผ่าตัดใหญ่และโรคร้ายแรง โดยเบิกเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
กรณีที่ 3 หากเข้าเงื่อนไขทั้งในกรณีที่ 1 และ กรณีที่ 2 จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันภัย เข้าเงื่อนไขส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในปีต่ออายุถัดไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมจ่าย 30% หรือ 50% ตามสัดส่วนที่กำหนดในค่ารักษาพยาบาล แต่หากการเคลมมีการปรับตัวลดลงและไม่เข้าเงื่อนไขการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) บริษัทประกันภัยจะพิจารณายกเลิกการมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) กรมธรรม์ดังกล่าวจะกลับสู่สถานะปกติได้เช่นเดิมในปีถัดไป
อย่างไรก็ตาม
สมาคมประกันชีวิตไทยแนะนำให้ประชาชนศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันภัย ประกันสุขภาพยังคงเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลได้ดี เพราะในทางปฏิบัติแล้ว ส่วนร่วมจ่าย (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวมีลำดับ ขั้นตอน การนับ
การพิจารณา ซึ่งเป็นตัวกรองหลายชั้น โดยบริษัทจะแจ้งรายละเอียดในหนังสือแจ้งเตือนการต่ออายุสัญญาประกันสุขภาพ
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย
คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการต่อยอดความรู้ประกันชีวิต
ประจำปี 2568 ซึ่งแบ่งหัวข้อการเสวนาออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่
การเสวนาวิชาการ เรื่อง
“แนวทางการพิจารณาสินไหมที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์หลักฐานและชันสูตรพลิกศพ” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นพ.สุรณรงค์ ศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อัยการชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ อัยการอาวุโส สำนักงานคดีอาญา และพ.ต.อ.หญิง
ศิริประภา รัตตัญญู นักวิทยาศาสตร์ (สบ.4) กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ
กองพิสูจน์หลักฐานกลาง โดยมี คุณธัญญะ ซื่อวาจา
รองประธานคณะอนุกรรมการกฎหมาย เป็นผู้ดำเนินรายการ
การเสวนาวิชาการเรื่อง
“เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรให้ถูกต้อง” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
พันตำรวจเอก (ดร.) ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (สคส. PDPC)
คุณลลิษา ภัทรแสงไทย หัวหน้ากลุ่มวางแผนและพัฒนากฎหมายด้านความมั่นคงทางการเงิน
(สำนักงาน คปภ.) และคุณจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย โดยมี คุณพูลทรัพย์ เดือนเพ็ง
ผู้แทนคณะอนุกรรมการกฎหมาย
เป็นผู้ดำเนินรายการ
การเสวนาวิชาการ เรื่อง
“แนวทางการพิจารณาสัญญาประกันภัยสุขภาพมาตรฐาน” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
คุณปรียานุช จีระศิลป์ หัวหน้ากลุ่มนโยบายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย
สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงาน คปภ. นายแพทย์สุรศักดิ์ อำมาตย์โยธิน
แพทย์ที่ปรึกษาประจำฝ่ายปฏิบัติการสินไหมสุขภาพ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) คุณสุภาพร คุณานนท์วัฒน์ รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย
และคุณมณียา โสมะเกษตริน รองประธานคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต โดยมี
คุณดวงธิดา ไข่รักษ์ รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย เป็นผู้ดำเนินรายการ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างและทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาสินไหมที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์หลักฐานและชันสูตรพลิกศพ
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่เกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิต สัญญาประกันภัยสุขภาพมาตรฐาน (New Health Standard : NHS) ให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีคุณยงยุทธ ลิ้ม กรรมการประจำคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เมื่อวันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์
2568 ณ โรงแรมรอยัล พลา คลิฟ บีช จังหวัดระยอง
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี
2567 ระหว่าง มกราคม - ธันวาคม มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium)
อยู่ที่ 653,923 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับปี 2566 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 184,331 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28
และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 469,592
ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21
คิดเป็นอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 83
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 120,026 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81
2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single
Premium) 64,305 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 2.71
โดยสาเหตุสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของธุรกิจมาจากปัจจัยเอื้อทางเศรษฐกิจและสังคม
รวมถึงกระแสใส่ใจสุขภาพของประชาชนที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและโรคร้ายแรงเติบโตเพิ่มขึ้น และยังช่วยเสริมให้สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health+CI)
มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 124,786
ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.66 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.08 และยังช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
(Whole Life Insurance)
และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ซึ่งเป็นสัญญาหลักเติบโตขึ้นตามไปด้วย โดยแบบตลอดชีพ
(Whole Life Insurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 110,777 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.94 ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 282,302 ล้านบาท
เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.17
นอกจากนี้ยังมีเหตุจากความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจโดยเฉพาะการรักษาฐานลูกค้าเดิม โดยเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) มีสัดส่วนร้อยละ
72 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 คิดเป็นอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ
83 ส่วนเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium)
มีสัดส่วนร้อยละ 28 เติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเติบโตของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต
(Agency) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 346,791 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.03
2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance)
เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 245,498 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.54
3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต
(Broker) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 34,484 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93
เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.27
4. การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele
Marketing) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 12,910
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 5.49 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.97
ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯ
มีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต
มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารและจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย
และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (CAR
Ratio) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory
CAR) เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่า
บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยได้ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย
และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา
ดังจะเห็นได้จาก ในไตรมาสที่ 3/2567
จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุนตามความเสี่ยงอยู่ที่
373.30 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการกำกับ (Supervisory
CAR)
สำหรับปี 2568
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วงร้อยละ
2-3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์
(Medical Inflation) ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 8 – 10%
โดยบางปีสูงมากถึง 15% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ
และการขยายช่วงอายุการรับประกันสุขภาพออกไปจนถึง 80 ปี
จึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้การประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงเติบโตต่อไปได้
และจะมีผลขยายไปถึงการประกันชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole
Life Insurance) ที่เป็นสัญญาหลักด้วย อีกทั้งยังมีการเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ
การเพิ่มขึ้นของแรงสนับสนุนและมาตรการจากภาครัฐ
การผ่อนคลายกฎเกณฑ์การกำกับดูแลและส่งเสริมภาคธุรกิจผ่านโครงการนวัตกรรมต่างๆ
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบ AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ และการดำเนินงานปรับปรุงช่องทางการจำหน่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันและผสานรูปแบบการขาย
ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์
เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยจนสามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น
อีกทั้งยังมีการร่วมมือกันอย่างแข็งขันในทุกด้านของธุรกิจผ่านสมาคมประกันชีวิตไทย
เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าทายที่จะส่งผลต่อการเติบโตอย่างสภาวะเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก
และเศรษฐกิจภายในประเทศไทยที่มีการเติบโตแบบหดตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสถานการณ์เงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS 17
ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2568
รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์สงครามการค้าโลกหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ กระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งด้านการค้าและบริการ
ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ยุติ
ก่อให้เกิดความผันผวนและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากขึ้น
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวเพิ่มเติมว่า
สมาคมประกันชีวิตไทยมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ ESG ทั้ง
3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแล (Governance)
ซึ่งเป็นกรอบการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้ธุรกิจประกันชีวิตมีความยั่งยืนในระยะยาว
สมาคมประกันชีวิตไทย เตือนผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญาเสียประโยชน์มากกว่าได้ รวมถึงอาจเสียสิทธิทางภาษีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร และจะต้องคืนเงินภาษีในส่วนที่ได้รับการยกเว้นและอาจโดยค่าปรับร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่าย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันผู้เอาประกันภัยบางรายถูกแนะนำให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อไปทำกรมธรรม์ใหม่ (Twisting policy) ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบพร้อมแนะนำกรมธรรม์ใหม่ อ้างผลประโยชน์ตอบแทนหรือความคุ้มครองที่มากกว่าเพื่อเป็นการชักจูงใจ หากผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อยกเลิกกรมธรรม์ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย แต่จะทำให้ผู้เอาประกันภัยสูญเสียสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย อาทิ ความคุ้มครองต่อเนื่อง กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน และหากทำกรมธรรม์ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงหากจะทำประกันสุขภาพฉบับใหม่ จะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นสุขภาพอาจมีปัญหา บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น และต้องเริ่มนับระยะเวลารอคอย (Waiting period) ใหม่อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยที่เคยใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว
หากมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันภัยสุขภาพ
หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
จะถือว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว
รวมถึงเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากร
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโอกาสนี้
ขอย้ำเตือนประชาชนทุกท่านว่า ก่อนยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ควรพิจารณาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตามแต่ละกรมธรรม์ก่อนว่าจะเสียสิทธิประโยชน์อะไรไปบ้าง
หรือหากท่านประสบปัญหาทางการเงิน บริษัทอาจแนะนำให้ท่านกู้ยืมเงินจากกรมธรรม์หรือใช้มูลค่าขยายเวลา
โดยยังคงได้รับความคุ้มครองอยู่ตามเจตนารมณ์เดิมของการเริ่มต้นทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพเพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ให้ตนเองต้องล้มละลาย
หรือกลายเป็นภาระของคนในครอบครัวหากเกิดเหตุไม่คาดคิด
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม
จัดโครงการสัมมนาวิชาการ “MENTAL HEALTH & AI KNOWLEDGE
SHARING” ซึ่งแบ่งหัวข้อในการสัมมนาออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่
เรื่อง “Mental
Health วิธีดูแลความเครียด
จัดการอารมณ์ของอาชีพพนักงานขายให้ชีวิตมีความสุข” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ แพทย์ชำนาญการพิเศษ จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โสภณ นันทาภรณ์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Me
Center
เรื่อง “AI
KNOWLEDGE SHARING” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณริต้า
หวัง Pre Sales Lead และคุณศุภสิริ ปิยชาติวงศ์ Commercial
Head (Thailand & Vietnam) บริษัท PEAK3
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจในเรื่องการบริหารสุขภาพจิต
วิธีดูแลความเครียดและจัดการอารมณ์ของอาชีพพนักงานขาย และการนำระบบ AI
มาใช้กับกระบวนการทำงานของธุรกิจประกันชีวิต
ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมีคุณพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา เมื่อวันที่ 21 - 22 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรม ดิโอเชี่ยน
เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “กฎหมาย แนวปฏิบัติ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เยาว์
และการใช้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายสุพรรณ ศรุติกุล ทนายความหัวหน้าสำนักกฎหมายทองคำ
อดีตผู้บริหารส่วนคดีความและที่ปรึกษากฎหมายและวิทยากรบรรยายความรู้กฎหมาย
บริษัทประกันชีวิต มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “กฎหมาย
แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการสมัครทำประกันชีวิตของผู้เยาว์” พร้อมทั้งร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองทางวิชาการ
หัวข้อ "การใช้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย” ร่วมกับคุณสุภิรัช โพธิ์ถาวร
ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลธุรกิจ บริษัทเอไอเอ จำกัด
และประธานคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ คุณดัษณี ทองบุญเกิด รองประธานอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
โดยมีคุณอารยา วรัญญาพร รองประธานอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นผู้ดำเนินรายการ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยมีคุณวุฒิเลิศ สุวรรณศรี
กรรมการประจำคณะอนุกรรมการบริการผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทย
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม 701
อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อเร็วๆ นี้
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร และ นายจรุง เชื้อจินดา รองผู้อำนวยการบริหาร
ร่วมบริจาคโลหิตเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโลหิตสำรองมอบให้แก่สภาการชาดไทย ภายใต้โครงการ
“รวมพลังประกันภัยให้โลหิต” ปีที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งเป็นการรวมพลคนประกันภัยรวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสาและจิตอันเป็นกุศล
แสดงพลังร่วมมือร่วมใจ ร่วมบริจาคโลหิต เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง ธันวาคม 2568
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถร่วมบริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สภากาชาดไทย หรือหน่วยรับบริจาคใกล้บ้าน และขอความร่วมมือแจ้งเลข CODE โครงการ “0J0535”
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 1
สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. เมื่อเร็วๆ นี้
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร ร่วมงาน “MDRT
Gives Day 2025” ซึ่งจัดโดย MDRT ประเทศไทย ที่เล็งเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิตเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโลหิตสำรองมอบให้แก่สภาการชาดไทย จึงได้จัดกิจกรรมมหากุศลพร้อมเชิญชวนให้บุคลากรภาคธุรกิจประกันชีวิตและประชาชนทั่วไปมาร่วมพลัง
ร่วมใจ บริจาคโลหิต 1 คนให้หลายคนรอด ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เมื่อเร็วๆ นี้
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาจนส่งกระทบต่อประเทศใกล้เคียง รวมถึงประเทศไทยบางส่วน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 นั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยขอยืนยันว่าบริษัทประกันชีวิตได้มีการเตรียมพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน
เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการต่าง ๆ เช่น การเรียกร้องสินไหมทดแทน
การเรียกร้องเคลมค่ารักษาพยาบาล และบริการอื่น ๆ
ที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความสะดวกมากที่สุดภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวซึ่งการใช้บริการขั้นต้นสามารถดำเนินการผ่านช่องทางในรูปแบบต่าง
ๆ ทั้งในส่วนของบริษัท สาขา ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ Call
Center ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เว็บไซต์ แชตบอท เฟสบุ๊ค ไลน์ออฟฟิศเชียล รวมถึงแอพลิเคชั่นต่าง ๆ
ที่พร้อมให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจประกันชีวิตมีความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน
สำหรับผู้มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพอยู่แล้ว
ขอให้มั่นใจได้ว่าจะยังคงได้รับความคุ้มครองทุกกรณี
ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย ภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์จากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และให้ได้ประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์การดังกล่าวนั้น ขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่านตรวจสอบสถานะกรมธรรม์ของท่านให้ยังมีผลบังคับใช้อยู่เสมอ และระมัดระวังคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับรวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุุคคล
เพื่อป้องกันการแอบอ้าง และนำไปสู่การหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเรียกร้อง
ค่าสินไหมทดแทน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่าง ๆ ได้จากบริษัทที่ท่านได้ทำประกันชีวิตประกันสุขภาพ หรือที่สมาคมประกันชีวิตไทย
โทร.0-2679-8080
email : tlaa@tlaa.org
Facebook : www.facebook.com/tlaa.org
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคม ร่วมงานเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในอุตสาหกรรมประกันภัย (Open Insurance) ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) พร้อมทั้งร่วมเสวนาในหัวข้อ “พลิกโฉมอุตสาหกรรมประกันภัยไทยด้วย Open Insurance” กับดร.ชญานิน เกิดผลงาม รองเลขาธิการด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี สำนักงาน คปภ. ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยมีนายสมเกียรติ วัฒนาประสบสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ สายเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงาน คปภ. เป็นผู้ดำเนินรายการ
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ
Open Insurance นั้นเกิดจากสำนักงาน คปภ.
เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานข้อมูลในธุรกิจประกันภัย
โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
โปร่งใส และปลอดภัย ช่วยให้ภาคธุรกิจประกันภัยนำข้อมูลไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน คปภ.
สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย
โดยมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านประกันภัย การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
การใช้ Big Data ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้
ยังมุ่งยกระดับมาตรฐานข้อมูลให้สามารถ เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน
และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ภาคธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีขึ้น
และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย ปี 2561 เป็นดังนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 305,478.4 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 48.7
หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 3.2เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 280,458.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 44.7
หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง 14,333.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.3
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 2.8เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางอื่นๆ 27,115.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 4.3
หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 30.7เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปี 2562คาดว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3-5มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 648,000-650,000ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจในประเทศที่จะขยายตัวร้อยละ 4ภายใต้การส่งเสริมด้านการลงทุนของภาครัฐกับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การลงทุนของภาคเอกชน ตลอดจนการขยายตัวของการท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นของสินค้าเกษตร รายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การบริโภคของภาคเอกชนมีการขยายตัว
นอกจากนี้แล้วยังมีปัจจัยส่งเสริมโดยตรงจากภาครัฐและหน่วยงานกำกับ เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถแข่งขันได้อย่างเสรี อาทิ การปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิตให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน การผ่อนคลายกฏระเบียบเรื่องการลงทุนของภาคธุรกิจ มาตรการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจยื่นขอความเห็นชอบกรมธรรม์แบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการอนุมัติแบบประกัน การส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันชีวิตแก่ประชาชนโดยทั่วไป ให้ตระหนักถึงประโยชน์ของการทำประกันชีวิต การวางแผนสุขภาพของประชาชนในระยะยาวกับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลจากเบี้ยประกันภัยสุขภาพจำนวน 15,000บาท และล่าสุดกับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการควบคุมราคาค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ พร้อมด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการแข่งขันของภาคธุรกิจทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ การบริการและช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย
ส่วนทิศทางธุรกิจประกันชีวิตในปีนี้ ผลิตภัณฑ์ Single Premium และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุนยูนิตลิงก์ (Unit- Linked ) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มมากขึ้น จึงให้ความสนใจทั้งในเรื่องของความคุ้มครองและแสวงหาช่องทางการลงทุนแบบใหม่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2561ที่ผ่านมาธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวมจากผลิตภัณฑ์นี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมและเชื่อมต่อกับประกันสุขภาพเพื่อให้คนไทยหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพของตัวเองในระยะยาว และการมุ่งสู่โลกดิจิทัลทั้งในเรื่องข้อมูล การให้บริการตลอดจนการขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพให้กับคนกลางประกันภัยอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตยังคงเผชิญกับความท้าทาย ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลงอันสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า รวมทั้งภาวะความกดดันจากหลักเกณฑ์และกติกาสากล ในเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน IFRS 9, IFRS 17และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ... (Privacy Law) สืบเนื่องจากการมีผลบังคับใช้ของกฎเกณฑ์ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation (GDPR) (EU)) ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 25พฤษภาคม 2561โดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ควบคุมและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในสหภาพยุโรป และมีสภาพบังคับไม่จำกัดเฉพาะต่อประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเท่านั้น ยังอาจส่งผลกระทบในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ตลอดจนการกำกับจากหน่วยงานภาครัฐผ่านกฎระเบียบ และร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ... การยกระดับพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันชีวิต (Market Conduct) ที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง การปรับตารางมรณะใหม่ การเผชิญกับอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) จากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย (Fraud & Abuse) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจประกันสุขภาพ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ปี 2562 จะไม่ได้เป็นปีหมูทองสำหรับธุรกิจประกันชีวิต จากเหตุที่ต้องพบกับปัจจัยท้าทายที่รออยู่ หากแต่เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตก็จะยังคงเติบโตได้ดี เพราะมีการตั้งรับและเตรียมตัวอย่างดี มีความร่วมมือของทั้งภาคอุสาหกรรม โดยมีสมาคมประกันชีวิตไทยเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจต่างๆ ที่เป็นปัจจัยท้าทาย ทั้งในรูปแบบรับฟังความคิดเห็น การจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยโดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อกำกับและติดตามงานอย่างใกล้ชิด อาทิ การปรับปรุงและพัฒนากรมธรรม์ประกันสุขภาพ รวมถึงพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ประกันชีวิต การแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ... คนกลางประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัย ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ... (Privacy Law) ,การร่างแนวปฎิบัติกับสภาวิชาชีพเรื่องมาตรฐานการรายงานทางการเงิน กลุ่มเครื่องมือทางการเงิน (International Financial Reporting Standards : IFRS 9) การกำหนดมาตรการร่วมกันในการบริหารจัดการองค์กรและคนกลางเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct)เพื่อสร้างความเชื่อใจ และป้องกันปัญหาข้อร้องเรียนในอนาคต อันเป็นการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจประกันชีวิตต่อไป